ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"ภาวนากันมานานๆ ทำไม ไม่บรรลุมรรคผลนิพพานเสียที หมายถึง ทำไม ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ซะที คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่ ก็คือ อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ อินทรีย์ ในที่นี้ก็คือ พละ 5 มันตัวเดียวกัน แต่ถ้าใช้คำว่า อินทรีย์ หมายถึงว่า ความเป็นใหญ่ในองค์ธรรมแต่ละตัว ใช้ พละ 5 คือ กำลัง กำลังที่เราต้องสั่งสมไปเพื่อความตรัสรู้ อินทรีย์ 5 มีอยู่ 5 ตัว ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา" --พระอาจารย์อ๊า คอร์สเนยยะ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: sci601209.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนามันไม่ยากหรอก คือ เราคอยเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจตัวเองเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้จ้องไว้ ไม่ต้องรู้ตลอดเวลา ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษาไป แล้วก็ฟังซีดีหลวงพ่อไปเรื่อย สิ่งที่หลวงพ่อเทศน์จะค่อยๆ นำร่องใจเรา" อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว จ.เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601203B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ชาตินี้เป็นชาติสำคัญนะ เป็นชาติที่ได้ฟังธรรมะที่ตัดตรงสู่การตรัสรู้ และจิตมันก็รับได้ตั้งเยอะแล้วด้วย ชาติไหนๆ ก็ไม่สำคัญเท่าชาตินี้ เป็น นาทีทองของชีวิตในสังสารวัฎ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เรายังแข็งแรงอยู่ ไม่แก่จนเกินไป ยังมีสติปัญญา มีหูมีตา ไม่บ้าใบ้บอดหนวก ได้ฟังธรรมะที่มัน ไม่มีเปลือกเลย ไม่ได้บอกว่า เราต้องไปจุดธูป หรือต้องไปทำพิธีกรรมอะไรเยอะแยะ เพื่อจะเข้าใจธรรมะ มันง่ายมาก มันธรรมดามาก มันเป็นเนื้อหาธรรมะล้วนๆ ไม่ได้สอนอะไรที่เยิ่นเย้อ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเจริญสติในภาคปฏิบัติ บ้านสติ - กองบุญอธิจิตฺต โพธิ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601223A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"กว่าเราจะพัฒนาขึ้นมา ได้เป็นคน ได้ฟังธรรมที่ถูกต้องด้วย ยากนะ ชีวิตนี้ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เป็นนาทีทองของสังสารวัฎแล้ว เรามีหน้าที่คือ เก็บเกี่ยว อดทนเอา ไม่ยากเกินหรอก คนที่เดินตามมาได้เรื่อยๆ มีมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปก็จะมีมากขึ้นอีก เราอย่าเป็นพวกตกขบวนแล้วกัน 'ตกขบวน' ก็คือ ไม่ได้สร้างคุณงามความดีไป มันก็ตกไปนะ --หมอม่อน วัดพระธาตุโกฏิแก้ว จ.เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: tns601203.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"กิเลสในใจเรานี้ เหมือนกับเรือลำหนึ่งที่ทอดสมออยู่ คือเวลามี ราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสอะไรเข้ามาในใจนี้ คือ อย่าไปต้านมัน เรือที่ทอดสมออยู่นี้ มันห้อยตัวได้ มันเคลื่อนที่ได้ แต่ว่าเรามี ศีลเป็นกรอบ มีธรรมะ เป็นที่ยึดเหนี่ยว มีสมอต่อลงไป เรือมันจะไหว เมื่อใดก็ตามที่เราต้าน ความรู้สึกมันจะรุนแรงมาก แต่ถ้าเราไม่บังคับมัน เราแค่รู้สึก แค่เห็น แค่เห็นกิเลสจรมาแล้วก็จรไป กิเลสจรมาแล้วก็จรไป เวลามีกิเลส ใจกระเพื่อมไหว เหมือนเรือถูกกระแสน้ำพัดไปพัดมา กระแสน้ำนี้ไม่แรงมาก แรงยังไง มันยังห้อยตัวได้ เราก็ผ่าน ให้เรือชีวิตของเรานี้ ผ่านกิเลสไปด้วยลักษณะแบบนี้" -- อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601203A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การปฏิบัติขึ้นอยู่กับว่า