ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"อนึ่งธรรมชาติของจิต ย่อมส่งออก พอเราจะเอารู้สึกตัวเพื่อไม่ให้มันฟุ้งซ่านออกไป อันนี้เรายังไม่เข้าใจหลัก มีสติก่อน มีสติรู้ว่าอันนี้บังคับ แต่ตอนนี้เราบังคับเราก็ไม่รู้ ข้อเท็จจริงคือ จิตจะบังคับก็ได้ ไม่บังคับก็ได้ ข้อเท็จจริงคือเรารู้ตามนั้นได้มั้ย อันนี้คือเราไม่รู้ เราเลยทำทุกอย่างที่ให้มันรู้สึกตัวขึ้นมา เราก็เลยต้องบังคับ รู้ทันก่อน รู้ว่าแน่นก็ได้ แล้วจากนั้นมันก็จะดับ จิตที่ตั้งมั่นจะเกิดขึ้น แต่ถ้ามันแน่นแล้วเราไม่สนใจเลย เราจะเดินอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้ว่ากายกับใจตอนนี้มันเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้วบ้าง ลองเรียนรู้ตรงนี้ สังเกตุเนืองๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคปฎิบัติ ภูเก็ต ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: mle620321B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ทุกครั้งที่เปิดฟังธรรมะ จิตจะค่อยๆ ซึมซับธรรมะมาเล็กๆ น้อยๆ ถึงแม้ธรรมะจะไม่เข้าสมองหรือหู แต่เข้าจิต เวลาที่จิตมันฟัง จิตเค้าเรียนในภาคปริยัติ เราไม่รู้เรื่องหรอก แต่จิตจะค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ตามสิ่งที่เค้าฟัง แล้วจะพัฒนาได้มากตอนลงมือปฏิบัติ จิตจะเห็นของจริงจากที่ได้ฟังมาแล้ว มันจะรู้เลยว่าที่เราเดินอยู่เป็นอย่างไร" --คุณมาลี ปาละวงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620428.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ความรู้ของใจจะเกิดขึ้นจากการภาวนา จากการเห็นของจริงและลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ธรรมะไม่ได้เรียนไปด้วยการฟังไปเรื่อยๆ แล้วก็จำเอา แล้วก็คิดวิเคราะห์ ธรรมะเรียนด้วยการเห็นสภาวะ เห็นของจริงไปเรื่อยๆ รู้สึกๆ เอา รู้สึกร่างกาย รู้สึกจิตใจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไม่ยากหรอก เพียงแต่จับหลักให้ได้แล้วกันว่า พวกเราจะไม่มีทางเข้าใจธรรมะได้โดยผ่านการคิดเอา มีแต่เห็นสภาวะเห็นของจริง คอยเรียนรู้สัจจะที่อยู่ภายใต้สภาวะเหล่านั้น คือทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๘ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620408B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ยังทุกข์อยู่ไม่มีคำว่าอยู่เฉยๆ อยู่เฉยๆ ไม่ได้ มีแต่ว่าต้องทำกรรมฐาน ต้องเจริญสติ ใครใช้คำบริกรรม ก็บริกรรมไป ใครใช้ร่างกายหายใจเข้าหายใจออกเป็นเครื่องอยู่ก็ทำไป ยืนเดินนั่งนอนก็รู้สึกไป ให้จิตมีงานทำเนืองๆ อย่าให้จิตหลงๆ เพลินๆ ไปในโลก เดี๋ยวมันก็เพลินเพราะว่ามันเป็นอย่างนั้น กับดักของโลกมันเป็นอย่างนั้น พูดอย่างนี้เพื่อให้เรามีความใส่ใจไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน จริงๆ แล้วเวลาที่เราอยู่กับเครื่องอยู่ อยู่กับกรรมฐานแล้วใจเรามีความสุข เราจะอยากอยู่กับมันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเราบังคับให้อยู่ มันจะไม่ค่อยมีความสุข พอบังคับให้อยู่มันไม่มีความสุข แป๊บเดียวมันก็หนี หนีไปก็ไปเพลินๆ ในโลก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๘ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620408A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การเจริญสติอย่างต่อเนื่อง พลังของจิตจะค่อยๆมากขึ้นๆแล้วมั่นคงหนักแน่น พอสติเราเฉียบคม เราจะรู้ทันสภาวะจำนวนมาก การทำสมาธิที่ถูกต้องจะเริ่มง่ายขึ้นๆ เพราะเราจะจำวิถีของจิตได้เยอะ เช่น อันนี้เคลื่อนไปเพ่ง อันนี้ไปจดจ่อ อันนี้สบาย อันนี้แน่น มุ่งที่สติ ถ้าเราเจริญสติทั้งวันเราไม่นั่งสมาธิเลยก็ยังไม่มีปัญหา ถ้าทำได้ทั้งวัน แต่ว่าปกติเราทำไม่ได้ทั้งวัน เพราะฉะนั้นเราถึงต้องเจียดเวลาทำสมาธิบ้าง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๗ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620407B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ที่จริงการภาวนา มันใช้จิตที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา