ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"ธรรมชาติเวลาที่จิตพัฒนาถึงจุดหนึ่ง มันเจริญแล้วมันต้องเสื่อม ถ้าเมื่อไหร่มันเจริญตลอดเวลา แล้วมันไม่เสื่อม ให้รู้ว่าผิด ตอนที่มันเสื่อมแล้วพัฒนาต่อ จิตเรารับกับความเสื่อมนี้ได้แค่ไหน เมื่อก่อนเสื่อมทีหนึ่ง ต้องปล้ำกับมันนานมากเลย ที่จะให้มันกลับมาดี พอมันไม่รู้สึกตัว พอทำแล้วมันไม่ได้ ไม่ได้คือเข้าใจว่าเพ่งคือการรู้สึกตัวจรืงๆ เราก็พยายามปล้ำมัน อันนี้เหมือนกัน ถ้าวันหนึ่งเราเห็นจิตที่มันเจริญแล้วมันเสื่อม เราวัดความก้าวหน้า ด้วยการที่เรารู้ว่า มันเสื่อมแล้วเรารับมันได้แค่ไหน ตอนแรกมันเสื่อมมา 100 เลยนะ รับได้แค่ 10 ต่อไปมันก็รอบเดิมนี่แหละ เดี๋ยวก็กลับมารู้สึกตัวได้ใหม่ แล้วมันก็เสื่อมอีก ต่อไปเรารู้ได้ 30 ตัวนี้เราวัดความก้าวหน้าของเราละ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620629F.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เมื่อไหร่เราเริ่มเข้าใจ ได้ปัญญาขั้นแรก คือ พระโสดาบัน เราจะรู้เลยว่าตรงนี้จะไม่กลับกลอกแล้ว มันจะเที่ยง มันจะรู้ทางที่มันเดินไปได้ อะไรจะเอามาแลก มันไม่แลกหรอก มันไม่แลกเลย เพราะจิตมันเปลี่ยนไปแล้ว มันรู้แต่ว่าอันนี้ไม่ใช่ อะไรที่มันทำแล้วมันไม่ได้ทำให้เราพ้นทุกข์ได้ มันไม่เอา" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620629D.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เราก็ทำกรรมฐานรูปแบบทุกวันสะสมไป มีกรรมฐานเป็นหลักเพื่อให้รู้จิตไหล ไหลไปแล้วรู้ แล้วก็กลับมาเริ่มที่กรรมฐานใหม่ สุดท้ายจิตเคลื่อนแล้วรู้ๆ จิตจะตั้งมั่นทีละขณะๆ เราฝึกตัวนี้แล้วในชีวิตประจำวัน จิตจะจำได้ พอจิตไหลไปปุ๊บ จิตจำได้ พอจำได้สติเกิดเรียบร้อย เกิดสมาธิที่ประกอบด้วยความตั้งมั่นต่อ การฝึกแบบนี้ได้อะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน เรามีสติอัตโนมัติ มีสมาธิตั้งมั่นอัตโนมัติ แล้วจะมีศีลอัตโนมัติ แล้วปัญญาจะเห็นเองว่าจิตไหลแบบนี้มันไหลเอง บังคับมันไม่ได้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620629C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"สิ่งที่เราดูจิตไม่ได้ก็คือการบังคับไว้กับการลืม ลืม เช่น ถลำออกไป เผลอออกไป อย่างนี้เป็นต้น มี 2 อย่างที่ทำให้เรารู้กายรู้ใจไม่ได้ก็แบบนี้ บังคับไว้ กับการเผลอออกไปไหลออกไป ถามว่าการบังคับไว้ถ้าเรารู้ไม่เป็นไร การเผลอออกไปไหลออกไปถ้าเรารู้ไม่เป็นไร ข้อเท็จจริงที่เราชี้คือเจ้าตัวไม่รู้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620629B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ในขณะที่เรานั่งสมาธิอยู่หรือเดินจงกรม ทันทีที่เราเห็นร่างกายเรานั่ง เราทำกายานุสติปัฐฐานอยู่ เรารู้ทันไปเลย พอเรานั่งไปสักพักเราเห็นความสุข เห็นจิตที่มันมีความสุข อันนั้นเราเห็นเวทนานุสติปัฏฐาน นั่งไปสักพักเราเห็นจิตไหลไปคิด เราเห็นจิตตานุสติปัฏฐาน พอนั่งไปอีกหน่อยนึง เราเห็นละ เห็นร่างกายนี้หายใจเข้า ร่ายกายนี้หายใจออก แป๊ปเดียวมันก็ไหลไปคิด พอไหลไปคิดแล้วเราไม่ชอบ แต่เราบังคับมันไม่ได้ให้มันไม่ไหลไป ทันใดนั้นจิตก็สงบใหม่ เราก็เห็นจิตมันสงบ ณ จุดนี้เราจะเห็นว่าจิตที่มันสงบ มันก็สงบเอง จิตที่ไหลไปคิด มันก็ไหลไปคิดเอง จิตที่อยากบังคับให้มันไหลมันก็บังคับไม่ได้ ณ จุดตรงนี้เราเห็นธรรมานุสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราเดินจงกรมก็ดี นั่งสมาธิก็ดีเรากำลังฝึกสติปัฏฐาน 4 อยู่" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620629A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เราไม่รู้ว่าผิดเป็นยังไง เราก็จะไม่รู้ว่าถูกเป็นยังไง เราเรียนสิ่งที่ผิดทั้งหมด เรารู้สิ่งที่ผิด ภาวนาไป อันนี้ก็ไม่ใช่ อันนี้ก็ไม่ถูก เราจะเห็นอย่างนี้หมดเลยนะ วันไหนที่ทำแล้วเข้าใจ วันนั้นคือเข้าใจธรรมะ เพราะฉะนั้นอย่ากลัวผิด" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

Direct download: mle620505B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เส้นทางนี้เป็นเส้นทางของการสู้กับกิเลสทั้งนั้น สู้กับกิเลสก็คือรู้ทันมัน แล้วก็ไม่ยอมให้มันบงการเราให้ไปทำความชั่ว ศีล สมาธิ ปัญญาก็ล้วนแต่เป็นเครื่องมือในการสู้กับกิเลสทั้งสิ้น ศีลสู้กิเลสหยาบ สมาธิสู้กิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ ปัญญาสู้กับกิเลสละเอียดขึ้นไป สูงสุดก็คืออวิชชาความไม่รู้อริยสัจ ที่ทุกข์อยู่ก็เพราะกิเลสที่ยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ ฉะนั้นเราจับหลักให้แม่น มีสติรู้ทันกิเลสในใจเราไปเรื่อย อย่างบางช่วงเราจะภาวนาดี ภาวนาเก่ง รู้สึกภูมิใจอิ่มใจขึ้นมาต้องรู้ทัน ไม่งั้นภาวนาดีบางมุม แต่บางมุมกิเลสก็เพิ่ม หนังของกิเลสไม่ถลอกเลย" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สวนธรรมประสานสุข ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒

Direct download: psn620714.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"บางคนใจชอบเห็นสภาวะละเอียด ก็จะดูแต่สภาวะละเอียด ก็ไม่ได้แปลกอะไร บางคนสภาวะละเอียดไม่เห็นเลย เห็นแต่สภาวะที่หยาบ ก็ไม่แปลกอะไร เพราะอะไร? สภาวะที่หยาบก็แสดงไตรลักษณ์ สภาวะที่ละเอียดก็แสดงไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้น บทสรุปก็คือ การภาวนานี่ คนหลายคนกินน้ำบ่อเดียวกัน เดินทางเดียวกัน ไม่เหยียบรอยกัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒

Direct download: psn620712.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"อุบาสก อุบาสิกาอย่างพวกเราต้องแข็งแรง นั่นคือสิ่งที่แนวทางหลวงพ่อปราโมทย์เน้นมาสู่อุบาสก อุบาสิกา เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นทุกท่านที่มาในวันนี้ หรือไม่ได้มา ฟัง YouTube ก็ดี แล้วลงมือปฏิบัติ ต่างมีความสำคัญในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เพราะทุกคนช่วยกันสืบทอดพระพุทธศาสนา รักษาพระพุทธศาสนา ด้วยกายกับใจเรา" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628G.