ผู้ปฏิบัติหรือผู้ภาวนามีสติหรือไม่ อยู่กับเนื้อกับตัวหรือไม่ กายเคลื่อนไหว รู้สึกหรือไม่ เห็นหรือไม่ จิตใจเคลื่อนไหว เห็นหรือไม่ นี่เรียกว่า ปฏิบัติ เมื่อใดก็ตาม มีสติ เมื่อนั้น ปฏิบัติ ไม่ใช่ว่า นั่งสมาธิอยู่ถึงเรียกว่าปฏิบัติ หรือว่า เดินจงกรมอยู่ ถึงเรียกว่าปฏิบัติ เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในที่ไหน ก็ปฏิบัติได้ ถ้าเห็นกายเห็นใจ มีสติอยู่ ใครก็แล้วแต่ ถ้านั่งเยอะๆ แล้วไม่มีสติ แล้วเพ่ง ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัตื แต่เรียกว่าทำกายให้ลำบาก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล 18 ณ M Academy วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601126B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลายคนคิดว่า การที่เรามีความเพียรเยอะๆ คือการทำรูปแบบเยอะๆ เป็นการสร้างความเพียร แต่จริงๆ ถ้าเราไปดูความหมายของ สัมมาวายามะ จริงๆ เป็นการขัดเกลากิเลสเท่านั้นเอง ขัดเกลากิเลส หมายถึง สภาวะอะไรเกิดขึ้นคอยรู้ทัน สภาวะอะไรเกิดขึ้นคอยรู้ทัน ไม่ใช่ว่า เราจะต้องนั่งเยอะๆ เดินเยอะๆ มิฉะนั้น เราก็จะกลายเป็นผู้ที่เข้าใจผิดว่า การนั่งเยอะๆ เดินเยอะๆ เป็นการสร้างความเพียร" --หมอม่อน คอร์สรู้กายรู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: tns601119.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"เราต้องฉลาดนะ ว่าทำเหตุให้ตรงกับผล ต้องเชื่อว่าผลที่ถูกต้องก็ต้องมาจากเหตุที่ถูกต้อง ทำเหตุอะไรก็ได้ผลอันนั้น และแต่ละคนก็มีกรรมเฉพาะตน ในทางธรรม มันก็มีเหตุเหมือนกันที่จะได้มรรคได้ผล ต้องเรียน ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ต้องหนีไม่พ้นหลักของอริยสัจ หนีไม่พ้นด้วยการ รู้ทุกข์ รู้รูปนามกายใจตนเอง รู้ทุกข์ ละสมุหทัย ถึงจะมีโอกาสแจ้งนิโรธ มีหน้าที่เจริญมรรค ถ้าพ้นจากหลักนี้ก็คงไม่ได้มรรคไม่ได้ผล" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรู้กายรู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601119.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าเราวางใจไม่ถูก เครื่องกังวลใจต่างๆ มันจะขวางการภาวนาของเรา มันเป็นปลิโพธ มันเป็นเครื่องกังวลที่ทำให้ใจมันไม่โปร่งไม่สบาย ปลิโพธ มีหลายอย่าง อย่างเรากังวลเรื่องเพื่อนฝูง จะต้องพาคณะไป ต้องดูแลคณะเหล่านี้ที่เราต้องกะเตงไปด้วยความอุ้ยอ้าย เป็นเครื่องกังวลใจของจิตเราเอง ทำให้เราไม่โปร่งไม่สบาย มีภาระมาก อย่างวัด ครูบาอาจารย์บอกว่า ถ้าอยู่ในวัดที่อยู่ระหว่างการสร้าง แล้วเราต้องช่วยดูแล เราก็มีเครื่องกังวลใจ ถามว่าช่วยงานวัดได้บุญหรือไม่ ....ได้บุญ ถามว่า จะได้ภาวนาในมุมที่ว่า ดูกายดูใจได้หรือไม่ ก็ไม่มาก.... งานจำนวนมาก ทำได้ก็ทำไป แต่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราวางใจผิด แบกสิ่งเหล่านี้ไว้ เราจะเริ่มอึดอัด... มันยังเห็นไม่ชัดหรอก จนกว่า วันที่เราเริ่มวางบางอย่าง แล้วใจมันผ่อนคลายมากขึ้น เราจะเริ่มรู้ว่า สิ่งต่างๆ ที่เราแบกไว้ บางทีมันพะรุงพะรังเกินไป" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรู้กายรู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601118C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลักการของจิตคือ จิตโดยตัวมันเอง ถ้าเราไม่บังคับมัน ไม่ไปยุ่ง ไม่ไปวุ่นวายกับมัน จิตมีธรรมชาติอันหนึ่ง คือมันประภัสสรอยู่แล้ว มันดีอยู่แล้ว มันจะไม่ดีก็เมื่อเวลาเราไปยุ่งกับมัน เวลาที่เราไปบังคับมัน ไปแทรกแซงมัน ไปดัดแปลงมัน ใจที่ประภัสสร สว่าง สบายๆ ก็เริ่มจะมืดๆมัวๆ อึดอัด คับข้อง เริ่มเครียด จำหลักไว้ให้ดีว่า โดยธรรมชาติ จิตมันดีอยู่แล้ว จิตจะเปลี่ยนจากประภัสสรเป็นไม่ประภัสสร