ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"พวกเราต้องไปดูว่า ตัวช่วยของพวกเรามีอะไรได้บ้าง ที่จะให้เราหลุดจากวงโคจรไม่นาน แต่ละคนนะ หลุดออกเป็นช่วงๆ แหละ โลกมันหอมหวาน มันดึงดูด จิตของพวกเรายังมีความหิวมาก ความสุขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันดึงดูดได้มาก แป๊บเดียวมันก็ไปแล้ว ไปทีก็นานๆ กลับมาทีก็มืดค่ำ แรงภาวนาก็หมดแล้ว เราก็ต้องฉลาดที่จะวางแผนชีวิต ปรับพฤติกรรม อาจจะต้องทำตารางประจำวันให้กับตัวเองบ้าง ทำอะไร จะไปไหน จะไปหลงโลกกับเพื่อนสมมติ ก็ต้องตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าจะไปแค่กี่ชั่วโมง ไม่ใช่ว่าคุยจนลิ้นห้อยแล้ว ต่างคนต่างหมดแรงแล้วค่อยแยกย้าย เรื่องพวกนี้ก็ต้องช่วยตัวเอง นานๆ เข้ามันจะเห็นผลนะ ใหม่ๆ ก็ต้องสู้ทั้งนั้นแหละ" -- คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล ครั้งที่ ๖ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล

Direct download: psn591127.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:00pm +07

Direct download: swt591106A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 9:40pm +07

"หลวงพ่อท่านพูดไว้ ฟังแล้วก็จะได้ยินว่าท่านพูดถึงความรู้สึก ให้รู้สึกๆ หัดรู้สึก จะมีคำถามว่าความรู้สึกเป็นยังไง.. ที่เคยแนะนำกันบ่อยๆ ก็ให้เราก็เทียบเคียงกับความรู้สึกทางกาย สัมผัส บีบมือ บีบไม้ให้มันรู้สึก ความรู้สึกกายเป็นตัวตั้งต้น ให้มันจำได้ว่า ไอ้ความรู้สึกกายมันหน้าตาเป็นยังไง แล้วเราก็วางใจ ประมาณนั้น แล้วก็รู้สึก จนกระทั่งจิตมันเกิดการจำสภาวะได้ ระลึกรู้ขึ้นมา ความรู้มันก็ชัดขึ้น ก็เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ในความรู้สึกตัวนั้นจะมีสมาธิพร้อมอยู่ หนึ่งขณะ รู้สึกใหม่ๆ ครั้งแรก กำลังไม่มาก ก็เรียนได้ไม่ชัด พอรู้สึกบ่อยขึ้น กำลังก็ตั้งมั่นขึ้น มันจะชัดเข้ามาถึงกายถึงใจ หนึ่งขณะ หนึ่งขณะ ที่เรียกว่า ขณิกะ มันก็เห็นสภาวะต่างๆ รู้กายรู้ใจ ก็รู้ในฐานทั้ง 4 ไม่แยกว่าต้องรู้ฐานไหน" -- ฆราวาสธรรม ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย 12 พฤศจิกายน 2559

Direct download: nat591112.mp3
Category:Nat -- posted at: 9:31pm +07

Direct download: mle591015C.mp3
Category:Malee -- posted at: 9:15pm +07

"จิตไหลไปรู้ จิตเคลื่อนไปรู้ ร่างกายนี้เคลื่อนแล้วเรารู้ ร่างกายนี่มันเปลี่ยนแปลงแล้วเรารู้ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ จะเป็นโอกาสทองของเราเลยนะ ที่เราจะพัฒนาเจริญสติให้ได้ เพราะสติมันได้ปุ๊บ สมาธิที่ประกอบด้วยจิตตั้งมั่น มันเกิด ปัญญาก็ทำขึ้นมาได้เอง โดยที่เราไม่ต้องไปทำมัน" -- ฆราวาสธรรม คุณมาลี ปาละวงศ์ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ จ.ภูเก็ต 15 ตุลาคม 2559 (mle591015B)

Direct download: mle591015B.mp3
Category:Malee -- posted at: 9:06pm +07

"จุดที่เราทำสมาธิวันละ 15 นาทีมันเป็นจุดสำคัญมาก เพราะถ้าเราวางใจผิด เราวางใจว่าจะทำเพื่อความสงบ วางใจว่าใน 15 นาทีนี้ ไม่อยากให้จิตฟุ้งซ่าน วางใจว่า 15 นาทีนี้ จะให้สติมันเกิดจะเอารู้สึกตัว จะให้จิตนี่ไม่ฟุ้งซ่าน จะให้จิตนี้ดี ให้จิตนี้สงบ อันนั้นคือเราพลาดจากการที่จะเห็นความเป็นจริงของใจกับใจอย่างที่มันเป็น เพราะงั้นสติตัวจริงไม่มีแล้วในขณะนั้นนะ สติจะไม่เกิดเพราะเราบังคับ" -- ฆราวาสธรรม คุณมาลี ปาละวงศ์ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ จังหวัดภูเก็ต 15 ตุลาคม 2559 (mle591015A)

Direct download: mle591015A.mp3
Category:Malee -- posted at: 7:32pm +07

"ปฏิบัติแล้วเป็นยังไงก็ได้ ขอให้รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น เพราะถูก ผิด เอาตัวรู้เป็นตัวตัดสิน ไม่ได้เอาอาการเป็นตัวตัดสิน ปฏิบัติแล้วโมโหทั้งวันเลย แต่ว่ารู้ว่าโมโหอยู่นี่ใช้ได้ ไม่ได้ผิดอะไรเลย" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา บ้านจิตสบาย วันที่ 8 ตุลาคม 2559

Direct download: swt591008.mp3
Category:Surawat -- posted at: 7:25pm +07

Direct download: ppn591001.mp3
Category:Pacharapol -- posted at: 7:18pm +07

Direct download: nat591002.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:15pm +07

Direct download: nat591001B.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:14pm +07

Direct download: nat591001A.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:13pm +07

"หลวงพ่อบอกเข้าใจหลักแล้วมันจะไม่ยากนะคะ เพราะงั้นเราไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรมไม่ใช่ว่าห้ามฟุ้งซ่าน แต่ฟุ้งแล้วเรารู้ แต่นั่งแล้วนิ่งๆเฉยๆซึมๆ อันนี้เป็นเรื่องใหญ่เลย มันจะแก้ยากมากนะคะ ฟุ้งแล้วรู้ กระทบแล้วรู้นะคะ จิตมันสัมผัสผัสสะเข้ามาแล้วเรารู้ รู้แล้วมันจะดับหรือไม่ดับเรื่องของมัน แต่เรารู้ตามที่มันเป็นนั่นแหละค่ะ" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ สนทนาธรรมที่บ้านสติ ขอนแก่น 25 ก.ย. 59 (mle590925B)

Direct download: mle590925B.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:42am +07

"เคล็ดลับมี 2 อัน อันนี้ของส่วนตัวที่มาลีสรุปมาจากการภาวนาของตัวเองมา อันนึงเนี่ยเราต้องซ้อม เรารู้แล้วสติเกิดขึ้นเองไม่ได้แต่ทำเหตุ แต่ไม่ได้บังคับให้สติเกิดนะคะ เคล็ดลับอันที่สอง วิหารธรรม นักภาวนานะ ถ้าเรามุ่งสู่ความพ้นทุกข์จริงๆ ท่านจำเป็นต้องมีวิหารธรรมนะคะ" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ สนทนาธรรมที่บ้านสติ ขอนแก่น

Direct download: mle590925A.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:40am +07

"จิตที่บังคับเนี่ยแหละ มันขวางการเดินวิปัสสนา เพราะเมื่อใดที่เราบังคับจิต จิตจะไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อย่างที่มันต้องเคลื่อน ความรู้สึกมันก็ไม่เกิด อย่างที่มันสมควรเกิด มันก็ไม่เห็นความจริง สรุปแล้วคือ เวลาเราจะเห็นความจริงของสิ่งใด เราจะไม่บังคับสิ่งนั้น เราจะปล่อยให้สิ่งนั้นทำงานอย่างเป็นธรมชาติธรรมดา อย่างที่มันต้องเป็น" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมที่บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ 25 กันยายน 2559 (psn590925C)

Direct download: psn590925C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:36am +07

"เราต้องวางใจว่า สภาวะทั้งปวง คืออะไรก็ได้ หมายความว่า โลภก็ได้ โกรธก็ได้ หลงก็ได้ เบื่อก็ได้ เซ็งก็ได้ ไม่มีสติก็ยังได้เลย เพราะว่า ความหลงมันเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ อยู่แล้ว จิตส่งออกนอกก็ได้ คือหลักนี่ อะไรก็ได้ แล้วรู้อย่างที่มันเป็นไป" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมี่บ้านสติ ขอนแก่น 25 กันยายน 2559 (psn590925B)

Direct download: psn590925B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:34am +07

"ธรรมที่หลวงพ่อเทศน์มีหลากหลายมาก ครอบคลุมมาก ทำตามคำสอนก็ไม่เนิ่นช้า ไม่ทำตามคำสอนนะ ยังไงก็เนิ่นช้า ให้ฟังซีดีครบทุกแผ่นด้วย ให้ท่องได้ด้วย พูดได้ด้วย มันก็เนิ่นช้าอยู่ดี อะไรที่ท่านห้าม แนะนำว่าไม่ควรทำ ก็อย่าทำ อะไรที่ท่านบอกว่านี่ดี นี่ควรทำ จะทำให้การภาวนาก้าวหน้าขึ้น ก็ทำ ก็ไม่เนิ่นช้าเอง งั้นพวกเนิ่นช้า คือพวกดื้นด้าน หลวงพ่อจึงบอกว่า สอนกรรมฐานสอนยาก เหมือนเข็นควายขึ้นภูเขา เข็นครกยังไม่เท่าไหร่ เพราะครกแค่หนัก ควายเนี่ย ไม่แน่นะ มันหันกลับมาขวิดได้ เราก็พิจารณาตัวเองว่า เรามีปกติอ่อนน้อมต่อคำสั่งสอนของครูบาอาจาย์มั้ย ผู้ที่มีปกติอ่อนน้อมต่อคำสอนนะ ก็รับธรรมได้ง่ายหน่อย พร้อมที่จะถูกทุบ ถูกตำหนิ ไม่รักหน้า มันก็มีโอกาสได้รับฟังธรรม หรือได้รับการขัดเกลา ที่จะทำให้การภาวนาของตนเองก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ถ้ารักหน้า ครูบาอาจารย์แนะนำ ก็โกรธบ้าง ใครจะไปแนะนำ ท่านก็แนะนำไปพอสมควรกับใจของเราว่า ใจเรารับได้แค่ไหน คนที่พร้อมที่จะถูกครูบาอาจารย์ทุบนะ ท่านก็ทุบแรง ท่านก็ไม่ปล่อยไว้ คนที่ยังไม่พร้อมถูกทุบ ท่านก็ยังไม่ทุบหรอก ถ้าปกติ ใจของพวกเราอ่อนน้อมต่อคำสอน รักที่จะได้ธรรม ไม่รักหน้า ไม่รักเกียรติ ไม่อายที่จะถูกตำหนิ มันก็ก้าวหน้าง่าย ถ้าเรารักหน้ามาก ครูบาอาจารย์ตำหนินิดๆ หน่อยก็ไม่ได้ ท่านก็สอนไปตามความสามารถของใจที่จะพร้อมรับ เราก็ดูตัวเราเอง" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -ถ้าทำกรรมฐานถูกจริต การภาวนาจะราบรื่น- บ้านสติ ขอนแก่น 25 กันยายน 2559 (psn590925A)

