ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"นักภาวนาอย่าลืมหลักนะคะ ถ้าเราจำหลักได้แม่น มันจะมาท่าไหนเราจำได้หมดเลย เรารู้เลยว่าเราจะดูมันยังไง พอเราไม่เข้าใจหลัก เราวางใจผิด พอเราวางใจผิด เราจะเดินผิดเลยนะคะ หลักก็คืออะไร หลักก็คือการที่เราจะทำยังไงที่ประกอบด้วยสมาธิ ๒ อย่าง ถ้าเวลาที่เราทำรูปแบบคือ สมถะ วิปัสสนา สมถะพวกเรารู้ละ อารมณ์หนึ่ง จิตหนึ่ง แต่ตอนขึ้นวิปัสสนานี่แหละ... จริงๆทั้งหมดของการภาวนามันมีแค่กายกับใจเรานี่แหละ ถ้าเรารู้กายอย่างที่มันเป็นได้ รู้จิตใจอย่างที่มันเปลี่ยนแปลงได้ อันนี้คือทำวิปัสสนาแล้ว" -- ฆราวาสธรรม คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

Direct download: mle591106A.mp3
Category:Malee -- posted at: 10:46pm +07

"เราไม่จำเป็นจะต้องทำในรูปแบบเพื่อจะให้จิตสงบนิ่งนะ ไม่จำเป็น ถ้ามันสงบก็ให้มันสงบเอง ถ้ามันนิ่งก็ให้มันนิ่งเอง แต่เราไม่ต้องไปกดข่มจิตลงไป เพราะถ้าไปกดข่มจิต บังคับจิต มันจะเกิดความเครียดขึ้นมา เมื่อไรที่ร่างกายกับจิตใจมันเครียด โอกาสที่เราจะเกิดสติอัตโนมัติแทบไม่มีเลย เพราะฉะนั้นเราต้องภาวนาด้วยร่างกายที่ผ่อนคลาย ภาวนาด้วยใจที่ผ่อนคลาย สบายๆ" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จ.ชลบุรี วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559

Direct download: swt591111A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 10:48pm +07

"เราทำในรูปแบบจนจิตมันมีกำลังพอแล้ว เราไม่ได้เจตนา ทุกอย่างมันจะทำงานเองอัตโนมัติช่วงหนึ่ง มันเหมือนเราไม่ได้ตั้งใจหรอก มันก็รู้สึกตัว เห็นทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าใครถึงจุดนั้นนะ ณ​วันนั้น รู้สึกโอ้โห ภาวนาง่าย ไม่ต้องทำอะไร เหมือนที่หลวงพ่อบอกเป๊ะเลย ไม่ต้องทำอะไรมันก็รู้ แต่เดี๋ยวแป๊บเดียวมันก็หายไป เดี๋ยวมันก็เสื่อม งั้นเรามีหน้าที่ทำอะไรล่ะ เรามีหน้าที่ทำในรูปแบบทุกวัน ขณะที่เจตนาทำในรูปแบบทุกวันนะ ห้ามไม่ได้ที่มันจะตึงนิดๆ แต่ถ้าใครตึงมากหรือเพ่งมาก อันนั้นต้องปรับ แต่ว่าอย่าตั้งเป้าว่า เวลาทำในรูปแบบห้ามเพ่ง เป็นไปไม่ได้ โดย nature นะ มันจะอดไม่ได้ที่มีการเพ่งนิดๆ ทีนี้พวกเราฟังธรรมะมาแล้ว เริ่มรู้ว่าเพ่งไม่ใช่ เริ่มรู้ว่าเพ่งคืออะไร นึกออกไหม อันนี้ไม่เป็นอันตรายมาก เราก็แค่รู้ทันว่า ขณะนี้มันตึงไป พอตึงไปก็คลายออกหน่อย ก็แค่นั้นเอง พอเก็ตไหม ว่าเวลาจะทำในรูปแบบไม่ต้องโล่ง โปร่ง เบา ตลอด" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -จิตที่คู่ควรต่อการเจริญปัญญาคือจิตธรรมดาที่ไม่ได้แต่ง- คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง 11 พ.ย. 59

