ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"ที่นี่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการสอนพวกเราว่า เริ่มต้นให้เดินจงกรม ให้ทำสมาธิ ที่จริง การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การขยับมือ การดูท้องพองยุบ เป็นเปลือกของวิธีการปฏิบัติเท่านั้นเอง คือเราไม่ได้เน้นสอนเปลือกนะ เปลือกนี้เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล ในจริตนิสัยต่างๆกัน เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจแล้ว ในสำนักนี้ 20-30 คน ก็มีเปลือกในวิธีการปฏิบัติ ไม่เหมือนกัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601229.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ทุกคนอยากหมด แต่สำคัญคือเรารู้ว่าอยาก เมื่อเรารู้ว่าอยาก มันจะลดการกระทำหมด ความอยากมันสร้างสิ่งต่างๆมากมาย ทำให้เราช้า ถ้าเรารู้ไม่ทันตัวนี้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 ภูเก็ต วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600924.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"บางครั้งเราก็ดัดแปลงให้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ พอเป็นอย่างใจเราก็มีความสุข พอไม่เป็นอย่างใจ เราก็ทุกข์ จิตใจร่างกายเปลี่ยนไปอย่างไร เราค่อยๆรู้ทันเอา รู้อย่างที่มันเป็น ไม่ต้องให้มันดี ให้มันสุข ให้มันสงบ เมื่อไหร่ที่เราต้องการให้มันสุข ให้มันสงบ เราก็พลาดแล้ว" --หมอม่อน คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: tns601231.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"ร่างกายเป็นของเสื่อม ความแข็งแรง ความสวยงาม ไม่เคยคงทน วันหนึ่งต้องแก่ วันหนึ่งต้องเจ็บ วันหนึ่งต้องตาย ชื่อเสียงก็ไม่คงทน เราจะแสวงหาความสุข จากเรื่องต่างๆ หาเงิน หรือว่าอะไร ในชาตินี้ก็ทำไป แต่ว่าอย่าใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตเพื่อสิ่งนี้ เจียดเวลา ส่วนหนึ่งมาทำสิ่งที่มีค่าอันหนึ่งคือ มาเรียนรู้ตัวเองเรื่อยๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601209B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พวกเรากลับไปบ้าน ไปจัดสรรเวลาของเราในชีวิตว่า เวลาไหน ควรจะทำมาหากิน เวลาไหน ควรจะพักผ่อน เวลาไหน ที่เราควรจะแบ่งเวลามาภาวนา คือถ้าเราไม่จัดการชีวิตของเรา เราแค่เข้าใจหลักการภาวนา แล้วเราคิดว่า เราจะเรียนรู้เอาในชีวิตประจำวันของเรานี้ มันไม่พอ การที่เราแบ่งเวลาไว้ ทำงานส่วนนึง พักผ่อนให้พอส่วนนึง พักผ่อนไม่พอ เราก็ภาวนายาก ใครนอนหลับไม่พอ มันไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ กำลังมันไม่พอ พักให้พอ แบ่งเวลา แล้วเราก็มาภาวนา" --คุณแม่ชีอรนุช คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: orn610102.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"เรือที่ทอดสมออยู่ เวลาลมพัดมา เรือมันจะเคลื่อนที่ เคลื่อนไปเคลื่อนมา เคลื่อนไปเคลื่อนมา แต่มันมีสมอ มันไม่ไหลตามน้ำไป เรือลำนี้ มันไม่ต้านกระแสน้ำ เวลากระแสน้ำมา เรือมันจะขยับ ให้เรามีท่าทีกับของที่แปลกปลอมเข้ามาในใจของเรา เหมือนเรือแบบนี้ ไม่คล้อยตามไป ก็คือ ไม่ไหล่ตามกิเลสไป ในขณะเดียวกัน ไม่ต่อต้านกัน เพราะฉะนั้น เวลาเกิดกิเลสขึ้น ใจเราก็จะไหว เหมือนเรือที่ถูกคลื่นสัด เรือก็จะเคลื่อนที่ไปมา ถ้าเราต้านกิเลส ก็เหมือนเรือลำนี้ เชือกมันไม่เคลื่อนที่ มันตอกลงไป เชือกที่มันไหว กลายเป็นอะไรแข็งๆ มันต้านน้ำ วันหนึ่ง กระแสน้ำแรง เรือลำนี้ก็จะถูกคลื่นหรือน้ำพัดให้แตก เพราะฉะนั้นจำไว้นะ ไม่คล้อยตามมัน และก็ไม่ต่อต้านมัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601231B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"จำไว้นะว่า ธรรมนี่เป็นเรื่องจริงจัง จริงจังแปลว่ามีความใส่ใจ หัดรู้ หัดดู แต่ไม่ใช่ว่า จริงจังแบบว่าต้องเคร่งเครียด ฟุ้งแล้วรู้ ดีกว่า เพ่งแล้วรู้สึกตัวตลอด เพ่งไว้ก็ดีเหมือนกัน ถ้าเพ่งกำลังดี ไม่เคร่งเครียดเกินไป ตายไปก็มีโอกาสได้ไปสวรรค์ แต่ไม่มีโอกาสไปนิพพาน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601231A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ความสงบสงัดของใจ มันจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทีนี้พอใจมีความสุข มีความสงบ มีความสงัด มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีความร่มเย็น มีความผ่อนคลาย เวลาที่กิเลสจรมา มันจะเห็นชัด เพราะอะไร ใจมันดีอยู่แล้ว ...