Direct download: psn590925A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:32am +07

"สังขาร มันมีแต่สังขารดีอย่างเดียวหรือ? มีแต่ปุญญาภิสังขารหรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ มันมีสังขาร ที่เป็น อปุญญาภิสังขาร แล้วก็ สังขารที่เป็นกลาง เพราะฉะนั้น จิตมีหน้าที่ต้องปรุงสังขาร มีทั้งดีและไม่ดี หน้าที่คือ ต้องรู้สังขารเหล่านี้ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วก็ไม่รังเกียจมัน ก็มันเป็นธรรมชาติที่ต้องมี ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องนั่งเดินทุกข์ทรมานในโลกนี้หรอก มันเป็นเรื่องปกติ แต่มีแล้ว ศึกษาเท่าทันเท่านั้นเอง มีแล้วหลง หลงได้มั้ย? ก็ได้อีก ก็มันยังอยู่ในขั้นที่ต้องหลง แต่หลงแล้วรู้ทันขึ้น เพราะสติที่บริบูรณ์มากขึ้น เท่าทันมากขึ้น จากกำลังของความสงบหรือสมาธิที่มากขึ้น ก็รู้ไป แต่อย่ารังเกียจ แต่รังเกียจได้มั้ย? ห้ามไม่ได้ แต่หน้าที่คือ เมื่อมันรังเกียจ ไม่ชอบให้รู้ว่าไม่ชอบ เพราะตัวนี้คือตัวปัจจุบันที่สุด ตัวที่อยู่ต่อหน้าเราที่สุด ตัวอื่นเป็นอดีตไปหมดแล้ว ทำอย่างนี้นะ มันถึงจะเป็นกลาง" -- ฆราวาสธรรม ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ สนทนาธรรมที่บ้านสติ ขอนแก่น 25 กันยายน 2559 (nat590925B)

Direct download: nat590925B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:28am +07

"หน้าที่ของเรา ทำทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก คือ การออกไปสู่ชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำ ทำมากทำน้อย ภายใน คือ ทำของเราเอง มีรูปแบบทำ จะเดินจงกรม จะทำความสงบ อะไรก็ได้ แต่ทุกอย่างอันเดียวกันหมด ต่อเนื่องกันหมด ใช้หลักการเดียวกันหมด เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน ต้องทำทุกวัน มากบ้างน้อยบ้าง ทำทุกวัน" ฆราวาสธรรม ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ สนทนาธรรมที่บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ 25 กันยายน 2559 (nat590925A)

Direct download: nat590925A.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:21am +07

"เพราะเราอยากดี เราถึงต้องทำทุกอย่างเลย อยากดีไม่พ้นทุกข์หรอก เพราะยังอยากอยู่ เวลามันพ้นทุกข์ มันพ้นทุกข์ด้วยปัญญา แต่ว่าสิ่งเราจะทำตอนนี้มันไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้มันเพิ่มทุกข์มาอีก" -- ฆราวาสธรรม คุณมาลี ปาละวงศ์ สนทนาธรรมที่วัดสวนสันติธรรม 18 กันยายน 2559 (mle590918B)

Direct download: mle590918B.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:16am +07

"ถ้าเรามารู้กายอย่างที่มันเป็น จิตใจอย่างที่มันเป็นเราถึงจะเรียกว่าขึ้นวิปัสสนา แต่ถ้าเราบอกว่าเราเองรู้สึกตัว ไม่ได้เป็นความจริงที่เราสามารถรู้สึกตัวได้ตลอดเวลา แล้วข้อเท็จจริงเราไม่ได้ทำให้รู็สึกตัวตลอดเวลา แต่เราจะไปเห็นว่า อ๋อ สภาวะนี้คือจิตที่มันไม่รู้สึกตัว สภาวะนี้คือสภาวะที่จิตมันไหลไป ฟุ้งซ่าน... แต่ไม่ได้ทำว่าห้ามฟุ้งซ่าน" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ วัดสวนสันติธรรม 18 ก.ย. 59 (mle590918A)

Direct download: mle590918A.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:13am +07

"ถ้าเห็นสภาวะบ่อยๆ ตัวสติก็สามารถเกิดขึ้นได้กับสภาวะนั้นๆ พอจำสภาวะได้แม่นยำแล้ว เราก็จะมี Database ที่เริ่มสะสมตัวสติเข้ามา ทีละครั้ง ทีละเล็กทีละน้อย วิธีการ ก็ใช้รู้สึกๆเอา เรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย ไม่ต้องรีบ มีเวลาทั้งชีวิตในการที่จะศึกษา ค่อยๆ สะสมไป" -- ฆราวาสธรรม คุณวรรณพ จันทร์สว่าง เชฟรอน ประเทศไทย "ฐานข้อมูล (database) สติ"

Direct download: wjs590915.mp3
Category:Wannop -- posted at: 12:06am +07

"ให้ทุกท่านสังเกตนะคะ ถ้าเราทำกรรมฐานอะไรก็ตาม แล้วมันทำแบบหยุดมั่ง ไม่หยุดมั่ง อะไรอย่างนี้ แบบมันไม่มีความยินดี ให้รู้เลยว่ามันไม่ใช่หรอกนะคะ ถ้าเราทำถูกนะคะมันจะมีฉันทะ ถ้าเราทำถูกมันยังไงก็มีฉันทะ มันจะไม่ได้รู้สึกเลยว่าต้องทำ ถ้าเมื่อไรมีคำว่าต้องเนี่ยให้รู้เลยว่าไม่ใช่หรอก แต่ผิดที่สุดหลวงพ่อบอกคือไม่ทำ" -- ฆราวาสธรรม คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙

Direct download: mle590910A.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:00pm +07

"การเดินเส้นนี้เราต้องวางใจให้ถูก วางใจให้ถูกคือเราไม่ได้มุ่งไปสู่ความดี เราไม่ได้มุ่งสู้ต้องมีสติ ไม่ได้ทำเพื่อให้รู้สึกตัว แต่เราจะเอาความจริงของกายกับใจมันเป็นยังไง กายกับใจนี้มันอยากดี เราก็รู้ว่ามันอยากดี" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ 10 กันยายน 2559 (mle590910B)

Direct download: mle590910B.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:00pm +07

"บุญอะไรก็ไม่สู้ บุญจากการเจริญสติ การเจริญปัญญา เพราะฉะนั้น มีโอกาสทำบุญใหญ่ก็ทำบุญใหญ่ก่อน ภาวนาก่อน เดินปัญญาก่อน เดินปัญญาทำไม่ได้แล้ว บุญใหญ่สุดทำไม่ได้แล้วก็ทำบุญเล็กลงมาหน่อย คือทำสมาธิ เป็นบุญเล็กน้อย เมื่อเทียบกับบุญจากการเจริญปัญญา บุญจาการทำสมาธิทำไม่ได้ก็ ขั้นต่ำก็ต้องรักษาศีล รักษาศีลทำไม่ได้ก็ ทำทานก็ยังดี ถ้าฉลาดนะทำบุญได้ทั้งวันแหละ กุศลทำได้ทั้งวัน ไม่ฉลาดก็ ความชั่วทำได้ทั้งวันเหมือนกัน พวกเราภาวนามาถึงจุดนี้เราเห็นได้อยู่แล้วว่า จิตเรานะพลิกไปพลิกมาตลอดเวลาระหว่าง กุศล กับ อกุศล ส่วนใหญ่อะไรเกิดบ่อย อกุศลใช่ไหม มันก็เป็นไปตามความเคยชิน เป็นไปตามสิ่งที่เราฝึกมา เราก็ฝึกที่จะมีสติเรื่อยๆ ให้กุศลที่มันใหญ่ เอาชนะ อกุศล เล็กๆ น้อยๆ จนมีความเคยชินใหม่ ที่เป็นกุศลมากๆ ค่อยๆ เข้มข้นขึ้น" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน -อย่าประมาทในกุศลและอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย- วันที่ 9 กันยายน 2559 (psn590909A)

Direct download: psn590909A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:15am +07

"การใช้กายเคลื่อนไหวเป็นเครื่องสังเกต เป็นบ้าน พอมันเป็นบ้าน มันจะอยู่ตรงนี้แป๊บนึง แล้วมันจะเคลื่อนไป ถ้ามันเป็นคุก จิตก็เพ่งตรงนี้ทั้งอันเลย คือเวลาพวกเราจริงจังมากๆ พวกเราจะเพ่งกาย ไม่ก็เพ่งจิต คือบังคับใจก่อน ให้นิ่งเกินจริง ให้ใจไม่ธรรมดาก่อน เอาใจแต่งเรียบร้อย เป็นหินเล็กๆ แล้วก็เริ่มพัด มันก็ไม่รู้สึกอะไรเลย รู้หรือยังว่าเราพลาด พลาดตรงไหนได้บ้าง" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน - วิธีการดูกายเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ วันที่ 8 กันยายน 2559 (psn590908C)

Direct download: psn590908C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:08am +07

"ที่จริงเราเรียนรู้อะไรรู้ไหม เราเรียนรู้สิ่งที่เราทำผิด พอมันไม่ผิด มันถูกเอง แต่บนเส้นทางนี้ จะผิดตลอดเส้นทาง ไม่ผิดอย่างนั้น ก็ผิดอย่างนี้ แต่ว่า ความผิด ไม่ว่ามากน้อยแค่ไหน รวมอยู่ในแค่ความสุดโต่งสองด้านเท่านั้นเอง เพียงแต่ว่า วิธีการทำของแต่ละคนที่ผิด รายละเอียดไม่เหมือนกัน แต่ว่า ไม่เกินความสุดโต่งสองดานนี้ ก็เรียนรู้สิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆ อย่ากลัวผิด - ผิดแน่นอน ทำไมผิด เพราะเส้นทางนี้ไม่เคยเดินมาก่อน เราเรียนรู้สิ่งที่ผิดมากเข้าเรื่อยๆ ก็จะยิ่งเข้าใกล้ความถูกต้องเข้าเรื่อยๆ" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -ความผิดพลาดในการปฏิบัติ ไม่เกินความสุดโต่งทั้งสองด้าน- คอร์สกลุ่มธรรมทาน 8 ก.ย. 59 (psn590908B)

Direct download: psn590908B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:56pm +07

อย่าไปวางอยู่ว่า เอ๊ย จิตเราต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้ แล้วเรียกว่าภาวนาเหรอ ไม่ใช่ อะไรก็ได้ สภาวะจะเป็นยังไงก็ได้ ไม่ดีก็ได้ ขอให้มีสติ แล้วก็รู้มันไป รู้แล้วไม่ตั้งมั่นก็ได้นะ ไม่ได้ผิดกติกาอะไร รู้แล้วไม่ตั้งมั่นก็รู้ไปอย่างนั้นแหละ การฝึกรู้โดยจิตที่ไม่ตั้งมัน มันจะนำไปสู่การที่มีจิตตั้งมั่นในกาลต่อไปได้ ... เลิกดิ้นนะ

Direct download: swt591016.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:40am +07

"ในเบื้องต้น สัมมาทิฏฐิในช่วงแรก สำหรับพวกเราที่เรียน มันจะเริ่มเรียนตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิของวิธีการปฏิบัติธรรม เรียนว่า วิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ทำอย่างไร หัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร นี่คือ สัมมาทิฏฐิในเบื้องต้น ถ้าไม่ได้ตัวนี้ ยังไงก็ไม่มีโอกาสก้าวไปถึงสัมมาทิฏฐิแท้ๆ ทีแรกก็ต้องฟังแบบนี้ เรียนแบบนี้ เพื่อให้ใจมี สัมมาทิฏฐิของวิธีการปฏิบัติธรรม อย่างน้อยต้องเข้าใจว่า กรรมฐานมี ๒ แบบ อันหนึ่งคือ สมถกรรมฐานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้จิตมีความสุข มีความดี อีกอันหนึ่งคือ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำให้ใจฉลาด ฉลาดจนถึงที่สุด คือ ทิ้งรูปนามกายใจไป แล้วไม่ต้องกลับมาทนทุกข์อยู่ในวัฏฏะนี้อีก ชั่วกาลนาน" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ ฟังธรรมเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิของวิธีการปฏิบัติ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ (psn590908A)

Direct download: psn590908A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 5:54pm +07

"พระพุทธเจ้าบอกว่า กิเลสเป็นของสู้ยาก ท่านบอกว่า กิเลส ถ้าเปรียบเทียบเป็นรูปธรรม ถ้ามันใหญ่นะ มันก็ใหญ่กว่าพื้นที่จักรวาลนึง กิเลสของแต่ละคนน่ะ เพราะฉะนั้นมันสู้ยาก ครูบาอาจารย์ท่านก็เข้าใจ เพราะฉะนั้นเพวกเรา เวลาในชีวิตนะ คือเราฟังธรรมมาแล้วเราต้องรักษาศีล เราต้องทำคุณงามความดีต่างๆ มันจะมีช่วงเวลาที่เราสู้กิเลสไม่ไหว ทำล่วงศีลบ้าง ศีลด่างพร้อยบ้าง ถ้าพลาดแล้วก็พลาดเลย อย่าไปกังวลถึงมันอีก ความผิดพลาดในชีวิตมีทุกคนแหละ ไม่มีใครที่สะอาดหมดจดมาแต่แรก มีแต่ว่า มีเจตนาที่จะขัดเกลาตัวเอง พอพลาดแล้วก็ตั้งใจรักษาเอาใหม่ อย่าไปกังวลถึงของเก่าที่เคยทำมา" "กิเลสไม่ใช่ของสู้ง่าย" ฆราวาสธรรม อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมในคอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ 7 กันยายน 2559 (psn590907B)

Direct download: psn590907B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:22pm +07

"เรามีหน้าที่อดทน ฟังธรรมเรื่อยๆ ภาวนาเนืองๆ ทำให้รูปแบบสม่ำเสมอ รักษาศีล มีควาวมรู้สึกตัวเนืองๆ อย่างหลงไปยาวมาก คำว่า อย่าหลงไปยาวมาก คือ ซ้อมทำในรูปแบบ จนสติจำสภาวะของความหลงได้ หลงไปแล้วมันก็รู้สึกตัวเองขึ้นมาเองอัตโนมัติ แล้วทำไปด้วยความอดทน นี่แหละ ช่อมะม่วง มันก็กลายเป็นลูกมะม่วง ลูกมะม่วงที่เล็กๆ มันก็ค่อยๆ โตขึ้น ในที่สุดวันนึงมันก็สุก" -- "ทำเหตุดีเข้าไว้ ผลจะดีเอง" อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๙ (psn590907A)

Direct download: psn590907A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:13pm +07

"จิตแต่ละคนก็สะสมศักยภาพมาไม่เท่ากัน ภาษาพระเขาเรียกว่า มีบารมีใน ๑๐ อย่างไม่เท่ากัน เด่นคนละด้าน มันจะมาเติมในชาติปัจจุบัน แล้วมานั่งมองหน้ากัน แล้ววัดกันคนละเดือนเลย เดือนหน้าให้มันรู้ดำรู้แดงไป ตายเป็นตาย ตายแน่นอน ไม่มีทาง ตายแน่นอน เพราะทำอะไรเกินจริง เกินผิดธรรมชาติ ทำไม่ได้ ได้คือสะสม สะสมให้สม่ำเสมอ ทำไปเรื่อยๆ ใครเคยทำมาก่อน เติมเต็มมาก่อนก็เร็ว ใครช้า ทำได้น้อยกว่าเขา มันก็ช้าหน่อย ก็ต้องมาปรับให้มันแน่น ปรับฐาน สิ่งที่ทำมันสั่งสมเข้าไป ก็ปรับ อินทรีย์มันค่อยๆแก่กล้าขึ้น พื้นเบสิกมันจะแน่นขึ้น" -- ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสติกับการทำรูปแบบต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๙ (nat590903B)

Direct download: nat590903B.mp3
Category:Nat -- posted at: 10:03pm +07

"สมาธิคือความตั้งมั่น แต่ไม่ใช่การเพ่งหรือการประคองให้มันตั้ง เมื่อมันตั้งมั่นมันก็พร้อมจะรู้ พร้อมรู้แล้วก็พูดง่ายๆคือมันไม่ขี้เกียจ มันพร้อมรู้มันพร้อมทำงาน แล้วมันคล่องแคล่วในการรู้ และสิ่งที่มันรู้ก็คือ ที่พูดไปเมื่อกี้ มันรู้อยู่แค่นั้น ความเป็นไตรลักษณะเท่านั้น มันจะเข้าใจแค่ตรงนั้น สิ่งนั้นก็เป็นแค่ปรากฏการณ์ ไม่มีความคิด" -- ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ ในคอร์ส "สติกับการทำรูปแบบต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน" วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๙

Direct download: nat590903A.mp3
Category:Nat -- posted at: 5:42pm +07

"รู้ทันการกระทำกรรมของใจเนืองๆ ไม่ได้ห้ามไม่ให้มันทำ เมื่อใดก็ตามที่ห้ามไม่ให้มันทำ ขณะนั้นก็กระทำกรรมอยู่ ไปทำตามความอยากก็ทำ ห้ามไม่ให้มันทำก็ทำ - กำลังทำอยู่ กำลังห้ามมันอยู่ รู้อย่างที่มันเป็น รู้สึกมั๊ยมันคลายตัวออก ทำไมมันคลายตัวออก มันเข้าใจ มันคือจิต ไม่ใช่เรา" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว วันที่ 27 สิงหาคม 2559 (psn590827B)

Direct download: psn590827B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:10am +07

"วันหนึ่ง บารมีแก่รอบแล้ว มันคลิกเลย บารมีที่แก่รอบ ก็มาจากที่พยายามทำมาทั้งหมดนั่นแหละ เพราะฉะนั้น ไม่ทำก็ไม่ได้ แต่หลักคือไม่ทำ... หนทางเป็นอย่างนี้ ทุกครั้งทีทำ สติ สมาธิ ปัญญา จะกล้าแข็งขึ้น ทำเพื่อจะคลิกทุกครั้งว่า นี่ไม่ใช่ มันต้องภาวนาจนถึงจุดที่ว่า สม่ำเสมอยังไงก็ทำอะไรไม่ได้จริง จิตก็จะคลายตัวจากการทำมากขึ้น คือมันยอมมากขึ้น ทุกครั้งที่เราไม่ทำ คือเรายอม จนในทุกสุดใจมันยอมจริงๆ ยอมกับทุกสภาวะ ไม่ดิ้นไม่สู้ ก็อดทนรู้อย่างที่มันเป็นไป ตอนนั้นก็สบายแล้ว แล้วก็สบายชั่วคราว แล้วก็สู้อีก เป็นอย่างงี้แหละ" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -สภาวะอะไรก็ได้ รู้อย่างที่มันเป็น- วัดพระธาตุโกฏิแก้ว 27 สิงหาคม 2559

Direct download: psn590827A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:04am +07

"หลักของวิปัสนา: วิแปลว่าชัด ปัสนะแปลว่าเห็น...ไม่ได้แปลว่า ทำรู้สึกตัว  เข้าใจหลักก่อนนะคะ ในเมื่อเราจะเอาความจริง จะรู้สึกก็ได้ ไม่รู้สึกก็ได้ ทุกอย่างเป็นสภาวะนึง เพราะทั้ง 2 สภาวะนั้นต่างเป็นไตรลักษณ์ รู้สึกตัวแล้วเดี๋ยวมันก็ไหลไปอีกละ ไม่รู้สึกตัว... ทันทีที่รู้ว่าไม่รู้สึกตัว มันก็รู้สึกตัว นี่คือหลักของมัน" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ (mle590827B)

Direct download: mle590827B.mp3
Category:Malee -- posted at: 2:01pm +07

"เราไม่ต้องไปคิดว่าจะทำยังไงให้สติมันเกิด สติไม่มีเลย... ย้อนดูกายย้อนดูใจสติก็เกิดแล้วค่ะ ทันทีที่สติเกิด สิ่งที่ตามมาคืออะไรคะ - จิตตั้งมั่น" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ (mle590827A)

Direct download: mle590827A.mp3
Category:Malee -- posted at: 1:54pm +07

"อยากรู้ตัวเยอะๆ ข้อเท็จจริงคือไม่ได้ทำให้รู้สึกตัวนะคะ แค่ให้รู้ว่ามันไม่รู้สึกตัว ทันทีที่เรารู้ว่าไม่รู้สึกตัว มันก็จะรู้สึกตัวเลย"

Direct download: mle590821.mp3
Category:Malee -- posted at: 10:17pm +07

"จิตที่มาเรียนรู้ ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ทำทุกอย่างตามที่บอก คือเรียน ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ทำไปเรื่อย ไม่มีหน้าที่ทำอะไรไปมากกว่า เรียนรู้ความเป็นจริงของรูปนามกายใจอย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา ใจเป็นอย่างไรก็รู้ไป กายเป็นอย่างไรก็รู้ไป มันจะถูกกระแสของสัมมาทิฐิ พัดไปสู่พระนิพพานเอง..... มันไปเอง เรามีหน้าที่รู้กายรู้ใจไปตามธรรมชาติธรรมดา มีพระนิพพาน คือมีความสุขที่เที่ยง ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นไม่เสียดแทงอีก รออยู่ข้างหน้า แล้วไม่ต้องกลับมาทนทุกข์ในวัฏฏะนี้ตลอดไป ใครทำใครได้" -- อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ "จิตที่มีสัมมาทิฐิจะมีกระแสโน้มเอียงสู่พระนิพพาน" คอร์สรินรสธรรม 14 ส.ค. 59

Direct download: psn590814.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:41pm +07

"ธรรมะ ทำไมคนเข้าถึงได้ยาก เพราะมันทวนกระแสทางโลกที่ต้องคิด แล้วมารู้เอา แต่มันไม่ยากเกินไปหรอกสำหรับเรา คนที่มีวุฒิภาวะเยอะ มันผ่านโลกมาเยอะ มันผ่านกระบวนการที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ต่างๆ มันทำให้เรามีพฤติกรรม เข่น ชอบคิดหาคำตอบ มันเลยยากที่จะทวนเข้ามาหาใจ เพราะถ้าเราติดชอบคิดหาคำตอบเมื่อไหร่มันไปต่อไม่ได้ละ" -- สัตวแพทย์ธนุสรณ์ คอร์สรินรสธรรม 13 ส.ค. 59

Direct download: tns590813.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 11:34pm +07