จิตของคนปกตินี่แหละ แล้วมีสติ ไม่ได้เป็นจิตที่มันเกินธรรมดา หรือ เป็นจิตที่อัศจรรย์ เป็นจิตที่ธรรมดามากๆ เราแค่มีสติรู้เนื้อ รู้ตัว ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด มีสติไปเรื่อย เคลื่อนไหว รู้สึก หายใจออกหายใจเข้า รู้สึกตัว หรือว่า ใครมีเครื่องอยู่อะไร ก็อยู่กับเครื่องอยู่ไป ด้วยใจที่เป็นปกติ ทำไปต่อเนื่อง ทีละนิดๆ พลังของจิต ก็จะมากขึ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๗ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620407A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เราเห็นสภาวะต่างๆ ไม่ใช่เพื่อจะเห็นสภาวะ เราเห็นสภาวะต่างๆ เพื่อจะเห็นลักษณะร่วม คือไตรลักษณ์ที่เเฝงอยู่ในสภาวะธรรม ล้วนแต่ไม่เที่ยง การภาวนาต้องขมวดลงตรงนี้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๖ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620406.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เวลากิเลสเกิดขึ้น หลวงพ่อให้หลักง่ายๆว่า กิเลสเกิดขึ้นอันที่หนึ่ง ไม่คล้อยตามมันให้มันคลอบงำใจเราเอาไปผิดศีลทางกายทางวาจา เพราะฉะนั้นกิเลสเกิดขึ้นเก็บมือเก็บปากเก็บเท้าเอาไว้ แล้วดูมันทำงานไป ไม่คล้อยตาม ไม่ต่อต้านมัน คือไม่กดข่มมันไว้" --คุณแม่ชีอรนุช คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๖ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: orn620406.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"อธิจิตสิกขา คือ การที่จิตเป็นอย่างไร เมื่อเราลงมือในภาคปฎิบัติ ก็คือการทำสมาธิ แต่ในสมาธิประกอบด้วยอะไรบ้าง สมาธิประกอบด้วยสมถะ และวิปัสสนา ชาวพุทธต้องทำวิปัสสนาได้ ถ้าเราทำวิปัสสนาไม่ได้ พ้นทุกข์ไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง ของกายเขาเป็น ของใจเขาเป็น แล้วทำไมเราต้องเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง ของกายเขาเป็น ของใจเขาเป็น เพราะความทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน? ความทุกข์เกิดขึ้นที่กายกับใจ ถ้าวันหนึ่งเราต้องการพ้นทุกข์ เราไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถรู้ได้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เมื่อเราไม่สามารถรู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร ทุกข์จะไม่หาย ก็พ้นทุกข์ไม่ได้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคปฎิบัติ จ.ภูเก็ต ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: mle620321A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"จิตสิกขากับปัญญาสิกขาเรียนคู่กันได้เลย จิตสิกขากับปัญญาสิกขาเกิดพร้อมกันได้ เห็นใจที่ไหลไปปุ๊ป มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา ใจที่ไหลออกไปเป็นสิ่งที่ถูกดู เราจะรู้ว่าสิ่งที่ถูกดูพวกนี้ไม่ใช่ตัวเรา เราภาวนาแล้วก็สอนจิตไปเรื่อยๆ เราก็เจริญปัญญาไป จะเห็นว่าใจพวกนี้เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู สิ่งที่ถูกรู้ถูกดูจะแสดงสามัญลักษณะ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๕ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: nks620405.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"สมาธิที่ถูกต้องเรียกว่าสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิ ก็คือจิตที่มีผู้รู้ จิตที่ตั้งมั่นรู้เนื้อรู้ตัว ไม่หลงไป ไม่เผลอไป ไม่ขาดสติ สมาธิตัวนี้ฝึกได้ 2 ทาง ทางหนึ่งก็คือฝึกให้ได้ฌานที่ 2 แล้วสมาธิจะเกิดจิตผู้รู้ขึ้นมาอัตโนมัติ แต่ว่าส่วนใหญ่เราฝึกไม่ไหว ฝึกให้เข้าฌานจนได้ตัวผู้รู้ขึ้นมา มีอีกวิธีหนึ่ง คือ ตัวนี้ฝึกง่ายๆ ฝึกจิตผู้รู้ที่เป็นขณิกสมาธิ คือเรามีสติรู้ทันจิตที่หลงไป ถ้าเรารู้ทันว่าจิตหลงไปปุ๊บ จะเกิดจิตตั้งมั่นขึ้นมาอัตโนมัติ จิตตั้งมั่นทีละขณะ" --พระอาจารย์สมชาย คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน กฟผ ๕ เมษายน ๒๕๖๒

Direct download: sci620405.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

1