เป็นจิตที่ไม่ดี ตอนที่เราเจตนาที่จะทำกรรมฐาน ก็คือการไปเพ่งมัน ไปบังคับมัน ไปแทรกแซงมัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรู้กายรู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601118A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"แต่ละคน ล้วนแต่จมอยู่ในทะเลทุกข์ และก็ไม่สมบูรณ์ มีความทุกข์ทั้งสิ้น เป็นเพื่อนร่วมทุกข์กับเรา ใจนะ เป็นมิตร ไม่เป็นปฏิปักษ์กับคนรอบข้าง ไม่เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม ใจจะสบาย ใจจะผ่อนคลาย พอใจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใจเราผ่อนคลาย ใจเราร่มเย็น ความร่มเย็นของใจ จะทำให้เราภาวนาง่าย" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรู้กายรู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601118B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เวลาเรียนธรรมะ เวลาปฏิบัติ ต้องการมีความเจริญก้าวหน้า ในธรรมวินัยของพระศาสนา มันไม่ใช่เรียนแค่ว่า มีสติ เดินปัญญา ไปอย่างเดียว คุณงามความดีทั้งหมด ต้องพัฒนาขึ้นมา อกุศลอะไรที่มีอยู่ในใจ ความอวดดี อวดเก่ง ความหยาบกระด้างที่อยู่ในใจ ต้องมีสติคอยรู้ทัน คอยชำระล้างสะสางมัน อย่าให้อกุศลเหล่านั้นครอบงำใจ กุศลอะไรที่มันมีอยู่แล้ว บางคนมีศรัทธา มีความขยัน มีทาน มีศีล มีหน้าที่รักษา พัฒนามันขึ้นไป สูงๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก อย่างนี้ถึงจะเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนานี้ได้ เสร็จแล้วก็มีหน้าที่พัฒนาจิตใจตนเอง ให้ขาวขึ้น สะอาดขึ้น สว่างขึ้น ผ่องแผ้วขึ้น ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยสมถะกรรมฐานบ้าง ด้วยการเดินปัญญาบ้าง อกุศลทั้งปวงก็ต้องละ กุศลทั้งปวงก็ทำให้เจริญขึ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ ธรรมสถานว่องวานิช วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601112A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ในโลกไม่มีอะไรหรอก การกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นำมาซึ่งเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง เท่านั้นเอง ซึ่ง ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งเฉยๆ ก็เกิดดับ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งไม่ได้จริง พวกเราเคยมีความสุขในชีวิตที่สุขที่สุด สุขแค่ไหน วันนี้นั่งอยู่ตรงนี้ ความสุขเหล่านั้นหายไปหมดแล้ว หรือเคยทุกข์ในชีวิต ทุกข์มากแค่ไหน ความทุกข์เหล่านั้นก็ดับไปหมดแล้ว ที่เราเคยยึดถือจริงจัง ต่างๆ นานา โลกมีเท่านี้เอง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ ธรรมสถานว่องวานิช วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601112B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เส้นทางนี้มีมา สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ แต่เราเองถูกเปลือก ถูกรูปแบบ ปิดบังตาเอาไว้ โดยที่เราเองไม่รู้ว่าหลักคืออะไร แก่นที่แท้จริงคืออะไร เราไปติดแค่เปลือก ถ้าเราอยากได้แก่น อยากได้สาระของการภาวนาจริงๆ เราลองเปิดใจกว้างๆ ดู และลองภาวนาดูในสิ่งที่คอร์สแนะนำ ว่ามันจะทำให้ขีวิตเราดีขึ้นมั้ย" --หมอม่อน ธรรมสถานว่องวานิช วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: tns601111.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"สติจะเกิดได้ เมื่อมีการจำสภาวะได้แม่นยำ จะจำได้แม่นยำ ต้องเห็นบ่อย เพราะฉะนั้นคนที่ฝึกภาวนาได้ดี คือ เป็นคนที่มั่นสังเกต มั่นสังเกตความรู้สึกตัวเอง ความรู้สึกทางใจ ความรู้สึกทางกาย อารมณ์อะไรเกิดขึ้น อย่างตอนนี้ นั่งฟังไป บางทีไม่เข้าใจ สงสัยขึ้นมา รู้ว่า สงสัย นี่คือ ฝึกสังเกต" --คุณวรรณพ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: wjs601104.mp3