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ในระหว่างที่เรานั่งสมาธิหรือเดินจงกรม  คือเวลาที่เราจะมาเรียนรู้กายและใจอย่างที่เขาเป็น ก็คือตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น แต่ตอนนี้ เราจะเอาแต่รู้สึกตัว ข้อเท็จจริงมันไม่ได้รู้สึกตัวได้ตลอด เราก็เลยต้องบังคับไว้ นี่คือการที่เราวางใจผิด เพราะเราจะมุ่งสู่การรู้สึกตัว เราไม่มุ่งสู่การมีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628F.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00pm +07

"ตั้งแต่จากปุถุชน เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา จนถึงทำที่สุดแห่งทุกข์ ยังไงก็ต้องทำกรรมฐาน ไม่ทำไม่ได้ ของฟรีไม่มี เพราะฉะนั้นทำไปเรื่อย ชาตินี้ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ชาตินี้ได้เท่านี้ สิ่งที่เราสะสมไว้ชาตินี้ ก็ไปเป็นต้นทุนของชาติถัดๆ ไป คนไหน เหตุปัจจัยถึงพร้อม บารมีมากพอ ได้ธรรมะขั้นใดขั้นหนึ่ง ก็อุ่นใจหน่อย คนไหนที่ยังไม่ได้ ไม่ได้ก็ต้องสู้เอา คนที่เขาได้ชาตินี้ หรือได้เร็ว เขาก็แห้วมาแล้ว ในชาติอื่นๆ เขาก็อาศัยสู้มาแล้วก็ไม่เลิก เราก็ทำของเราไปอย่างนี้แหละ อดทนทำไป วันนึงมันก็เข้าใจเอง วันนึงก็จะเข้าใจจริงๆ ว่า ทำเมื่อไหร่ก็ผิด แล้วก็ไม่ทำ ผิดยิ่งกว่า เพราะว่าไม่ทำ ก็คือไม่ได้ภาวนา ไม่ได้ทำกรรมฐาน ขณะที่ทำ ผิดแน่นอน เพราะว่ายังมีเจตนาอยู่ ยังกระทำกรรมอยู่ ยังไม่เกิดมรรคผล แต่ยังมีเจตนา ยังกระทำกรรม อาศัยเจตนาเหล่านี้ ศีล สมาธิ ปัญญา สติของเราจะถูกฝึกให้กล้าแข็งมากขึ้น จนถึงวันที่มันได้ธรรมะ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๒

Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การนั่งสมาธิ มีเรื่องราวมากมายของจิตให้เราได้เรียนรู้ เราจะไม่ได้ไปติดนิ่ง ติดเพ่งเลย นี่คือ การที่เราเรียนรู้ตามความเป็นจริงของกายกับใจ แล้วเราก็เห็นสิ่งที่มันเกิด แล้วมันก็ดับ เห็นสิ่งที่มันเกิดเอง แล้วมันก็ดับเอง นั่นคือ เราเห็นไตรลักษณ์ของกายกับใจ การที่เราเห็นไตรลักษณ์ของกับกายกับใจนี่แหละ ถึงเรียกว่าขึ้นวิปัสสนากรรมฐานได้จริง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628E.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"รู้สภาวะตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ไปบังคับมัน ตั้งมั่น คือรู้แค่นั้นแล้วจบ ไม่ใช่ว่ารู้แล้วคิดว่ายังไงต่อ อย่างนี้ไม่ใช่ตั้งมั่นแล้ว เช่น ความสุขเกิดรู้ว่ามันเกิด เห็นใจที่ชอบความสุขนี้ งานเราเสร็จแล้ว เห็นทีละตัวๆ ทีละขณะ จิตจะดับให้เราเห็น ความสุขจะหายไป กลายเป็นเห็นสภาวะจริงๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628D.