Direct download: psn591111.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:26pm +07

"ภาชนะที่มารับฟังธรรม ถ้าเป็นภาชนะที่ปราณีต ที่เปิดกว้าง ก็จะรับธรรมได้เยอะ คือเวลาที่เราไม่มีตัวตน ไม่มี self ใจมีความรู้เนื้อรู้ตัวพอสมควร ไม่อวดดีอวดเก่งว่า ธรรมนี้ฟังมาเยอะแล้ว ท่องได้แล้ว พูดได้แล้ว ใจก็จะเป็นเหมือนถ้วยเปล่าจะที่พร้อมรองรับธรรม.... อย่างธรรมที่หลวงพ่อเทศน์ ปราณีต ลึกซึ้งมาก ใจยังดื้อด้านต่อธรรม ไม่มีความนอบน้อม มีแต่อวดดี อวดเก่ง ท่องได้แล้ว พูดได้แล้ว ท่องได้ พูดได้ ทำไม่ได้ ใจไม่ได้เป็นไปตามนั้นเลย ใจอย่างนี้ก็รับธรรมยาก" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ "จิตที่นอบน้อมต่อธรรมะถึงจะรับธรรมะได้ง่าย" คอร์สกลุ่มธรรมทาน 10 กันยายน 2559 (psn590910B)

Direct download: psn590910B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:00pm +07

"ถ้าเราทวนมาดูตัวเอง เออ หรือเป็นเรา เราก็มีพฤติกรรมคล้ายๆอย่างนี้นะ ทวนมาดูตัวเองเมื่อไหร่ ได้แก้ไขเมื่อนั้น โอปนยิโก ย้อนเข้ามาสู่ตัว ถึงจะพัฒนาได้นะ ไม่ต้องปกป้องตัวเองเยอะหรอก ผู้พูดก็ไม่ได้ดีสมบูรณ์ พวกเราก็ไม่ได้ดีสมบูรณ์ มันก็มีเรื่องที่ต้องขัดเกลา ที่ต้องพัฒนาทุกคนแหละ อย่าปิดตัวเอง ไม่ต้องดีวันนี้หรอก ตรงไหนไม่ดี ก็รู้ไป แล้วก็แก้ไขไป" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -ย้อนดูตัวเอง- คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๙

Direct download: psn590911.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:00pm +07

"ที่จริงพระนิพพาน อยู่เบื้องหน้าอยู่แล้ว แต่จิตที่ยังมีความอยากจะไม่เห็นมัน และความอยากจะไม่มีวันหมดสิ้นไป จนกว่าจะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง จะเห็นพระนิพพานได้ ต้องทำหน้าที่หลักอันนึงให้เข้าใจคือ เรียนรู้รูปนาม หรือ เรียนรู้ทุกข์ เห็นความจริงจนเข้าใจว่า กายนี้คือตัวทุกข์ ก็จะทิ้งกาย เห็นกายแจ่มแจ้งว่ากายทุกข์ จะทิ้งกาย เห็นจิตแจ่มแจ้งว่าจิตนี้คือตัวทุกข์ จะทิ้งจิต เมื่อเห็นกายแจ่มแจ้งว่าเป็นตัวทุกข์แล้วทิ้งกาย จะได้คุณธรรมระดับ 3 คือเป็นพระอนาคามี เมื่อเห็นจิตแจ่มแจ้งว่าเป็นตัวทุกข์ ทิ้งจิต ก็จะเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น หน้าที่คืออะไร หน้าที่คือ "รู้ทุกข์" ตัวทุกข์ก็คือ รูปกับนาม กายกับใจ ของเราเอง เพราะความอยากทั้งปวง เราก็อยากให้กายนี่สุข ใจนี่สุข เมื่อทิ้งกายเมื่อทิ้งใจความอยากทั้งปวงก็ดับลงไปฉับพลัน เมื่อความอยากทั้งปวงดับไป ก็จะเห็นพระนิพพาน" -- ฆราวาสธรรม คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน 10 กันยายน 2559 (psn590910A)

