ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"รู้เผลอบ่อยๆ เร็วที่สุดแล้ว จิตเผลอเมื่อไหร่ รู้เนี่ย เร็วที่สุดแล้ว รู้แล้วจบที่รู้ รู้บ่อยๆ เร็ว เป็นทางลัดที่สุด" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙

Direct download: nat590424.mp3
Category:Nat -- posted at: 10:56pm +07

อย่าคิดว่าการปฏิบัติธรรมมันเป็นอะไรที่ต้องทำ ถ้าเมื่อไรเราคิดแบบนี้ เราจะรู้สึกว่ามันยาก มันต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ จริงๆ ธรรมะง่ายกว่านั้น มาดูแค่กายแค่ใจนี่แหละ

Direct download: mle590402A.mp3
Category:Malee -- posted at: 10:51pm +07

เรามาดูร่างกายนี้หายใจเข้าร่างกายนี้หายใจออก ข้อเท็จจริงเราทำเพื่อมาเห็นว่ากายเขาทำงานยังไง จิตใจเขาทำงานยังไง เมื่่อเห็นแล้วจิตยินดียินร้ายให้เรารู้ตาม จากนั้นปัญญามันจะเดินเลยว่าอ๋อ... ไอ้ลมเนี่ย ตัวนี้มันหายใจร่างกายนี้ มันหายใจ ไม่ใช่เราหายใจ มันไหลออกไปอีกแล้ว มันหายใจดีๆ มันเห็นลมหายใจ มันเห็น พุทโธ อยู่ดีๆ ใจมันก็ไหลไปคิด...มันไหลไปได้เอง แล้วมันก็คิดได้เอง อยู่ดีๆนั่งไปสักพักจิตมันสงบ ปิติมันเกิด ปิติมันเกิดเอง ปิติไม่ใช่เรา ความฟุ้งซ่านนี่ก็ไม่ใช่เรานะคะ

Direct download: mle590320.mp3
Category:Malee -- posted at: 8:04am +07

Direct download: mle590318.mp3
Category:Malee -- posted at: 8:00am +07

เวลาฝึก ปัญหาก็คือ บางทีเราอยากได้ผลเร็ว เพราะฉะนั้น ไม่ต้องคาดหวังว่าทำแล้วจะได้ผล วันนี้ทำแล้วไม่ได้ผลอะไรเลย ก็ไปทำต่อพรุ่งนี้ วันนี้เกิดสติได้น้อย พรุ่งนี้ก็ฝึกต่ออีก วันนี้ยังไม่ได้นิพพาน พรุ่งนี้ก็ฝึกต่ออีก ฝึกทุกวันไม่ขี้เกียจ และก็อย่าท้อ

Direct download: enswt160312B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 3:47pm +07

"ฝึกไปแล้ว จิตใจเราจะดีหรือไม่ดี ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ สาระสำคัญอยุ่ที่ จิตจะดีหรือไม่ดี ก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนๆกัน ต้องฝึกให้เห็นไตรลักษณ์ของกายของจิตให้ได้ อย่าท้อ และก็อย่าเลิกนะ ถ้าเราไม่เลิก เราฝึกไปเรื่อยๆ วันนึงมรรคผลนิพพานก็จะเกิดขึ้น ชาวพุทธต้องฝึกกันอย่างนี้" ธรรมะบรรยายโดยอาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ในคอร์สอังกฤษ วันที่ 12 มีนาคม 2559

Direct download: swt590312B.mp3
Category:Surawat -- posted at: 3:46pm +07

Direct download: enswt160312A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 3:42pm +07

"เราต้องฝึกตัวเองให้เกิดจิตตั้งมั่นก่อน พอเรามีจิตตั่งมั่นแล้วเราจึงจะเจริญปัญญาต่อไปได้ แต่เริ่มแรกก่อนที่เราจะฝึก ก็มีแนวทาง 2 แนวทางหลักๆ แต่ไม่ว่าจะใช้แนวทางไหน ก็ต้องกลับมาเรียนที่กายทีใจของตัวเอง เป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาคือการเข้าใจความจริง เมื่อเราเข้าใจความจริงได้ เราก็จะปล่อยความยึดถือได้ และเราจะมุ่งเป้าไปที่การปล่อยความยึดถือกาย ยึดถือใจเราตัวเองเป็นสำคัญ ถ้าเราจะฝึกเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายสูงสุด เราต้องเริ่มต้นให้ถูก ไม่เช่นนั้นเราจะไม่อาจปฏิบัติให้ได้ผลตามที่ควรจะเป็น และจุดเริ่มต้นของการภาวนา นั่นก็คือ สติ นั่นเอง" อาจารย์สุรวัฒน์ คอร์สภาษาอังกฤษ ๓ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙