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เวลาที่เราภาวนาแล้วไม่ได้ผล จะมีอยู่ 2 อย่างเท่านั้น ทำถูกหรือเปล่า พอทำถูกแล้วเราทำพอหรือยัง ถ้าทำไม่พอมันก็หย่อน หลวงพ่อก็จะให้ตึงไว้หน่อย พอเราหย่อนเมื่อไหร่ เราจะพอดี แต่ถ้าเราทำพอดีเมื่อไหร่ พอหย่อนปุ๊ปมันหายไปเลย" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เวลาที่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิก็ตาม ต้องรู้ตัวทั่วพร้อมจริงๆ ว่าร่างกายเป็นอย่างไร จิตใจเป็นอย่างไรในขณะนั้น สำคัญที่ในขณะที่ฝึกสมาธิ จะมีสองแบบ คือฝึกแล้วจิตสงบ กับ จิตตั้งมั่น เวลาฝึกจิตสงบ อารมณ์หนึ่งจิตหนึ่ง สิ่งที่ได้คือความสงบ จากนั้นให้พัฒนาจุดนี้ขึ้นมาให้เกิดสภาวะของความตั้งมั่นของจิต ซึ่งตรงนี้ยังเป็นสมถะอยู่ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนากรรมฐานจะขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเห็นไตรลักษณ์ของกายและใจ เพราะฉะนั้นใครที่เพ่งอยู่จะไม่เห็นเกิดดับ เห็นข้างนอกเคลื่อนไหวหมด แต่จิตที่ไปรู้ไม่เกิดไม่ดับเลย ก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของกายและใจ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาแบบรู้กายรู้ใจต้องภาวนาให้สบาย เพราะความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ เมื่อไรที่เราเครียด เราจะภาวนาไม่ได้ จิตที่เครียดขณะนั้นเป็นอกุศลแล้ว" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคการปฏิบัติ บ้านสติ ขอนแก่น ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620628A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาช่วงแรกจะรู้สึกว่าดีมีกำลัง ภาวนาไปช่วงหนึ่งจะรู้สึกว่าไม่เห็นมีอะไรเลย ก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้ผล บางคนก็หาย(เลิกภาวนา)ไปเลย แต่ถ้าเราคิดว่าทางนี้เป็นประโยชน์กับเรา ให้เราทำสม่ำเสมอไป จิตจะดีบ้างไม่ดีบ้าง ทำไปเถิดทุกวัน มันมีธรรมชาติเดี๋ยวเจริญเดี๋ยวก็เสื่อม ตอนที่เจริญเราจะมีกำลังใจหึกเหิม แต่พอภาวนาไปช่วงหนึ่งจะเริ่มเสื่อมลง ช่วงเสื่อมเป็นจุดอ่อนของพวกเรา พอเสื่อมแล้วใจไม่อยากภาวนา ใจจะถูกโลกลากไป ตรงนี้ต้องเข็มแข็งเอาไว้ ถึงโลกจะลากไปก็ต้องไม่ทิ้งการทำในรูปแบบ ต้องทำทุกวัน จากความเสื่อมก็จะค่อยๆ กลับมามีกำลังอีก พอภาวนาอีกช่วงหนึ่งก็เสื่อมอีก อดทนทำสม่ำเสมอไป แล้วผลของการภาวนาจะได้ที่ตัวเราเอง" --คุณแม่ชีอรนุช คอร์ส กฟผ. ๒๘ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒

Direct download: orn620628.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"สติเกิดจากการจำสภาวะได้แม่น สภาวะของกายและใจ ต้นทางจนถึงปลายทางมีแค่นี้ กายกับใจตัวนี้ เพราะฉะนั้นเรากลับมารู้กายรู้ใจ เมื่อไรลืมกาย เมื่อไรลืมใจ นั่นขาดสติ เมื่อไรลืมกาย เมื่อไรลืมใจ แล้วเรารู้ทัน ตรงนั้นเกิดสติ แต่เราไม่ได้ฝึกให้มีสติตลอดเวลา เรามาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ เวลาที่เราเผลอไปแล้วรู้ นั่นคือหนึ่งสภาวะ เราอาศัยความคิดในการภาวนา เช่นไหลไปคิดแล้วรู้ แต่ไม่ใช่บังคับว่าจิตห้ามไหลห้ามคิด" --คุณมาลี ปาละวงศ์ มสธ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: mle620623.