"เราไม่ได้เรียนเรื่องลึกลับหรอก เราเรียนเรื่องของจริง มันเป็นวิชาหนึ่งที่ เรียนจนเข้าใจ เรียนจนจบปริญญาเอก ก็จะพ้นทุกข์ไป วิชาที่เรียนก็ไม่ลึกลับอะไร ก่อนหน้านี้ มันเป็นสิ่งที่ลึกลับมาก ไม่มีใครรู้ ไม่มีครเข้าใจว่าต้องทำยังไง ถึงจะมีโอกาสพ้นทุกข์ไป นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ไม่ลึกลับอีกแล้ว เพราะท่านค้นคว้ามาจนได้วิชานี้มา แล้วเอาวิชา มาเผยแพร่ให้เราฟัง" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ - ธรรมะไม่ใช่เรื่องลึกลับ - คอร์สรินรสธรรม 13 สิงหาคม 2559 (psn590813)

Direct download: psn590813.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:30pm +07

"อยากจะสงบ ก็บังคับจิตตัวเอง ฝืนๆ คอยบังคับ คอยทำสิ่งทุกอย่าง หาวิธี จนกระทั่งสุดท้าย ในหัวนี่หนักมาก ใครรู้สึกบ้างไหม ถ้าคนที่คอยบังคับจิตตัวเองไม่ให้คิดมากๆ เนี่ย บังคับไปๆ มันหนักเหมือนใครเอาครกหินมาใส่ไว้ในหัว ประมาณนั้นน่ะ พอมันหนักมากๆ มันเครียดมากๆ ร่างกายมันสู้ไม่ไหวมันก็จะหลับ ผมเป็นคนที่ไปนั่งตรงไหนก็จะหลับตรงนั้น เพราะความเครียดมาก แต่พอเลิกเพ่ง เลิกบังคับจิตตนเอง ปล่อยให้มันหลงแล้วรู้ๆ อาการพวกนั้นก็หายไป" -- อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา คอร์สรินรสธรรม 12 ส.ค. 59 (swt590812C)

Direct download: swt590812C.mp3
Category:Surawat -- posted at: 11:21pm +07

"ถ้าติดเพ่ง แก้ยาก อะไรที่สุดโต่งไปข้างบังคับ แก้ยาก แต่อะไรสุดโต่งไปข้างเพลิดเพลิน เผลอเพลิน กลับมามีสติง่าย เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติต้องพยายามทำตัวให้เป็นปกติธรรมดาที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ สิ่งที่จะเติมลงไปก็คือ เติมความรู้สึกลงไป เติมความรู้สึกกาย เติมความรู้สึกใจลงไป" -- อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา คอร์สรินรสธรรม วันที่ 12 ส.ค. 2559 (swt590812B)

Direct download: swt590812B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:53am +07

"เรามาเรียนธรรม เบื้องต้นต้องฝึกสติก่อน เหตุใกล้ให้เกิดสติก็คือ การจำสภาวะธรรมได้ เดี๋ยวก็กังวล เดี๋ยวก็หลงไปคิด อันนี้คือการจำสภาวะธรรม พอเห็นบ่อยๆก็จะจำสภาวะธรรมได้" -- สนทนาธรรมกับคุณหมอธนุสรณ์ ภควัมบดี คอร์สรินรสธรรม วันที่ 12 สิงหาคม 2559

Direct download: tns590812.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 12:52am +07

"จากคนที่รู้สึกตัวไม่เป็น พอฟังธรรมเรื่องหัดรู้สึกไม่นาน คนที่ไม่เคยภาวนา ถ้าไม่คิดมาก ไม่โลภ ใจเป็นธรรมชาติ ธรรมดา แป๊บเดียวจะรู้สึกตัวเป็น หลังจากรู้สึกตัวเป็น ก็จะเริ่มโลภ ก็จะกลายเป็นพวกเราวันนี้เป็นนักสร้างความรู้สึกตัว" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรินรสธรรม วันที่ 12 ส.ค. 59

Direct download: psn590812.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:28am +07

พุทธศาสนา มีคำสอนทุกระดับชั้น เหมาะสำหรับคนแต่ละกลุ่ม แต่ละภูมิธรรม ท่านก็สอนจนคนจำนวนมาก ค่อยๆ เปลี่ยนจากคนไม่มีศีลเป็นคนมีศีล ไม่เคยทำทาน รู้จักทำทาน พอมีคุณงามความดีพอสมควร จิตใจพร้อมที่จะรองรับธรรมที่สูงๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปได้ ท่านก็สอนธรรมที่สูงๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่านั้น... ภาวนาจนสูงๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่านั้น ความสุข ในสมาธิในรูปฌาน ในอรูปฌาน ก็ไมใช่กับดักที่จะทำให้จับใครไว้ในโลกได้อีก ในที่สุดก็พ้นจากวัฏฏะนี้ไป ไม่ต้องมาเวียนตาย เวียนเกิดในกรงขังของวัฏฏะนี้อีก -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ จากคอร์สรินรสธรรม วันที่ 11 ส.ค. 59

Direct download: psn590811.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:15am +07

"การเดินเส้นนี้ การวางใจนี่สำคัญที่สุดเลยนะ ที่เราเรียกว่าจิตตสิกขา ถ้าเราวางใจผิดเราเดินผิดเลย แต่ถ้าเราวางใจ เรารู้ รู้ทันใจเราน่ะ ว่าฉันอยาก รู้สึกตัวให้ชัด อยากให้มีสติอัตโนมัติ แล้วเราก็ลองดูว่ามันเป็นไง ใจมันคลายเพราะว่ารู้ทันความอยาก" -- คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ 7 สิงหาคม 2559 (mle590807B)

Direct download: mle590807B.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:10am +07

จิตนี้ ธรรมชาติคุ้นเคยกับอะไร เค้าเดินแบบนั้น เพราะงั้นเรามีหน้าที่พาเค้าคุ้นเคยกับการมีสติทีละขณะ ไม่ได้หมายความว่าต้องมีสติตลอดเวลา แล้วการทำรูปแบบ สมาธิหรือเดินจงกรมก็ตาม ไม่ได้ทำให้เกิดสตินะคะ สติเกิดเอง แต่เรามีหน้าที่รู้

Direct download: mle590807A.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:34am +07

พระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า สิ่งที่ผิดมี 2 ทาง ทางแรก คือ ทางที่หลงไปกับกิเลส เราเองก็หลงไปตามรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ ทำให้เราไม่มาดูกาย ดูใจ อีกอย่างนึงก็คือ การเพ่งไว้ การเพ่งไว้ ทำให้เราไม่สามารถรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงได้ ทำให้จิตมันแข็ง มันแน่น มันไม่สามารถเห็นกาย เห็นใจ ที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว แสดงไตรลักษณ์ได้ ดังนั้น เริ่มแรกคือแค่ฝึกการมีสติขึ้นมาก่อน รู้สิ่งที่ผิดก็คือ หลงไป หรือ เพ่งไว้

Direct download: tns590730.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 12:26am +07

"เราก็ต้องสร้างโอกาสภาวนาให้ตัวเราเองนะ เราจะไปรอให้ชีวิต ราบรื่นแล้วค่อยภาวนา รอไปเถอะ ไม่ได้ภาวนาหรอก จริงๆ เวลาที่เรามีเรื่อง มีปัญหา มีอุปสรรค มีทุกข์เยอะๆ นั่นแหละ คือ ช่วงที่เราจะภาวนาได้ดีมากๆ เวลาที่เรามีความทุกข์ใจมากๆ มันไม่ใช่เวลาที่เราจะไปนั่งทำใจให้มันมีความสุข จริงๆ เวลาที่เรามีความทุกข์ใจมากๆ ถ้าเราเอาความทุกข์ตรงนั้นมาหัดดูนะ อดทนดูกับความทุกข์ ความเศร้า ความโศกในใจ พอเราผ่านช่วงนั้นไปได้ เราจะพบว่าจิตเราจะแข็งแรงขึ้น เราจะอยู่กับโลกได้ง่ายขึ้น เพราะเราดูความทุกข์ มาจนจิตมันเริ่มยอมรับแล้วว่า มันทำอะไรไม่ได้ มันก็ต้องทุกข์อยู่อย่างนั้น จนกว่าทุกอย่างจะผ่านไป ตามวิบากที่มันให้ผล" อาจารย์สุรวัฒน์ คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้งนครสวรรค์ 30 กรกฎาคม 2559 (swt590730B)

Direct download: swt590730.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:23am +07

"หัวใจของพระพุทธศาสนา คือการเดินปัญญา สิ่งที่เรามาเรียนทั้งหมดนี้ ฝึกสติ เรียนรู้กายใจ ก็คือการเดินวิปัสสนา การเดินวิปัสสนา ก็คือ เรียนรู้รูปนามกายใจ ตามความเป็นจริง เพื่อให้เห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันยึดถือไม่ได้ สั่งไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา รูปนามกายใจนี้มันไม่ใช่ตัวเราอยู่แล้ว มันเป็นทุกข์เป็นโทษอยู่แล้ว มันไม่เที่ยงอยู่แล้ว มันเกิดดับอยู่แล้ว มันบังคับบัญขาไม่ได้อยู่มาแต่แรกอยู่แล้ว เราไม่รู้เองไม่เห็นเอง ใครจะเห็นได้ นอกจากผู้ที่ได้เคยฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พวกเราก็ได้มีโอกาสฟังธรรมะแบบนี้แล้ว มีโอกาสได้รับธรรมะที่จะนำร่องให้ใจเดินไปสู่เส้นทางของความหลุดพ้น อย่าปล่อยให้โอกาสทองนี้ เสียไปนะ ชาตินึงนะ แป๊บเดียว สั้นมากนะ ลองนึกดูสิ ลองนึกย้อนไป เรายังเป็นเด็กอยู่เลย แป๊บเดียวก็โตแล้ว แป๊บเดียวก็เรียนจบแล้ว แป๊บเดียวก็ทำงานมาสิบปีแล้ว เผลออีกแป๊บเดียวแก่แล้ว อีกแป๊บเดียวตายแล้ว เสียไปชาตินึง และชาตินี้เป็นชาติสำคัญนะ ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดมาได้เจอพระพุทธศาสนา ได้เจอแล้ว ได้ฟังธรรมะแล้ว ต้องใช้ประโยชน์สูงสุดกับโอกาส" - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ชาตินี้ขั้นต่ำต้องเป็นพระโสดาบัน - คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง นครสวรรค์ 31 กรกฎาคม 2559

Direct download: psn590731.mp3
Category:Prasan -- posted at: 7:52pm +07

"มีความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี และก็ปรารภความเพียร หลังจากนั้นก็เจริญสติไป มีสติรู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ ก็จะเป็นผู้มีศีล มีสติรู้เท่าทันจิตที่ฟุ้งซ่าน รู้เท่าทันจิตที่ไหลไป จะเป็นผู้มีสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิที่ถูกต้อง ใจพร้อมเป็นผู้รู้ ผู้ดู สติระลึกรู้ลงไปที่กาย กายก็จะแสดงไตรลักษณ์ สติรู้ลงไปที่จิต จิตก็แสดงไตรลักษณ์ เมื่อนั้นก็มีการเจริญปัญญา เพราะฉะนั้นก็มีสติ มีสมาธิ มีการเดินปัญญา ทำทุกอย่างครบ ก็จะไ้ด้ขั้นถัดไป คือจะมีความไม่เนิ่นช้าในธรรมะ" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ธรรมะเพื่อความไม่เนิ่นช้า - คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง 30 กรกฎาคม 2559 (psn590730C)