Direct download: psn590910A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 12:47am +07

"เราคิดว่า การภาวนาดี คือ การทำจิตให้ไม่ไหล ไม่ใช่นะ การภาวนาดี คือการรู้ทันจิตที่ไหลต่างหาก นั่นแหละเรียกว่า ภาวนาดี แต่การพยายามทำจิตไม่ให้ไหล นี่ เรียกว่าภาวนาผิด ปัญหาคือ เราจะติดภาพพวกนี้ ฝังอยู่ ภาวนาแล้วต้องไม่ไหล ต้องไม่อย่างนั้น ต้องรู้สึกตัว จริงๆ ทุกสภาวะ ที่ครูบาอาจารย์ชี้ให้เราดู ท่านต้องการให้เราเห็นว่า มีสภาวะแบบนั้น ท่านไม่ได้บอกวา อย่าให้มันเป็นแบบนั้นนะ แต่พอเวลาพวกเราเรียน ความเข้าใจมันจะกลับหัวกลับหาง เราคิดว่าสิ่งที่ครูบาอาจารย์บอก อย่างนั้น อย่างนี้มันไม่ดี ไม่ควรจะเป็น เนี่ยเราเข้าใจผิดนะ มันเลยติดเคยชิน นี้ ถ้าทำอะไรไม่ได้แล้ว ตอนนี้มันเคยชินไปแล้ว วิธีเดียวที่จะทำได้ก็คือ รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะทิ้งความเคยชิน แต่ทางที่ดีที่สุด ลองเปลี่ยนวิธี เปลี่ยนรูปแบบอื่นไป" -- ฆราวาสธรรม อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา สนทนาธรรมในคอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ 10 กันยายน 2559 (swt590910B)

Direct download: swt590910B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:43am +07

"คำว่า =จิตเป็นยังไง ก็รู้ว่าเป็นอย่างนั้น= คือจะสื่อว่า ไม่ว่าจิตเราจะ ดี หรือ ไม่ดี เราก็ดูไปตามที่มันเป็น มันไม่ดีเราก็ดู มันดีเราก็ดู หน้าที่เราก็คือ นั่งดูมันไปเรื่อยๆ แต่ว่า พอเห็นปุ๊บมันไม่ได้จบแค่เห็น ไม่ได้จบแค่รู้ พอเห็นปุ๊บมันจะเริ่มปรุง ปรุงไปข้างยินดีบ้าง ปรุงไปข้างยินร้ายบ้าง หรือไม่งั้นพอเห็นอันนี้ก็ไม่ชอบละ ไม่อยากได้ อยากได้อีกแบบนึง เห็นจิตดีก็ยังอยากรักษาเอาไว้ มันก็จะเริ่มปรุงต่อ ที่หลวงพ่อบอกว่า จิตไม่เป็นกลาง ยังไม่สามารถรู้สภาวะด้วยความเป็นกลางได้ หลวงพ่อจึงมาสรุปหลักให้เราปฏิบัติ ท่านสรุปว่า =มีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง= ยากตรงไหน - ยากตรงที่ไม่มีสติ พอมีสติก็ง่ายขึ้นมาขั้นนึง มีสติ รู้กาย รู้ใจ แต่พอเรามีสติรู้กายรู้ใจ เราจะไม่ยอมรู้ตามความเป็นจริง มันไม่เที่ยงเราก็พยายามให้มันเที่ยง มันไม่ดีก็พยายามให้มันดี มันจะดับเราก็พยายามไม่อยากให้มันดับ เราไม่หัดดูด้วยความเป็นจริงที่มันเป็นอยู่" ฆราวาสธรรม อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา สนทนาธรรมในคอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ (swt590910A)

Direct download: swt590910A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 12:40am +07