Category:Wannop -- posted at: 6:00am +07

"ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน แต่เราต้องทำกรรมดีขึ้นไป ทำกรรมดี ทำยังไง รักษาศีล ทำทานได้เท่าที่ทำ ทานบางอย่างไม่ต้องเสียตังค์นะ เช่น อภัยทาน" --หมอม่อน คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: tns601104.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"ทำอย่างไรเราจะมีความสุขได้ พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้ว เรื่อง อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ท่านสอนมองมาที่ปัญหาคือ เรื่องความทุกข์ เหตุแห่งความทุกข์คือสมุทัย สมุทัยคือตันหาความทะยานอยาก เราสังเกตดูเรามีความอยากก็ทุกข์ตามมาเรื่อยๆ อยากได้เงินก็ทุกข์ อยากได้บ้านก็ทุกข์ อยากจะไปกินอาหารอร่อยๆก็ทุกข์ ถ้าเรามีความอยาก เราก็มีความทุกข์ พระพุทธเจ้าก็สอนอีกว่า หนทางการสิ้นทุกข์เรียกว่านิโรธ นิโรธคือสภาวะที่เข้าถึงพระนิพพาน คือการดับกิเลส เป็นสภาวะที่มีความสุข มีความสงบ มีความเบิกบาน ไม่มีกิเลสอีกแล้ว" --พระอาจารย์อ๊า ร.พ. มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: sci601101.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"หลักของจิตตั้งมั่นคือ รู้ทันจิต ไม่ใช่รู้อารมณ์กรรมฐาน ทันทีที่เรารู้ลงขณะนั้น นั่นหมายความว่าถ้าท่านนั่งสมาธิ ท่านเดินจงกรมมุ่งสู่ที่จะเห็นร่างกาย มุ่งสู่ที่จะเอาสงบ ท่านก็จะไม่เห็นจิตใจที่มันเปลี่ยนแปลงไป ไม่เห็นจิตใจที่มันเคลื่อนไป เพราะฉะนั้นจิตจะไม่เคยตั้งมั่นได้เลย เพราะทุกครั้งที่ท่านมุ่งสู่สิ่งเหล่านี้ ท่านต้องบังคับไว้ทั้งหมดเลย" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"การหลงไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือความผิดข้อแรกที่นักภาวนาไม่ควรทำ แต่ว่า คนทั้งโลกเป็นอย่างนี้ เป็นปกติ เพราะว่าคนทั้งโลกไม่ได้บรรลุธรรม คือการดำเนินชีวิตด้วยความหลงแบบนี้ ความสุดโต่งอีกด้านที่นักภาวนาไม่ควรทำ คือการบังคับตัวเอง บังคับร่างกาย บังคับจิตใจ ดัดแปลงร่างกาย ดัดแปลงจิตใจตัวเอง ให้ร่างกาย ให้จิตใจผิดธรรมชาติ ผิดธรรมดา อย่างเราจะเดิน ก็เดินไม่เหมือนคนอื่น เอาจิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า เวลาจะกิน กว่าจะยก กว่าจะเคี้ยว กว่าจะกลืน ท่าทางก็ไม่เหมือนคนอื่น จิตใจก็ไม่เหมือนคนอื่น นี่เรียกว่าเป็นความสุดโต่งอีกด้าน ก็คือการบังคับตัวเอง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ ธรรมสถานว่องวานิช วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601111.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ให้เราคอยสังเกตในขณะที่เราทำในรูปแบบไม่ว่าจะนั่งหรือเดิน การที่เรารู้สภาวะได้มาก เราจะได้เปรียบ เพราะมันคือการซ้อม เมื่อซ้อมเสร็จแล้ว พอในชีวิตประจำวันเราเจอสภาวะนี้ เราเห็นปุ๊บ จิตจะจำได้ จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาทีละขณะๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600922D.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ที่จริงนักภาวนา มีหน้าที่แค่ ใช้ใจที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา ปล่อยใจให้มันทำงานไปอย่างเป็นอิสระ แล้วคอยรู้มัน รู้มัน หมายความว่า เห็นใจมันทำงาน ไม่ต้องเห็นตลอดเวลา ไม่ต้องจ้อง เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง หลงบ้าง รู้บ้าง เป็นใจที่เป็นปกติมากๆ เลย" --พระประสาน อร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601104.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

1