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"วาสนาไม่ได้ลอยมา มีแต่ว่าเราเคยทำเหตุบางอย่างมาแล้ว ที่จะรับผลแบบนี้ วันนี้ ไม่มีอะไรบังเอิญ ในความเป็นจริง บุญเก่ามีผล แต่ว่าบุญเก่าจะมีผลยังไง ชาวพุทธจะไม่ได้พึ่งบุญเก่าอย่างเดียว ชาวพุทธจะรู้ว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป เรามีโอกาสสร้างเหตุใหม่ที่ดี" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620609C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลักก็คือ ไม่ได้เจตนา หรือไม่ได้จงใจให้เอาจิตอยู่กับตัวเอง อย่างแบบแนบแน่นหรือทรงไว้ มีแต่ว่า เอาใจมาแตะๆ แล้วปล่อยมันวิ่งออกไป แล้วรู้ ใช้หลักนี้ ทุกครั้งที่มันวิ่งออกไป แล้วรู้ มันจะอยู่กับเนื้อกับตัวเองชั่วขณะ แล้วเดี๋ยวมันวิ่งอีก วิ่งอีกรู้อีกๆ อย่าพยายามที่จะรักษาความรู้สึกตัวไว้ มันทำไม่ได้จริง ยิ่งทำ จะยิ่งเครียด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620609B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ลักขณูปนิชฌาน ลักขณู คือ ลักษณะ คือสมาธิที่ใช้ เพื่อจะพร้อมที่จะให้จิตเห็นลักษณะของรูปนาม ลักษณะของรูปนามคืออะไร ลักษณะของรูปนามคือ เป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620609A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การฟังธรรมจะเข้าใจแค่ทฤษฎีในการปฏิบัติเท่านั้น แต่เราจะเข้าใจธรรมะได้เราต้องเห็นสภาวะและลงมือปฏิบัติจริงๆ หลักที่หลวงพ่อฯให้ไว้ เพื่อที่จะเอากลับไปปฏิบัติได้เลยมีสามอย่าง หนึ่ง รักษาศีลไว้ ศีลห้าก็พอ ถ้ารักษาศีลเป็นข้อๆ ลำบาก ให้เราวางใจไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ใจที่ตั้งใจว่าจะไม่เบียนเบียนก็เป็นใจที่จะรักษาศีลโดยตรงอยู่แล้ว สอง แบ่งเวลาทำในรูปแบบทุกวัน แบ่งเวลาไว้ไม่ทำการงานอื่น ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิตที่ทำงาน ทำทุกวันซ้อมไปเรื่อยๆ อินทรีย์ของพวกเราจะแข็งขึ้น สาม เจริญสติในชีวิตประจำวัน ระหว่างวันเพิ่มความใส่ใจในกายใจของเราให้มากขึ้น ถ้าเราทำสม่ำเสมอ ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติจะเพิ่มขึ้น" --คุณแม่ชีอรนุช นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: orn620609.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"เป้าหมายของศาสนาพุทธ คือการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง พวกเราจะไม่พ้นทุกข์เลย ถ้าเราไม่เห็นความจริงของกายของใจ การหลุดพ้นไม่ใช่นั่งสมาธิแล้วก็หลุดพ้น มีแต่เห็นความจริงของกายของใจไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจิตเห็นความไร้สาระ เห็นความแปรปวน เห็นความเป็นที่พึ่งไม่ได้ฃองกายใจ เห็นซ้ำๆ จนจิตวางความยึดถือในกายใจลง แต่เรายึดถือกายใจนี้อย่างเหนียวแน่น การที่จะให้จิตคลายความยึดถือ เรามีหน้าที่เก็บข้อมูลโดยการทำกรรมฐานแล้วคอยตามรู้ไปเรื่อยๆ การเก็บข้อมูลนี้เก็บด้วยใจ เราฟังทฤษฎีด้วยสมอง เรารู้ว่าพ้นทุกข์ด้วยวิธีไหน เราเข้าใจเหตุและผลทั้งหมด แต่จิตเขาไม่วาง จิตไม่พ้นทุกข์ การที่จิตจะพ้นทุกข์จะวางความยึดถือกายใจได้ จิตเขาต้องเห็นสภาวะของกายของใจจริงๆ เห็นซ้ำๆ จนจิตวางความยึดถือในกายใจลงได้จริง ถ้าจิตวางกายวางใจลงโดยสิ้นเชิง นั่นก็คือพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง" --คุณแม่ชีอรุนุช นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: orn620608.