Direct download: psn590730C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 7:46pm +07

"โดยหลัก จิตมีธรรมชาติประภัสสร ประภัสสร คือ สว่าง ผ่องใส มีความสงบอยู่ในตัวเอง จิตจะเศร้าหมองทุกครั้งเมื่อกิเลสจรมา จิตจะเศร้าหมองทุกครั้ง จะมีความมัวทุกครั้ง จะไม่มีความสุข เมื่อมีราคะบ้าง มีโทสะบ้าง มีโมหะบ้าง มีความฟุ้งซ่านบ้าง มีความหดหู่บ้าง เมื่อใดก็ตามที่กิเลสจรมา เมื่อนั้นจิตจะเศร้าหมอง ความประภ้สสรของใจก็จะหายไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยากนั่งสมาธิ มีใจที่มีสมาธิ มีใจที่มีความสุข นั่งรู้สึกตัวไป โลภรู้ทัน เบื่อรู้ทัน โกรธรู้ทัน ใจฟุ้งซ่านรู้ทัน เวลารู้ทันสภาวะพวกนี้ไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่กิเลสดับ เมื่อไม่มีนิวรณ์ ใจก็ผ่องใส รู้เนื้อรู้ตัว มีสมาธิ" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - วิธีการทำสมาธิ - คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง 30 กรกฎาคม 2559 (psn590730B)

Direct download: psn590730B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 7:39pm +07

"จิตจะรู้สึกตัว จะหลงไป จะเพ่ง ทำอะไรไม่ได้เลย มันทำของมันเอง เรามีหน้าที่รู้เท่าทันมัน รู้เท่าทันว่าขณะนี้มันหลงไป ขณะนี้มันเพ่ง เวลารู้สึก ก็รู้ว่ารู้สึก แต่อยู่ดีๆ มันไม่รู้หรอก มันต้องหัดเรียนรู้สภาวะ เพ่งคืออะไร หลงคืออะไร รู้สึกคืออะไร หัดดูสภาวะของร่างกายจิตใจไปเรื่อยๆ เมื่อมันจำสภาวะนั้นๆ ได้ เมื่อสภาวะนั้นเกิด มันจะจำได้" - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ "จิตตสิกขาภาคปฏิบัติ" คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จังหวัดนครสวรรค์ วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 (psn590730A)

Direct download: psn590730A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 1:22am +07

ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยการทำอะไรก็ตาม จะอยู่ในชีวิตประจำวันหรือทำในรูปแบบหรืออะไรก็ตามมันเหมือนกันหมด มันหลักเดียวกันหมดก็คือ ให้มีสติอยู่กับกายกับใจตัวเอง อะไรก็ได้ ทำกิจกรรมอะไรก็ได้ แล้วพอมันเผลอไปคิดก็รู้ เผลอไปมองก็รู้ เผลอไปฟังก็รู้ เอาสามอย่างนี้ก็พอแล้ว เผลอไปฟัง เผลอไปมอง เผลอไปคิด รู้ขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้แต้มนึง แต่ถ้าไปเพ่งๆ บังคับจิตไว้ มันไม่ได้สักแต้มนึง ติดลบ ติดลบไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าถอยห่างมรรคผลนิพพานไปเรื่อยๆ ยิ่งเนิ่นช้า ยิ่งไกลไปเรื่อยๆ - อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา บรรยายธรรมะในคอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จังหวัดนครสวรรค์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 (swt590729C)

Direct download: swt590729C.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:16am +07

"พวกเราภาวนาไปตามปกติ ตามธรรมชาติ ธรรมดา ไม่ต้องคิดว่า อันนี้วิปัสสนา หรืออันนี้สมถะ ภาวนาไปซื่อๆ และเห็นสภาวะไปซื่อๆ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องวิเคราะห์มาก มันเป็นยังไงก็ยังงั้น จะให้มันอย่างอื่นก็ไมได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุ เป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น เป็นไปตามสิ่งที่ต้องเป็น เรามีหน้าที่ฝึก ทำกรรมฐานอย่างหนึ่ง แล้วดูจิตที่เคลื่อนไป แล้วจำไว้ให้ดีว่า การเห็นสภาวะนั้นแค่รู้สึก คำว่า *แค่รู้สึก* ไม่จำเป็นต้องรู้ชัดมาก" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล ครั้งที่ ๔ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๙

Direct download: psn590918.mp3
Category:Prasan -- posted at: 4:15pm +07

"พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า คนจำนวนมากเห็นโทษเห็นข้อห้ามของสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าไม่เป็นไร ยกตัวอย่างเช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ พวกเราไม่ค่อยเห็นทุกข์เห็นโทษของมันหรอก มันไม่ได้ฆ่าใคร อย่างน้อยก็ฟุ้งซ่าน เสียเวลาไปอีกหลาย ๆ วัน หรือหลาย ๆ ชาติก็ไม่รู้น่ะ ความชั่วอะไรก็ไม่ได้รุนแรง ครูบาอาจารย์ก็บอกว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เสียเวลา ครูบาอาจารย์ เวลาท่านเตือน ท่านผ่านโลกมาเยอะแล้ว ท่านรู้หรอกว่าอะไรทำแล้วเจริญ อะไรทำแล้วเสื่อม ท่านรู้เท่าทันเล่ห์กลอุบายของกิเลส ท่านถึงห้าม ... พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า คนจำนวนมากพอท่านบัญญัติอะไรที่ขัดเกลารุนแรงเกินไป คนเหล่านั้นเห็นทุกข์เห็นโทษของสิ่งที่ท่านห้ามว่าเหมือนเถาวัลย์เส้นเล็ก ๆ เถาวัลย์นี้ดูไม่ค่อยน่ากลัวน่ะ แต่มันมัดนกตัวเล็ก นกตัวเล็ก ๆ ถูกเถาวัลย์เส้นเล็ก ๆ นี้ มัดไว้อย่างมั่นคง เพราะไม่เชื่อ ไม่เคยคิดที่จะทำตามการขัดเกลา เห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นกตัวนี้รอวันที่จะถูกเชือด ถูกฆ่า ถูกอะไรฆ่า ถ้าเป็นนกก็ถูกนายพรานฆ่า ถ้าพวกเราก็ถูกวัฏฏะฆ่านั่นแหละ เสียเวลาไปอีกชาติหนึ่ง ท่านตรัสว่าเถาวัลย์เส้นเล็ก ๆ นี้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งเหมือนท่อนซุง เถาวัลย์เส้นเล็ก ๆ ที่ถูกดึงก็ขาด แต่ถ้าเราไม่ขัดเกลาตัวเองน่ะ เราก็เหมือนเถาวัลย์เล็ก ๆ กับนกตัวเล็ก ๆ นั่นแหละ"

Direct download: psn590724.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:00pm +07

"(การปฏิบัติ)ในรูปแบบมันจะสะท้อนการเจริญสติในชีวิตประจำวันทั้งหมด ถ้าเราทำรูปแบบที่มีเหตุทำให้รู้สึกตัวอย่างธรรมชาติ รู้อย่างที่มันเป็นได้ในชีวิตประจำวันเราก็จะดูได้อย่างธรรมชาติ แต่ถ้าในรูปแบบเราทำด้วยการบังคับอยู่ ในการเจริญสติในชีวิตประจำวันก็บังคับ แต่ให้รู้ก่อนว่ามันบังคับ เราไม่แก้" - คุณมาลี ปาละวงศ์ ถามตอบปัญหาธรรมะที่วัดสวนสันติธรรม วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 (mle590719B)

Direct download: mle590719B.mp3
Category:Malee -- posted at: 10:50pm +07

"วางใจให้ถูกก่อน วางใจว่าเราทำเพื่ออะไร เราจะทำวิปัสสนา เราไม่ได้ทำให้สงบ ผลจากการทำวิปัสสนาที่ถูกต้อง ความสงบ ความตั้งมั่นของจิตมันจะมาเอง ถ้าเรามุ่งมาสู่ว่า ต้องสงบ ต้องรู้สึกตัว ต้องมีสติ ต้องรู้ชัดๆ เยอะๆ มันจะเป็นทรงนี้หมดเลย คือ แน่น ซึม แข็ง ทื่อ สุดท้ายเป็นซอมบี้ ... เข้าใจตรงทางก่อน รู้ความเป็นจริง ท่องไว้เลย.. เห็นตามความเป็นจริง รู้อย่างที่มันเป็น" คุณมาลี ปาละวงศ์ ถามตอบปัญหาธรรมะที่วัดสวนสันติธรรม วันที่ 19 กรกฎาคม 2559

Direct download: mle590719A.mp3
Category:Malee -- posted at: 10:30pm +07

การบังคับจิต ต้องเลิกให้หมดนะ ถ้าไม่บังคับจิต แล้วเราก็นั่ง ยืน เดิน นั่งภาวนาไปสบายๆ จิตมันจะมีสติรู้กายรู้ใจได้ ชัด่ขึ้นๆ กำลังของสติมันจะ มากขึ้นๆ เมื่อไหร่ที่กำลังของสติมาก มันก็จะระลึกรู้ว่าเมื่อกี้เผลอไปได้ง่าย มันจะรู้ว่าเมื่อกี้เผลอไปได้ รู้ว่าเมื่อกี้จิตไปเพ่ง มันจะรู้ทันจิตได้ง่ายขึ้นหมดเลย เพราะฉะนั้น เราต้องฝึกแบบที่ปล่อยใจสบายๆ รู้ไปตามที่มันเป็น

Direct download: swt590729B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 10:51pm +07

วิธีการจะเอาชนะกิเลส เราอย่าใช้วิธีการไปสู้กับมัน เราต้องใช้วิธีการที่ฉลาดกว่ามัน ก็คือเราแค่นั่งดูม้น ถ้าเราแค่นั่งดูมันเฉยๆ ได้นะ เดี๋ยวกิเลสมันหดหัวไปเอง

 

Direct download: swt590729A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 10:48pm +07

"ถ้าทำวิปัสสนาคือ รู้ตามความเป็นจริง กายที่มันเป็น จิตใจที่มันเป็น ความเป็นจริงคือ มันจะรู้ตัวก็ได้ ไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ตอนนี้เราทำความรู้สึกตัวขึ้นมา ว่ามันต้องรู้สึกตัว ข้อเท็จจริงคือ เราไม่ได้ทำให้รู้สึกตัว แต่เราจะไปดูว่ามันไม่รู้สึกตัว" - สนทนาธรรมกับคุณมาลี ปาละวงศ์ วัดสวนสันติธรรม วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 B

Direct download: mle590717B.mp3
Category:Malee -- posted at: 11:31pm +07

"ยิ่งรีบยิ่งช้า เส้นนี้ การที่เรารีบนั่นหมายความว่าเราภาวนาเพื่อจะเอานะ เอานี้ผิดไหม ไม่ผิดนะ เพราะถ้าเราไม่อยากได้มรรคผล เราคงไม่ภาวนา แต่เรารู้ทันมัน รู้ทันอย่างที่มันเป็น ว่ามันอยาก รู้ว่าอยาก แล้วจากนั้นมันจะเป็นยังไงเราก็ดูไปทีละชอตที่มันเป็น" - สนทนาธรรมกับคุณมาลี ปาละวงศ์ ที่วัดสวนสันติธรรม วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 (mle590717A)

