ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"การภาวนามันเหมือน การขึ้นบันไดเลื่อนที่มันเลื่อนลง เราเดินสวนขึ้นไป พอเราหยุดปุ๊บ มันก็ไหลลงมา เวลาเราหยุด มันไม่ได้อยู่ที่เดิม มันไหลลง เพราะอะไร จิตมีธรรมชาติ เคลื่อนลงต่ำอยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร กิเลสทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงราคะ เดี๋ยวก็ปรุงโทสะ เดี๋ยวก็ปรุงโมหะ ความคุ้นชินของจิต ที่จะสะสมกิเลสเหล่านั้น มันมากขึ้นตามลำดับ ถ้าเราไม่เจริญสติ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"คำสอนนี้มุ่งไปที่จุดเดียวเท่านั้นคือ ทำยังไงผู้ภาวนา ถึงจะพ้นออกจากทุกข์ เส้นทางนี้ยาวไกลมาก ระหว่างทาง จะมีของจำนวนมากยั่วยวนใจเรา เช่น เราฝึกไปเรื่อยๆ เราอาจจะเห็นสิ่งอื่นๆ นอกจากมนุษย์ทั่วไปเห็น ได้ยินสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ยิน ได้รู้ได้เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น ถ้าเราชื่นชม หรือมีความสุข อยู่กับสิ่งเหล่านี้ เราก็ติดกับ เผลอแป๊บเดียว ก็แก่ ก็ตายแล้ว และความสุขที่ยั่วยวนเหล่านั้น ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริง ว่าขันธ์ทั้งปวงนี้ บังคับบัญชาไม่ได้ มันทำงานของมันเอง ไม่ใช่เรา เมื่อใดก็ ตามที่เราพยายามบังคับตัวเองให้นิ่ง ให้ดี ขณะนั้น ผิดทางแล้ว นักภาวนาส่วนใหญ่ มีความคุ้นชินกับการบังคับตัวเอง ธรรมะที่สอนหลักการที่ว่า ปล่อยใจให้ทำงาน ปล่อยกายให้ทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาอย่างที่มันควรเป็นนั้น นานๆเกิดขึ้นทีนึง แต่เวลาที่เราบอกว่าปล่อยให้ ใจ กาย เป็นอิสระ ไม่ใช่แปลว่า ทำชั่วก็ได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

“ทำไมต้องมีความตั้งมั่นของจิต เพราะว่าจิตที่มีความตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นของจิตนี้แหละ เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ การเรียนรู้ความจริงของกายของใจเราเอง ความจริงที่ต้องเรียนรู้ มีอยู่ ๓ เรื่อง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ จะเรียนไตรลักษณ์ได้ จะต้องเห็นกายเห็นใจด้วยจิตที่มีความตั้งมั่น หรือเห็นด้วยจิตที่มีสมาธิ” ... --อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา สนทนาธรรมตามกาล 19 ณ M Academy วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: swt601217.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:00am +07

"อย่ากลัวที่ใจมันจะสร้างภพ หรือใจมันจะปรุงแต่ง มันต้องปรุงอยู่แล้ว มีหน้าที่ รู้ทันว่ามันปรุง มีหน้าที่ รู้ทันว่ามันแต่ง ไม่ใช่ว่า ภาวนาทีไรมันสร้างภพทุกที เลยไม่ต้องภาวนา ไม่ใช่ อันนั้นคือโดนกิเลสหลอกแล้ว เราไม่สร้างภพที่ดี เราไม่ปฏิบัติ มันก็สร้างภพที่เลว เพราะจิตมีธรรมชาติสร้างภพตลอดเวลา เรามีหน้าที่รู้ทันแค่ว่า จะภาวนาจิตมันก็สร้างภพ จิตมันก็ปรุงแต่ง เราก็รู้ทันความปรุงแต่งไป ไม่ใช่ พอมันปรุงปุ๊บ แน่นปุ๊บ เลิกเลย ไปนอน มันก็สร้างภพเลว ขี้เกียจแล้วก็หลงไป จำไว้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญในภพทั้งสิ้น แล้วมีหน้าที่ภาวนาไป ไม่ยากหรอก ถ้ายากจะไม่มีคนเข้าใจ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเจริญสติฯ บ้านสติ กองบุญอธิจิตฺต โพธิ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601223B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ตัวที่ขวางการภาวนา ก็คือ ตัณหา ทิฐิ มานะ 3 ตัวนี้ที่สำคัญ อะไรที่มันมากๆ มันคือกิเลสที่แรงๆ เราก็อย่าไปตามใจมัน แต่ก็ไม่ได้ห้ามฝืนใจจนกระทั่งแห้งแล้งจนแบบทุกข์ทรมานมาก เพราะถ้าทุกข์ก็ภาวนายากอีก เพราะฉะนั้นการภาวนาคือ อยู่กับมันอย่างที่เคยอยู่ แต่รู้ทันมัน และก็มีความสุขในการที่จะต้องเดินไปกับมัน ไม่ใช่หมายความว่า วันนี้ฉันต้องหมดกิเลสเลย เป็นไปไม่ได้ กิเลสมันสะสมมาไม่รู้เท่าไหร่ อยู่มาภาวนาอยู่สักปีสองปี บอกว่าเธอต้องหมดทันทีมันเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เราอย่าให้มันครอบงำ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: nit601203.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"วิธีซ้อมให้เกิดจิตตั้งมั่นคือ เอาจิตเป็นหลัก ไม่ได้เอากรรมฐานเป็นหลัก จิตไหลรู้ จิตเคลื่อนรู้ ไม่ว่ามันจะไหลออกไปคิดหรือไหลไปอยู่กับความสงบ หรือไหลไปอยู่กับความนิ่ง อันนี้คือจิตที่ไหล จิตที่เคลื่อนทั้งนั้น ถ้าเรารู้ทันบ่อยๆ สิ่งที่เราได้มาคือเกิดสภาวะความตั้งมั่นทีละขณะๆ ทุกครั้งที่เรารู้สึกขึ้นมาได้ คือสติเกิดขึ้น 1 ครั้งๆ ความตั้งมั่นเกิดขึ้น 1 ครั้ง สิ่งที่เราได้คือขณิกสมาธิ คราวนี้ถ้าเราฝึกบ่อยๆจิต ก็จะเอัตโนมัติจนกระทั่งเหมือนเรารู้ตัวได้ตลอด" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923D.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"พอหลงไปคิดเรื่องการปฏิบัติ นักปฏิบัติก็จะไปแต่งจิตทันที หลงไปคิดเรื่องการปฏิบัติก็อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติก็โลภ ตัณหา ตัณหาก็ทำหน้าที่สร้างภพ ภพก็แปลว่าการกระทำกรรมของใจ มีตัณหา จิตก็กระทำกรรม ดังนั้นแต่ละคนมักติดภพนึงอยู่เสมอ เรียกว่าภพของนักปฏิบัติ ดังนั้นเราต้องคอยรู้ทัน แต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน ให้เราเรียนรู้ไปเรื่อยๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล 18 M Academy วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601126A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ในโลกใบนี้้ มีมืดก็มีสว่าง จิต เดี๋ยวมันก็รู้ตัว เดี๋ยวมันก็ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นถ้าเรามุ่งสู่ความรู้สึกตัว เดี๋ยวมันก็เผลออีก คราวนี้ถ้าเราเข้าใจกฎของไตรลักษณ์ เราก็จะไม่รักษาอะไรเลย เพราะเรารู้ว่ามันมามันก็ไปๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

1