"จริงๆ ที่เราติดอยู่ในโลกก็เพราะสุขทุกข์เฉยๆ นี่แหละ เราตามรู้เวทนาไป สุขก็กระทบอารมณ์ที่ชอบใจทางทวารทั้งหก ทำให้เกิดสุข ทุกข์ก็กระทบอารมณ์ที่ไม่ชอบใจทางทวารทั้งหก บางที กระทบแล้วอารมณ์มันไม่ชัดเจนมาก ก็เฉยๆ ก็เปลี่ยนกันไปอย่างนี้ ชีวิตก็มีแค่นี้เอง สุขทุกข์เฉยๆ สลับกันไป เกิดจากผัสสะ ผัสสะก็กระทบแล้วก็ชอบบ้างไม่ชอบบ้าง เชื่อมั้ย ทั้งชีวิตมีแค่นี้เอง ถ้าเห็นจริงๆ เห็นด้วยใจ มันจะคลายความยึด ความผูกพันในโลกก็จะคลายออกไปๆ ใจก็ค่อยๆ เป็นอิสระมากขึ้น ก็ความสุขที่เกิดจากการกระทบทางตามันเกิดขึ้นแล้วดับไป รูปมันจะมีสาระอะไร หรือ ตามันจะมีสาระอะไร.... ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถึอมัน เราไม่เจตนาที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นวันนี้ เราทำเหตุของมันคือ แค่ดูสุขทุกข์เฉยๆ นี่แหละ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในใจของเรา แค่นี้นะ วันหนึ่งก็จะพ้นจากโลกไป" -- ฆราวาสธรรม คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน -ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น- วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ (psn590909D)

Direct download: psn590909D.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:35pm +07

"สวด "นะโม ตัสสะ" นี้เป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้า "ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง" อันนี้คือ "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อาระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" สวด"อิติปิโส" ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สวด"นะโม ตัสสะ" ก็ได้ สวดไปสบายนะ ใจนึกถึงพระองค์ ถ้าใจไปคิด รู้ไปคิดก็ได้ ใครสวดไปแล้วอยากนึกถึงพระพุทธเจ้าก็นึกเอาก็ได้ สวดไปแล้วใจมีความสุข ก็รู้ว่ามีความสุข สวดไปแล้วจิตอยู่กับบทสวดมนต์ก็ไม่ว่ามัน ก็รู้ทันว่าจิตอยู่กับบทสวดมนต์ สักช่วงนึงก็หลงไปคิด สักช่วงนึงความรับรู้ก็ไปอยู่ที่ร่างกายบ้าง คันตรงนั้น คันตรงนี้ ก็รู้เอา เกาก็ได้นะ ไม่ว่า ไม่ใช่ว่าต้องนั่งตัวแข็งทื่อ" อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ "การทำกรรมฐานด้วยการสวดมนต์" สนทนาธรรมในคอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ (psn590909C)

Direct download: psn590909C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:27pm +07

"มันห้ามไม่ได้ มีแต่ทำแล้วรู้ ทำแล้วรู้ ทำแล้วรู้สึก ใจจะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัวเห็นสภาวะ ทำงานเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ยิ่งไม่ยุ่งกับมันยิ่งสว่างไสว ยิ่งยุ่งยิ่งเละ ยิ่งยุ่งยิ่งมีภาระ นี่แหละคือการเจริญสติในอิริยาบถนั่ง เสร็จแล้วผลของมันคืออะไร เราจะได้สมาธิแบบรู้ตื่นเบิกบาน เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ลุกจากที่นั่งเมื่อไหร่ จิตก็จะไม่ออกนอก ไม่ซึม ไม่มัว เพราะเราทำสมาธิอยู่ในสภาวะภพปัจจุบัน ไม่ได้เคลื่อนไปไหน ดีกว่านั่งแล้วลืมตาขึ้นมา มัวมืดไปหมด นี่แหละสมาธิ" -- อาจารย์ประสาน พุทธกุลสมศิริ -จิตมีธรรมชาติประภัสสร แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา- คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๙ (psn590909B)

Direct download: psn590909B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:21pm +07

1