Direct download: mle590717A.mp3
Category:Malee -- posted at: 11:22pm +07

"ภพภูมิต่างๆ ไม่ว่าดีแค่ไหน มันเจือด้วยความทุกข์อยู่เสมอ พระพุทธเจ้า เห็นความจริงข้อนี้ บารมีท่านมาก ท่านเป็นองค์เดียวที่ค้นพบหนทางแห่งความหลุดพ้นออกจากวัฏฏะนี้ เราเป็นสาวก เราฟังว่าวิธีออกจากวัฏฏะนี้ทำยังไง แล้วเราก็ทำตาม เมื่อบารมีมากพอ จิตจะเข้าสมาธิของจิตเอง แล้วอริยมรรคจะเกิดในสมาธิที่เกิดเองนั้น โดยไม่ได้จงใจ หลังจากนั้นชีวิตจิตใจของเราก็จะเปลี่ยนไป ในชีวิตนี้ก็จะเกิดปรากฎการณ์แบบนี้ ในวัฏฏะนี้เกิดได้แค่สี่ครั้ง เกิดครบสี่ครั้งแล้ว เท่ากับว่า สิ่งที่เราต้องเรียน เรียนจบแล้ว ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีกตลอดไป" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน - ถ้าเข้าใจหลัก การทำสมาธิไม่ใช่เรื่องยาก - วันที่ 25 มิถุนายน 2559 (psn590625)

Direct download: psn590625.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:27pm +07

"การดูจิตเป็นวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับคนในเมือง คือคนในเมือง เป็นคนที่ เจ้าความคิด ความเห็น ชอบวิจัย ชอบวิจารณ์ สิ่งนั้นควรเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้ไม่ควรเป็นอย่างนี้ การดูจิต เหมาะกับนักคิด พวกที่คิดตลอดเวลา ท่านบอกว่า เหมาะกับการดูจิต มีศัพท์เฉพาะว่า ทิฐิจริต วิธีการปฏิบัติในการดูจิต มันง่ายมากจนพวกเรานึกไม่ถึง คือไม่ต้องดัดแปลงกาย ไม่ต้องดัดแปลงกาย แค่มีความตั้งใจนิดหน่อยว่า ทุกครั้งที่กระทบอารมณ์สัมผัสทางทวารทั้ง 6 แล้ว ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นที่จิต เราจะคอยตามรู้" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน - การดูจิตเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน - วันที่ 24 มิถุนายน 2559 (psn590624B)

Direct download: psn590624B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:21pm +07

"ผลกรรมจากการรบกวนผู้อื่น มีอยู่จริง วันไหนที่กำลังภาวนา จิตกำลังได้มรรคได้ผล อาจมีคนมากวน วันไหนกำลังทำสมาธิ กำลังจะได้ฌานได้ เดี๋ยวมีคนมากวน ดังนั้น ทุกสิ่งที่ทำ วันหนึ่งต้องรับ... ดังนั้น เวลาเราเห็นคนอื่นทำความชั่วก็ไม่รู้สึกว่า โกรธ หรือ เกลียด เค้า คือมันมีความรู้สึกว่า คนที่ไม่รู้ มันน่าสงสาร เพราะวันหนึ่ง ต้องรับผลที่ทำ อะไรที่ทำแล้ว จะมีผลทำให้รับทุกข์รับโทษ พวกเราก็อย่าทำ" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - กฏแห่งกรรม - ประเทศจีน วันที่ 24 มิถุนายน 2559 A

Direct download: psn590624A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 7:38am +07

"พระพุทธเจ้าสอนว่า จิตไม่เที่ยง ถ้าภาวนาแล้วจิตเราเที่ยง ก็ผิดแล้ว จิตผู้รู้ก็ต้องเกิดแล้วก็ดับ ถ้าจิตผู้รู้ไม่ดับ มีความรู้สึกตัวตลอดเวลา อันนี้ก็ผิดแล้ว ท่านสอนว่า ภาวนานะจะเห็นความทุกข์ในโลก เห็นความไร้สาระ ไร้แก่นสารในโลก ถ้าเราภาวนไปแล้วมีแต่สุข สุขตลอดเวลา ทั้งวันทั้งเดือนทั้งปีก็มีแต่ความสุข ก็ผิดแล้ว เราก็เทียบเคียงตัวเองนี้ กับคำสอนของพระพุทธเจ้า" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ลักษณะของจิตที่เดินปัญญาถูกต้อง - ประเทศจีน วันที่ 20 มิถุนายน 2559

Direct download: psn590620.mp3
Category:Prasan -- posted at: 7:30am +07

"อย่าพยายามบังคับจิตไม่ให้คิดนะ มันผิดนะ ยิ่งพยายามจะทำให้ไม่คิด มันจะยิ่งกลายเป็นกดข่มบังคับจิตตัวเอง ให้มันคิดไปสบายๆ แล้วเราก็รู้ทันมันไป คิดก็รู้ทัน คิดก็รู้ทัน คิดเรื่องนี้กังวลรู้ว่ากังวล คิดเรื่องนี้มีความสุขรู้ว่ามีความสุข แต่เรื่องมีความสุขมันคิดไม่ค่อยนาน มันจะคิดเรื่องที่มีความทุกข์นาน พอคิดแล้วปุ๊บมีความไม่สบายใจรู้ว่าไม่สบายใจ เราพลิกไปดูอีกมุมนึงด้วย ดูความรู้สึกที่เกิดกับความคิดอันนั้นว่ามันเป็นยังไง แล้วสติปัญญามันจะพัฒนาขึ้นได้เรื่อยๆ" อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา - สนทนาธรรมตามกาล ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล - วันที่ 21 สิงหาคม 2559

Direct download: swt590821.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

"พุทโธแล้วเพ่ง ก็ให้รู้ว่าเพ่ง ดูอย่างไรว่าเพ่ง ดูอาการของใจ เมื่อมีการบริกรรม ก็ต้องมีการเพ่ง ไม่เพ่งก็บริกรรมไม่ได้ แต่ให้รู้ว่าเพ่ง แต่เพ่งอย่างไร เพ่งให้น้อยที่สุด เพ่งแค่ที่เราสบาย เพ่งแค่ให้ใจไม่ฟ้งซ่าน หลังจากนั้น ปล่อยให้มันทำเอง เราดูอย่างเดียว การเผลอ เผลอเอง จิตที่สงบมากกว่านี้ เป็นของมันเอง ทุกอย่างเป็นเองหมด ที่ให้ทำ มีอยู่แค่นี้ คือ บริกรรม และ อาการของการเพ่ง การจดจ้อง มากกว่านี้เป็นหน้าที่ของเค้าเอง ไม่เกี่ยวกับเรา เรามีเจตนาให้เกิดแค่ 2 อย่าง ถ้าระหว่างนี้ถูก มันจะไปถูกเอง" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ สนทนาธรรมที่บ้านจิตสบาย วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 (nat590709A)

Direct download: nat590709A.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

"ดูสิ่งที่ตรงข้ามกับความรู้สึก สิ่งที่ไม่เป็นกลาง ความเป็นกลางจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเมื่อไหร่จะเอาเป็นกลาง ก็จะหลุดจากความเป็นกลางทันที เพราะมันไม่มีความพอดี "มี" เพราะ"รู้" ความไม่พอดี ทำให้พอดีไม่ได้" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ สนทนาธรรมที่บ้านจิตสบาย 9 กรกฎาคม 2559

Direct download: nat590709B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

"ถ้ามีเมตตานะ ขณะนั้นจิตจะเป็นบุญ เมื่อใดก็ตามที่จิตมีเมตตานะ ขณะนั้นพลังงานไม่ดีทำอะไรเราไม่ได้ เพราะจิตทีมีเมตตา จะมีความสุขเจืออยู่ จิตที่เมตตา มีสมาธิ เมตตานะ พระพุทธเจ้าบอกว่า เจริญแล้วนะ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ตายด้วยยาพิษ ไม่ตายด้วยอาวุธ เวลาตาย ก็จะตายอย่างมีสติ" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ ถามตอบปัญหาธรรมะในคอร์สประเทศจีน 19 มิถุนายน 2559 (psn590619C)

Direct download: psn590619C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:09pm +07

"วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ใจมีความสุข มีความดี มีความร่มเย็น วัตถุประสงค์ของ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นไปเพื่อให้ใจมีความฉลาด ฉลาดจนในที่สุด พ้นออกจากความไม่เที่ยงของโลกไปได้ ฉลาดจนในที่สุด ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีกตลอดไป นี่เป็นวัตถุประสงค์ของ พระพุทธศาสนา วิปัสสนากรรมฐาน เราไม่ต้องการให้ใจ ดี วันนี้ วิปัสสนากรรมฐาน เราต้องการความพ้นทุกข์สิ้นเชิง เมื่อถึงวันนั้นนะ ใจมันดีเอง ในสงบเอง ร่มเย็นเอง สะอาดเอง อันนั้นเป็นผลพลอยได้" - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ ที่คอร์สประเทศจีน 19 มิถุนายน 2559 (psn590619B)

Direct download: psn590619B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 9:42pm +07

"ทางสายกลาง คือ ทางที่ไม่สุดโต่งไปในความผิดสองด้าน ขณะใดก็ตามนะที่ใจที่ตัวเรา ปล่อยใจเพลิดเพลิน ให้หลงไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีความรู้สึกตัว ลืมกาย ลืมใจ ตัวเอง ขณะนั้น กำลังทำผิดอันที่หนึ่ง ไม่เข้าทางสายกลาง เมื่อใดก็ตามที่เราเพ่ง บังคับร่างกาย และจิตใจ เมื่อนั้นใจก็ไปจดจ่อ อยู่ในร่างกาย อยู่ในจิตใจ ไม่มีสติ ไม่มีความรู้สึกตัว ไม่มีความตื่นขึ้นมา เมื่อนั้น ก็ผิด ทางด้านสุดโต่งทางด้านบังคับ ไม่เข้าสู่ทางสายกลาง" - อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน วันที่ 19 มิถุนายน 2559 (psn590619A)

Direct download: psn590619A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 9:32pm +07

"เราเดินคนละทาง แต่เดินไปทิศทางเดียวกัน คือเป็นไปเพื่อความมีศีล เป็นไปเพื่อความมีสติ เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ เป็นไปเพื่อความมีปัญญา เป็นไปเพื่อความขัดเกลากิเลสในใจตน แต่ทั้งหมดนี้ ยังไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของพระศาสนา ทั้งหมดเป็นบันได เป้าหมายสูงสุดของพระศาสนาคือ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง ดังนั้น บุคคลใดที่ภาวนาเพียงเพื่อให้เป็นผู้มีศีล ยังไม่ได้แก่นสารสาระของการปฏิบัติ คนไหนที่ภาวนาเพื่อให้จิตนี้มีสมาธิ ยังไม่ได้แก่นสารสาระของพระพุทธศาสนา คนไหนก็ตามที่ภาวนาเพื่อให้ได้ปัญญา ยังไม่ได้แก่นสารสาระของพระพุทธศาสนา วัตถุประสงค์ของพระศาสนามีสิ่งเดียวเท่านั้น คือนำสัตว์โลกให้ออกจากกรงขังของวัฏฏะหรือห่วงทุกข์นี้" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ถ้าปฏิบัติธรรมเพื่อความมีศีล สมาธิ และปัญญา ยังไม่ได้แก่นสารสาระของการปฏิบัติ - ประเทศจีน 14 มิ.ย. 59 (psn590614)