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"หายใจธรรมดา เคยหายใจอย่างไร ก็หายใจอย่างนั้น แล้วก็หลับตารู้สึกเอา ไม่ต้องไปดูลม ให้นึกว่าลืมตาอยู่ ให้รู้สึกว่ามันมีลม รู้สึกว่ามีลม ไม่ใช่ไปเพ่งลม ไม่ต้องรีบให้สงบ ให้รู้สึกไปสบายๆ อย่าไปกดบังคับลม ลมบังคับไม่ได้หรอก ให้นึกว่าลมไม่ใช่ของเรา ไม่ต้องนึก ยังไงก็ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว มันเป็นข้างนอก ยืมมาใช้ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว ให้เห็นว่ามันมีความแปรปรวนของลม มีเข้าก็มีออก มีเข้าก็มีออก ให้เห็นพิจารณาแบบนี้ มันมีความไม่เที่ยงอยู่ในลม เข้าแล้วต้องออก ลมเบาลมแรงมันเป็นของมันเอง ให้หมายความรู้สึกนี้ลงไป จะทำให้ไม่เพ่ง เพราะอะไร พอเราคิดแบบนี้มันจะมีอารมณ์ของวิปัสสนาเข้ามาเจือ มันจะไม่เข้าไปยึดมั่นในลม ลมจะเป็นแค่ธรรมชาติ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา" --คุณหมอณัฎฐ์ บ้านจิตสบาย ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620608B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"บริกรรมแล้วดูจิต อย่าบริกรรมแล้วคิดว่าให้สงบ ถ้าจะจับความสงบมันจะเหวี่ยงมาคิด พอคิดแรงก็จะฟุ้ง เพราะฉะนั้นบริกรรมไปแล้วให้เห็นใจ ใจเป็นอย่างไรก็ให้รู้อย่างนั้น จิตคิดก็ให้รู้ว่าเผลอไป ถ้าทำแบบนี้คำว่าฟุ้งจะไม่เป็นอุปสรรค เพราะใจคิดแล้วรู้ได้หนึ่งแต้ม ใจเพ่งก็รู้ได้อีกหนึ่งแต้ม เดี๋ยวความสงบที่พร้อมรู้มันจะมาเอง แต่ถ้าเราใจเหวี่ยงไปข้างสงบ เหมื่อนเราจับปลา เราจับแรง พอปลาดิ้นหลุดออกได้ จะดีดออกไปข้างหนึ่งเลย ก็เหมือนหลุดออกไปคิด คราวนี้คิดยาวเป็นเรื่องเลย" --คุณหมอณัฎฐ์ บ้านจิตสบาย ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620608A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาเราภาวนาจิตจะพัฒนาทีละขั้น ตามภูมิรู้ความเข้าใจของจิต เราไม่มีหน้าที่บังคับอะไรจิตเลย ธรรมชาติไม่มีใครทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ จิตเขาเกิดของเขาเอง เรามีหน้าที่สร้างเหตุไปทุกวันทุกวัน เหตุก็คือรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมันและเป็นกลาง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒

Direct download: mle620526.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เราต้องมีกรอบเป็นเครื่องช่วยให้เรารู้ว่าที่เราภาวนา เรายังปฏิบัติอยู่หรือไม่ กรอบก็คือสัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ เพียรแผดเผากิเลส จะมีความเพียรแผดเผากิเลสได้ต้องมี(สัมมา)สติ สองตัวนี้ช่วยกัน สัมมาวามะ คือมีความเพียรที่จะทำให้อกุศลที่มีอยู่ดับลง อกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้มันเกิดขึ้น กุศลที่ยังไม่เกิดก็ทำให้เกิดขึ้น กุศลที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มันงอกงามไพบูลย์มากขึ้น ถ้าการปฏิบัติของเราไม่ได้อยู่ในกรอบนี้ ถึงแม้ว่าเดินจงกรม นั่งสมาธิ รักษาศีลอยู่ ยังไม่ใช่ปฏิบัติ นั่นกำลังปฏิบัติเพื่อสนองกิเลส ไม่ได้เป็นไปเพื่อความชำระล้างกิเลสเพื่อความบริสุทธ์หลุดพ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620608B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"จุดตั้งต้นของการปฏิบัติธรรมมุ่งอยู่ที่การเจริญสติ ทุกครั้งที่กระทบอารมณ์ กระทบผัสสะ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจแล้ว ความรู้สึกเปลี่ยน จะคอยมีสติตามรู้ รู้สึกไปสบายๆ ไม่ได้จ้องลงไป" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: psn620608A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พวกเรารู้สึกว่า ที่ไม่ดีคือภาวนาน้อยไป ต้องภาวนาให้เยอะกว่านี้ นี่คือความเห็นผิด คิดว่าทำได้ เพราะฉะนั้น ยังภาวนาไม่มากพอ ต้องภาวนาจนถึงจุดที่ว่า หลังชนกำแพงแล้ว เสื่อมหรือเจริญ ใจมันรับได้แล้ว บนเส้นทางนี้ขยันต่อเนื่องมายาวนาน เดี๋ยวมันก็เจริญ แล้วเดี๋ยวมันก็เสื่อม เดี๋ยวมันก็เจริญ แล้วเดี๋ยวมันก็เสื่อม จนใจมันเป็นกลาง รู้สึกหรือยังว่า ภาวนาไม่มากพอ เพราะฉะนั้น ความไม่สม่ำเสมอ หรือความขี้เกียจของเรา เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราเห็นผิดมากขึ้นๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดเขาดินวนาราม ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒

Direct download: psn620526B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลักก็คือ ทำกรรมฐานอันนึง แล้วคอยรู้ทัน ใจตัวเอง เวลารู้ทันจิตตัวเอง รู้ไปเรื่อยๆ นานๆ เข้า เราจะได้สมาธิที่ถูกต้อง เรื่องจิตสิกขา เรียนแล้ว เราจะได้สมาธิที่ถูกต้อง จิตสิกขาคืออะไร คือเรียนเรื่องจิต เรียนเรื่องจิต มันไม่ได้เรียนด้วยการฟัง เรียนเรื่องจิต มันเรียนด้วยการเห็นสภาวะ เห็นของจริงไปว่า เดี๋ยวจิตก็ทำอย่างนั้น เดี๋ยวจิตก็ทำอย่างนี้ เดี๋ยวจิตก็ปรุงอย่างนั้น เดี๋ยวจิตก็ปรุงอย่างนี้ ดูไปเรื่อย คอยรู้ทันพฤติกรรมของใจ คอยรู้ทันจิตตัวเองไปเรื่อยๆ นานๆ เข้า มันได้สมาธิที่ถูกต้องเอง มันอัศจรรย์ขนาดนั้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒

Direct download: psn620526A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ไม่จำเป็นต้องดูจิต ทีนี้ คนบางคนไม่ถนัดดูจิต ก็ดูกายก็ได้ แต่ว่ายุคนี้ ทำไมการดูจิตถึงเฟื่องฟู ยุคนี้ การดูจิตเฟื่องฟูเพราะว่า การดูกาย ถ้าเจริญปัญญาด้วยการดูกาย จะดีก็ต่อเมื่อ เรามีสมาธิมาก ทำฌานได้ ใจแยกออกมาเป็นตัวรู้ได้ยาวๆ นานๆ คนยุคนี้ ทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้ สำหรับคนที่มีสมาธิไม่มาก จิตฟุ้งซ่าน เป็นนักคิด ชอบวิจัยวิจารณ์ มีความคิดเห็นต่างๆ ตลอดเวลา สมาธิไม่มาก เหมาะกับการดูจิต เพราะว่า เวลาโลภ เวลาโกรธ เวลาเบื่อ แล้วเรารู้ ไม่ได้ใช้สมาธิเยอะ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฎิแก้ว เชียงราย ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

Direct download: psn620525C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:00pm +07

1