ใจที่มีความสุข มีความสงบ มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีความร่มเย็น ทำให้ภาวนาง่าย เพราะเห็นของที่แปลกปลอมเข้ามาในใจง่าย ในที่สุดวันหนึ่ง ฝึกไปบนเส้นทางนี้ มันจะมีความสงบสงัด อันหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า ความสงบสงัดจากกิเลส” --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601209A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ใครไม่เข้าใจทำรูปแบบบ้างไหม รูปแบบก็คือ อยู่คนเดียว ง่ายๆ อยู่คนเดียว ไม่มีใครยุ่งกับเรา เราก็ทำของเราคนเดียว จะทำแบบไหนก็ได้ จะยืน เดิน นั่ง สวดมนต์ก่อนก็ได้ เดินจงกรม หัดดูกาย ดูใจ ท่าเดิน ท่านั่ง อะไรก็ได้ ทำไปตามที่ถนัดของแต่ละคน ไม่ต้องเหมือนกัน แล้วก็ฝึกไป เจริญสติ หัดรู้สึกไป แล้วก็หัดดูไป แล้วก็เอาหลักการที่เราทำในรูปแบบนั้นออกมา มันจะมีความชำนาญ ก็ออกมาดูข้างนอก" --หมอณัฏฐ์ คอร์สเนยยะ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat601209.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ในโลกนี้ ทุกสิ่งไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของเราทั้งสิ้น เรียนเรื่องพวกนี้ให้มากโดยมีตัวเราเอง เป็นตัวอย่างของการศึกษา เมื่อเข้าใจตัวเองอย่างแจ่มแจ้ง ก็เข้าใจโลกทั้งโลกอย่างแจ่มแจ้งด้วย เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับ โลกทั้งโลกก็ไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับ เมื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าขันธ์5 ไม่ใช่เรา จะไม่มีเราที่ไหนอีก ไม่ว่าอยู่ในโลกไหน ทั้งหมดนี้นะเป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะมันเป็นความจริงที่มันเป็นอยู่แล้ว นักปฏิบัติมีหน้าที่เห็นความจริงให้มากจนใจฉลาด สติปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นจากการเห็นความจริงเท่านั้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เรามีหน้าที่มีสติ อยู่กับกายกับใจตนเอง เริ่มต้นไม่หลับตา หายใจออกก่อน ไม่บังคับจิตแต่งจิต มีสติรู้สึกถึงร่างกายที่นั่งอยู่ก็ได้ หรือรู้สึกถึงร่างกายที่หายใจออก หายใจเข้าก็ได้ สักช่วงหนึ่งเราจะพบว่ามันผิดสองด้ายเสมอ คือมาเพ่งร่างกายเกินไป หรือว่าจิตวิ่งไปเพ่งลม หรือจิตมันบังคับมันรวบใจ ใจจะเป็นก้อนแข็งๆเครียดๆ ถ้าเรารู้ทันว่ามันเครียด และแน่น ให้เลิก ผ่อนคลาย หายใจออก วางมือออก ทำตัวให้ผ่อนคลาย ให้มันเป็นปกติ แล้วค่อยฝึกใหม่ ทุกครั้งที่ฝึกจะต้องเริ่มต้นด้วยสติ เริ่มต้นด้วยความรู้สึกตัว สักช่วงหนึ่ง ความรู้สึกตัวค่อยๆอ่อน เคลิ้มไปไหลไป เรื่อยๆ เหมือนจะใจลอยไปเรื่อยๆ ค่อยๆเคลื่อนไป รู้ทันว่ามันอ่อนเต็มที่ เงยหน้าขึ้น หายใจเข้า เอาออกซิเจนเข้าไปในปอด ให้ความรู้สึกตัวมันเพิ่มขึ้น แล้วค่อยหายใจไปตามปกติ ทำอย่างนี้สลับไปมา จนมีความคุ้นชินที่จะมีสติ มีความรู้สึกตัว" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"สมาธิมี 2 แบบ แบบที่ 1 คือ จิตไหลไปอยู่ที่อารมณ์ จิตกับอารมณ์แนบเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าเราทำถูก ไม่บังคับแรง ผลของมันก็คือ พาใจไปสู่อารมณ์เดียวอย่างมีความสุข จิตจะได้ พักผ่อนหลังจากพักผ่อนสมควรแล้ว จิตจะมีเรี่ยวมีแรงกระปรี้กระเปร่า สมาธิอีกแบบหนึ่ง เป็นสมาธิที่มีเฉพาะในพุทธศาสนา เป็นสมาธิที่ฝึกแล้ว ใจมีลักษณะ รู้ตื่น เบิกบาน ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้ดู สมาธิแบบนี้เกิดขึ้นทุกครั้ง เมื่อเรามีสติ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เวลาใจไหลไป แล้วเรามีสติรู้ทันว่าใจไหลไป คนไหนถ้าฝึกได้ ควรจะฝึกทั้ง 2 แบบ เพราะสมาธิแบบที่ 1 ทำแล้วใจจะสดชื่น สมาธิแบบที่ 2 ทำแล้วใจจะฉลาด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

1