Direct download: psn590614.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:04am +07

"ธรรมะแท้ๆของพระพุทธเจ้า นานๆเกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่ง พอธรรมะนี้หมดไป จะเหลือแต่ธรรมะที่ "ต้องทำ"เสมอ พวกเราเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะนี้มานานมาก เรียนธรรมะก็เรียนแต่ธรรมะที่ "ต้องทำ"เสมอ เป็นความคุ้นชินมากที่เราจะ "ต้องทำ" พอนึกถึงการภาวนา จะ -ต้องทำ- อะไรเสมอ อันนี้เป็นธรรมดา... เราเรียนรู้สิ่งที่ผิด ไม่พยายามทำสิ่งที่ถูก สิ่งที่ถูกเจตนาทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผิดแน่นอน อย่ากลัวผิด ขณะที่ถูกที่สุด คือ ขณะที่ได้มรรคผล แต่ว่าจะเข้าใกล้ความถูกต้องมากขึ้นเอง เมื่อเราเรียนรู้สิ่งที่ผิด" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ถามตอบปัญหาธรรมะ ประเทศจีน (psn590613C)

Direct download: psn590613C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:19pm +07

มีหลักของธรรมะข้อหนึ่งคือ เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นกิเลสจะดับ เมื่อใดก็ตามที่ใจฟุ้งซ่าน ใจเคลื่อนไป ใจวิ่งไป มีสติรู้ทันนะเมื่อนั้น กิเลสคือความฟุ้งซ่าน ความวิ่งไปเนี่ย มันจะดับ เมื่อความฟุ้งซ่านดับ สมาธิก็เกิดขึ้นอัตโนมัติ ไม่ได้ทำให้สมาธิเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันจิตที่เคลื่อน เมื่อจิตที่เคลื่อนดับ สมาธิเกิดเอง - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน 13 มิถุนายน 2559

Direct download: psn590613B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:50pm +07

"เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จนเข้าใจแจ่มแจ้งว่า มืดหรือสว่างเกิดแล้วก็ดับ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ตกอยู่ใต้อำนาจของไตรลักษณ์ เรียนธรรมะที่เป็นคู่ เพื่อจะเห็นความจริงว่า ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงหยาบปรุงละเอียด ก็เกิดแล้วก็ดับ บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นไตรลักษณ์ เรียนเพื่อให้เข้าใจว่า ธรรมะที่ใกล้ ธรรมะที่ไกล เกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นไตรลักษณ์ เมื่อเรียนธรรมคู่มากพอ จนเข้าใจแจ่มแจ้ง จนถึงที่สุดแล้ว ก็จะถึงธรรมหนึ่งคือพระนิพพาน" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - ธรรมเพื่อความพ้นโลก - คอร์สประเทศจีน

Direct download: psn590613A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:12pm +07

"เราต้องฝึกรู้ไปเรื่อย รู้ไปอีก จนกระทั้งมันเข้ามาเห็นว่า ขันท์ห้า เป็นตัวทุกข์ เมื่อไหร่ที่มันเห็นจนกระทั้ง มันยอมทิ้งจริงๆ นั่นแหละ มันถึงจะพ้นทุกข์จริงๆ แต่ตอนนี้เราแค่ทิ้งอาการของมัน เหมือนกับรู้สึกว่าในแก้ว มีของสกปรกอยู่ เราไปเทของสกปรกทิ้ง แล้วเราก็กอดแก้วเอาไว้ แล้ววันหนึ่งไม่รู้ ใครเอาของสกปรกมาเติมอีก ก็เติมได้อีก ถูกมั้ย แต่ถ้าเราปฏิบัติ จนกระทั้งรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ละสมุหทัยได้จริง มันทิ้ง มันไม่ใช่แต่ทิ้งของในแก้ว มันทิ้งทั้งแก้ว ใครก็เอาอะไรมาใส่ไม่ได้แล้ว" อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา บ้านจิตสบาย 11 มิถุนายน 2559

Direct download: swt590611.mp3
Category:Surawat -- posted at: 1:15am +07

"วันที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ความรู้ที่ใจจะสรุปคือ สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ ทุกสิ่งบังคับบัญชาไม่ได้ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา จิตใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ไม่ใช่เรา ไม่มีเราที่ไหนอีก มีแต่ขันธ์ ๕ ทำงาน หมุนเวียน เปลี่ยนไป ตามเหตุ ตามปัจจัย" อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน - พระโสดาบันเห็นอะไร - วันที่ 9 มิถุนายน 2559

Direct download: psn590609.mp3
Category:Prasan -- posted at: 1:09am +07

"เราต้องฉลาดที่จะเลือกว่า เราจะดำรงชีวิตแบบไหน ถ้าเรากล้าวางโทรศัพท์ เนื้อหาที่เพื่อนเราส่งมา หรือข้อความที่ส่งมา เราต้องอ่านเดี๋ยวนี้หรือ? ถ้าเราไม่อ่าน จริงๆ วันรุ่งขึ้นหรือวันถัดมา ข้อความที่ส่งก็ไม่ได้มีสาระอะไรเลย เราก็เลือกว่า อะไรมีประโยชน์ อะไรมีสาระ ไม่ได้ห้าม เพราะทุกคนก็ใช้ แต่ต้องเข้าใจเบื้องหลังของมัน สิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์จำนวนมาก ทำหน้าที่ สนองความสุขทางกาม คืออยากเห็นรูปที่ดี อยากได้ยินเสียงที่ดี อยากอ่านเรื่องที่ถูกใจ ใจจะได้มีความสุข ความสุขพวกนี้ แป๊บเดียวก็ดับไป เดี๋ยวก็ต้องดูอีก ต้องดูอันใหม่ ต้องดูเรื่องใหม่ ใจมันหิวไม่เลิก ให้ไปฝึกเอา วันละนิดๆ พอเห็นโทษ จะกล้าวางเป็นช่วงๆ ใจจะมีสมาธิมากชึ้น เพราะเราลดเหตุ ที่จะทำให้เกิดศัตรูของสมาธิ" - อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ ถามตอบธรรมะที่ประเทศจีน วันที่ 8 มิถุนายน 2559 (psn590608C)

Direct download: psn590608C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:12am +07

หัวใจของสมาธิ คือ ใจต้องมีความสุข อารมณ์อะไรก็ตาม ที่ทำให้ใจมีความสุข ใจก็จะคลอเคลียกับอารมณ์นั้น เราต้องจำหลักให้แม่นว่า "ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ" ถ้าเรารู้แบบนี่ ถ้าใจเราฟุ้งซ่าน เพราะใจวิ่งไปแสวงหาความสุข งั้นถ้าเราอยากให้ใจมีสมาธิ เราก็หาสิ่งที่ทำให้ใจมีความสุขมาป้อนให้มัน - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน วันที่ 8 มิถุนายน 2559 (psn590608B)

Direct download: psn590608B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:06am +07

"เมื่อเราจะศึกษาธรรมะ เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะเรียนอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร ไม่ใช่เริ่มต้นก็ หัดนั่งสมาธิเลย เริ่มต้นก็ดูเวทนาเลย เริ่มต้นก็เดินเลย อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องรู้ก่อนว่า คำสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง มันมีเรื่องจริต มันมีเรื่องวิธีการดู ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้ การภาวนาของเราทุกคนจะง่ายมาก เพราะเราไม่ต้องไปงมเข็มในมหาสมุทร" - คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ บรรยายธรรมะที่ประเทศจีน 8 มิถุนายน 2559 (psn590608A)

Direct download: psn590608A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:03am +07

ถ้าอยากจะฝึกสติ กลับมารู้สึกอยู่ที่กายที่ใจตัวเองเตือนตัวเองเท่านั้น ต้องเตือนตัวเองว่าให้กลับมา รู้สึกอยู่ที่กายใจ แต่การกลับมารู้สึกอยู่ที่กายที่ใจตัวเอง มันไม่ใช่การกลับมารู้เรื่องราวของตัวเองนะ มันต่างกัน อย่างเรานั่งอยู่ตรงนี้ รู้สึกไหมว่ามีร่างกายนั่งอยู่ แค่นี้จบแล้ว รู้กายละ นั่งอยู่ตรงนี้ รู้สึกไหมว่าเบื่อแล้ว ฟังแล้วเบื่อไม่รู้พูดอะไร แค่รู้ว่าเบื่อ นี่กลับมารู้ใจตัวเองละ มันง่ายๆแค่นี้ แต่พวกเราชอบไปทำให้ยาก

Direct download: swt590605.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

รู้สึกลูกเดียว คำว่ารู้ คือความรู้สึก จำไว้นะ แค่รู้สึก รู้สึกเท่าน้ัน

Direct download: nat590605.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

หลักการคือ สิ่งที่เราจะไปรู้ อย่าเพ่ง แล้วไม่เพ่งจะสงบหรือ สงบได้สิ เพราะเราอยู่กับสิ่งที่เป็นอารมณ์เดียวอยู่ตลอดเวลา แต่ใจที่ไปอยู่อย่าเพ่ง ใจเพ่งก็ได้เพ่ง ใจรู้สึกก็ได้รู้สึก เพราะใจรู้สึกจะพลิกไปเป็นใจรู้ตื่นเบิกบานได้ ถ้าเพ่งก็จะกดอยู่อย่างนั้น ก็ต้องมาแก้ ว่าทำไงให้มารู้ตื่นเบิกบาน ถ้าเพ่งมากก็พลิกยาก ต้องมาพิจารณา ใช้ความคิดให้ลงสู่ไตรลักษณ์ ต้องใช้เวลามหาศาล เพื่อให้ใจที่เพ่งพลิกเป็นใจผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานขึ้นมา แต่เราไม่มีเวลาขนาดนั้น เพราะงั้นให้เรารู้สึก เอาความรู้สึกไปสัมผัส จิตจะเคลื่อนไหว มันจะไม่อยู่ตรงนี้ตลอดเวลา แต่อยู่แล้วจะแฉลบออกไปเผลอ หน้าที่เราคือ รู้ว่ามันเผลอไป แล้วมีเจตนามารู้ใหม่ ถามว่ามีเจตนามั้ย มีเจตนา แต่เจตนาให้น้อยที่สุด น้อยแค่รู้สึก มีการน้อมจิตเล็กน้อยไปแค่รู้สึก เพราะมันต้องมีเจตนาทำ แต่เมื่อสุดท้าย สติที่แท้จริงเกิด มันจะพ้นเจตนา แล้วความรู้สึกที่แท้จริงจะออกมา - ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ - หลักสูตร "รู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง" จ.กระบี่ (nat590604)

Direct download: nat590604.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:57am +07

รู้ว่าหลง รู้ว่าเผลอ แว้บหนึ่ง สติเกิด ตรงนั้น แค่ช่วงสั้นๆ แว้บเดียวที่รู้ว่าหลงไปตอนนั้น มันมีทั้งศีล ทั้งสมาธิ และได้เจริญปัญญาอัตโนมัติเลย เพราะแว้บตรงน้้น มันจะเห็นชัดถึงการเปลี่ยนแปลง ของจิตที่ "หลง" กับจิตที่ "รู้" ตรงนี้คือการเดินปัญญาอัตโนมัติ

Direct download: swt590604.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:54am +07

"เราต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองนะว่า เรามีจิตตั้งมั่นได้บ่อยไหม เราดูสภาวะแล้วเราเป็นกลางได้ไหม แต่ไม่ได้แปลว่า ต้องทำตัวให้เป็นกลางนะ การปฏิบัติธรรม เราจะไม่ทำโน่นทำนี่อะไรขึ้นมาเลยแม้แต่นิดเดียว สิ่งที่เราจะปฏิบัติก็คือ เราจะต้องมีสติ แล้วก็รู้สภาวะธรรมนั้นตามความเป็นจริง แรกๆ อาจจะยังไม่เห็นความเป็นจริง แต่ว่าเราดูมันที่มันเป็นอยู่นั่นแหละ ดูไปตามที่มันเป็นอยู่ หัดดูไปเรื่อยๆ จิตก็จะค่อยๆ มีกำลังตั้งมั่นขึ้นมา พอตั้งมั่นขึ้นมาแล้วก็หัดดูบ่อยๆ เราก็จะเห็นความชอบ ความไม่ชอบ ความเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งของจิตเรา ซึ่งมันมีลักษณะของความไม่เป็นกลาง แค่เห็นว่ามันไม่เป็นกลาง แค่เห็นว่ามันชอบ ไม่ชอบ ต่อไปมันจะพัฒนาไปสู่ความเป็นกลางของมันได้เอง"

Direct download: swt590603.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:52am +07

"การดูไตรลักษณ์ คือจิตมันจะดูเอง ไม่ใช่ว่าเราไปเจตนาดูไตรลักษณ์นะ ไตรลักษณ์นี่เจตนาดูก็ไม่ได้นะ ถ้าเรายังเจตนาดูไตรลักษณ์ มันยังไม่เห็นไตรลักษณ์จริงหรอก สิ่งที่เราจะต้องดู คือดูสภาวะที่กำลังปรากฎ ดูไปเรื่อยๆ" สนทนาธรรมกับอาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ที่โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

Direct download: swt590626.mp3
Category:Surawat -- posted at: 4:09am +07

"เราฝึกเพื่อที่จะให้เข้าใจว่า ความคิดนึกปรุงแต่งทั้งหลาย มันมีเหตุก็เกิด ไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิด มีเหตุให้เกิดแล้ว หมดเหตุมันก็ดับ ดับแล้วมันมีเหตุใหม่เข้ามามันก็เกิดใหม่อีก เกิดดับ เกิดดับ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่เราจะไม่ไปยุ่งกับมัน คล้ายๆ เราจะไม่เป็นทุกข์กับมัน อย่างเช่น เรานั่งสมาธิแล้วไม่สงบอย่างที่เราต้องการ เราจะเป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะว่าเราอยากให้มันสงบ เราดิ้นรนจะให้มันสงบ มันก็จะกลายเป็นว่าเราสร้างความทุกข์ขึ้นมาใส่ตัวเอง เพราะฉะนั้นเรามาหัดรู้ความจริงของมัน" สนทนาธรรมกับอาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ที่บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙

Direct download: swt590514.mp3
Category:Surawat -- posted at: 4:05am +07

การวาง จะเกิดตั้งแต่การทำสติ ซึ่งทำให้เกิดตัวสมาธิ ตัวสมาธิ ก็คือการปล่อยวางอย่างหนึ่ง วางการยึดอารมณ์ แม้แต่ความสงบ ถ้ายังยึดความสงบ มันก็จะกลายเป็นสมถะ คือการติดยึดอารมณ์ ถ้ามีปัญญา รู้จักวางอารมณ์แม้แต่ความสงบ จิตก็จะหลุดเป็นผู้รู้ เป็นภาวะรู้สึก จะเกิดเป็นตัวสมาธิ เป็นความตั้งมั่น ความตั้งมั่น มันก็ตั้งอยู่ที่จิต มันทำของมันเอง เพราะมันเข้าใจว่า การไปยึดความสงบ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ มันก็ถอยมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู มีความรู้สึก

Direct download: nat590702A.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

ถ้าอาจารย์พยายามช่วยเราเต็มที่ ใช้ฤทธิ์ ใช้เทคนิคต่างๆ มาปรับเรา มันช่วยได้เหมือนกัน - ช่วยได้เฉพาะตอนนี้ ตอนที่เราอยู่ต่อหน้าอาจารย์ พ้นจากอาจารย์คุณก็เข้าสู่ล็อคเดิม เพราะบารมีคุณยังไม่ถึงที่จะเดินตรงนี้ ... เราภาวนาไปก็ล้มลุกคลุกคลานบ้าง ถอยบ้าง เสื่อมบ้าง เจริญบ้าง ทำผิดอย่างนั้นผิดอย่างนี้.. ก็ตั้งใจเอาใหม่ มันก็พัฒนาขึ้นมา

Direct download: psn590703.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:00pm +07

ทำสิ่งที่ดีไว้ สักวันนึงผลมันก็ต้องดี ในสิ่งที่เราทำผลดีอันนั้นก็ต้องตอบแทนมา อันนี้เป็นเรื่องของการให้ผล ของการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เรื่องของกรรม เราก็ภาวนาของเราไป ใจเป็นยังไง รู้ ดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ รู้ ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก อะไรปรากฎขึ้นที่เป็นปัจจุบัน ให้หัดรู้ไปให้หมดเลย รู้ด้วยใจที่สบายๆ แบบเล่นเกม

Direct download: swt590702.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

ถ้าจิตจำสภาวะการเผลอได้บ่อย ความรู้สึกตัวก็จะเกิด จากภาวะที่รู้สึกสัมผัส และจะกลายเป็นภาวะของความรู้สึกที่แท้จริง หรือความตื่นขึ้นมา หรือในบางกรณี ถ้าจิตสงบแล้ว มีการเพ่งความสงบลงไป จิตที่รู้สึก ก็ย่อมมีความแตกต่างจากจิตที่เพ่ง เมื่อมีการรู้เปรียบเทียบ จนมีความสงบเต็มที่ จิตที่สงบจะดับ กระแสความรู้สึกจะย้อนขึ้นมา เกิดภาวะของจิตอันใหม่ มีภาวะของความรู้สึกตื่นตัวขึ้นมา มีภาวะของความรู้ชัดขึ้นมา เข้าสู่สมาธิถึงฐานถึงจิต

Direct download: nat590702B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

ทำยังไงให้เราจะอยู่ในเส้นทางของการรู้กายรู้ใจได้ โดยที่ไม่ทิ้งมันไป ไม่เลิกมันไป เราก็ต้องอาศัยการฟังธรรมบ่อยๆ ต้องอาศัยการคลุกคลีอยู่กับธรรมะบ่อยๆ แต่ไม่ใช่คลุกคลีจนกระทั่งกลายเป็นฟุ้งซ่านในธรรม อันนี้ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องพาตัวเองมาอยู่กับอะไรที่กุศลไว้ อย่าพาตัวเองไปอยู่กับอะไรที่เป็นอกุศล อย่างที่อโคจรทั้งหลายเนี่ย ไม่ควรจะไป

Direct download: swt590701A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

 

การเห็นกามราคะ ยังไม่เป็นวิปัสสนา จนกว่าจะเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาแว้บหนึ่ง อาจจะยังไม่ทันเกิดมรรคผลก็ได้ เห็นซ้ำอีก จนจิตฉลาดหรือจิตเชื่อ พอถึงตรงนี้เราจะรู้สึกเลยว่า ตลอดระยะเส้นทาง หรือระยะเวลาที่เราฝึก จิตจะอยู่กับสมถะเป็นพื้น นานๆ จะมีวิปัสสนาขึ้นมา

Direct download: swt590701B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

พอมีสติขึ้นมา ถ้ามีสติที่ถูกตัองจริง ขณะที่แว้บเกิดสติขึ้นมา จิตตั้งมั่นเรียบร้อยแล้ว พอจิตตั้งมั่นแว้บนึงตรงนั้น จิตที่มีความตั้งมั่นแล้วก็มีสติย้อนมารู้กายรู้ใจตัวเอง มันก็จะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ แค่นี้ เรียนแค่นี้พอ

Direct download: swt590610.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม อย่าบังคับจิตตัวเอง ถ้าเสียใจอยากร้องไห้ ร้องเลย แต่ให้มีสติ ค่อยๆระลึก ค่อยๆรู้สึกตัวว่า ตัวเองกำลังร้องไห้ แล้วมันจะหายเอง เพราะว่าอะไร เพราะว่าถ้าเรารู้สึกว่าตัวเองกำลังร้องไห้เมื่อไหร่เนี่ย แสดงว่า เราเริ่มกลับมามีสติแล้วนะ

Direct download: swt590624.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:00pm +07

เวลาที่เราปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เราต้องขึ้นวิปัสสนากรรมฐานให้ได้ วิ แปลว่าแจ้งชัด ปัสนะ แปลว่าเห็น วิเห็นอย่างที่มันเป็นนั่นแหละ เพราะอะไรอย่างมันเป็นมันเกิดแล้วมันก็ดับ.. ดูมันตรงๆเลย ชอบรู้ว่าชอบ ไม่ชอบรู้ว่าไม่ชอบ ไม่ต้องเสแสร้ง ไม่ต้องปฎิเสธ สภาวะรู้อย่างที่เค้าเป็น พอมันรู้แล้ว มันก็ดับ เราก็เห็น เกิดดับเสร็จแล้ว

Direct download: mle590625B.mp3
Category:Malee -- posted at: 11:20pm +07

ทั้งสายเลยจริงๆ รู้กายรู้ใจแค่นี้แหละ ไม่ได้ทำอะไรมากกว่านี้เลย เพียงแต่จิตนี้มันจะพัฒนาตามภูมิรู้ ความเข้าใจ ของเรา พร้อมกับบารมีที่เราค่อยๆ สั่งสมมาเรื่อยๆ จนมันเต็มขั้นเต็มภูมิแล้วมันจะเดินของมันเอง

Direct download: mle590625A.mp3
Category:Malee -- posted at: 11:17pm +07

"คำว่า ปัญญา คือเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ไม่ได้ว่าหยาบหรือละเอียด กำลังสมาธิน้อยเป็นขณิกกะ อารมณ์ที่เห็นอาจเป็นอารมณ์ที่หยาบ แต่หยาบมันก็เกิดดับนะ อารมณ์ละเอียดก็เกิดดับ มันเลือกไม่ได้ว่าคนนี้จะภาวนาเพื่อจะให้เห็นความละเอียดหรือว่าเห็นความหยาบ สาระสำคัญคือเมื่อมันแสดงตัวแล้ว มันแสดงไตรลักษณ์ให้เราดูหรือเปล่า ค่าเท่ากัน" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บรรยายธรรมะในคอร์สจีน วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 (nat590514B)

Direct download: nat590514B.mp3
Category:Nat -- posted at: 2:10pm +07

"ถ้าเราเอาใจมารู้อารมณ์เดียวด้วยความรู้สึก กำลังของความรู้สึกจะแก่กล้าขึ้น เกิดเป็นภาวะ จิตผู้รู้ พูดง่ายๆ ก็คือความรู้สึกตัวที่มีกำลัง สิ่งที่เห็นไม่ชัดก็จะเห็นได้ชัด ภาวะของความเป็นไตรลักษณ์ของรูปและนามจะเห็นได้ชัด การแยกรูปนามก็จะแยกได้ชัดเจน" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บรรยายธรรมะในคอร์สจีน วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 (nat590514A)

Direct download: nat590514A.mp3
Category:Nat -- posted at: 1:59pm +07