Direct download: swt590312A.mp3
Category:Surawat -- posted at: 3:39pm +07

สมาธิ ไม่เหมือนสติ ไม่เหมือนปัญญา เมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นมีกุศล เมื่อใดมีปัญญา เมื่อนั้นมีกุศล ไม่เหมือนสมาธิ สมาธิสามารถประกอบด้วยกิเลสก็ได้ เช่น เราสงบ แต่ใจมัว ใจซึม จิตประกอบด้วยโมหะ สมาธิแบบที่ ๑ ถ้าทำผิด บังคับใจมากเกินไป วันหนึ่งบ้าได้ เช่น บังคับตัวเองจนเครียดในที่สุดบ้า หรือ ทำสมาธิแบบที่ ๑ ไม่มีสติเห็นนิมิตมากมาย แยกอะไรไม่ออก อันไหนของจริง อันไหนของปลอม เห็นเทวดา ก็ไม่รู้ว่า ใจปรุงขึ้นเอง หรือเทวดาจริงๆ โดยเฉพาะการทำณาน ควรฝึกภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ชำนาญ ถึงจะปลอดภัย ส่วนสมาธิแบบที่ ๒ ทำง่ายและไม่มีอันตรายอะไร คุณประสาน คอร์สภาษาอังกฤษ ๓ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙

Direct download: psn590312.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:11pm +07

บรรยายธรรมะโดยคุณประสาน พุทธกุลสมศิริ พร้อมแปลภาษาอังกฤษ ในคอร์สอังกฤษ 12 มีนาคม 2559

Direct download: enpsn160312.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:09pm +07

บรรยายธรรมะโดยคุณประสาน พุทธกุลสมศิริ พร้อมเสียงแปลภาษาอังกฤษ ในคอร์สอังกฤษ วันที่ 11 มีนาคม 2559 B

Direct download: enpsn160311B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:05pm +07

"ใจที่เป็นปกติ มีธรรมชาติ สว่างไสว มีสมาธิในตัว ใจจะเศร้าหมอง เมื่อถูกกิเลสครอบงำ จิตมีธรรมชาติ ประภัสสร จิตจะเศร้าหมอง เมื่อกิเลสจรมา เวลาเราจะปฏิบัติให้วางใจว่า เอาความรู้สึกตัว เอาสตินำ ไม่ใช่ให้เอาความสงบนำ ความสงบจะเป็นผลจากเหตุที่ถูกต้อง เมื่อใดที่เรานั่งสมาธิด้วยความโลภ จิตจะไม่มีวันสงบ เพราะความอยาก ความโลภ เป็นกิเลสตัวหนึ่ง ถ้าเราเริ่มด้วยความโลภ ใจจะสงบ สว่างไสวได้อย่างไร ถ้าเริ่มต้นแล้ว อยากดี อยากสงบ ให้รู้ว่าอยากดี อยากสงบ" คุณประสาน - การทำสมาธิแบบลักขณูปนิชฌาน (ภาคปฏิบัติ) คอร์สอังกฤษ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ (psn590311B)

Direct download: psn590311B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 11:03pm +07

คุณประสาน พุทธกุลมสมศิริ คอร์สอังกฤษ 11 มีนาคม 2559

Direct download: enpsn160311A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:09am +07

"หน้าที่ของพวกเรา คือ เจริญวิปัสสนา และ รู้ทุกข์ ทำให้มาก ทำสิ่งเดียวแล้วส่วนที่เหลือจะตามมา มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อถูกภัย ถูกความกลัว ถูกความทุกข์คุกคาม ก็ถือเอาภูเขา เอาต้นไม้ เอาอาราม เอารุกขเจดีย์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งบ้าง แต่นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันปลอดภัย เขาอาศัยที่พึ่งเหล่านั้น ย่อมไม่อาจพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ บุคคลใดมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เข้าถึงความจริงอันประเสรืฐคือ อริยสัจ 4 คือ รู้แจ้งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ หนทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ นั่นแหละ ถึงจะเป็นที่พึ่งอันเกษม เป็นที่พึ่งอันปลอดภัย เขาอาศัยที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ "หน้าที่ต่ออริยสัจ" คอร์สภาษาอังกฤษ ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ช่วงที่ ๑

Direct download: psn590311A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:07am +07

คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ ในคอร์สอังกฤษ พร้อมแปลภาษาอังกฤษ 10 มีนาคม 2559

Direct download: enpsn160310D.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:04am +07

"พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่เป็นที่พึ่ง ที่ร้องขอ อยากได้สิ่งโน้น สิ่งนี้ เราไม่ได้สวดเพื่อให้ชีวิตสุขสบาย หรือร่ำรวย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งได้ ก็ต่อเมื่อ พวกเรานำเอาธรรมะ เอาวิธีการปฏิบัติ เรียนรู้การปฏิบัติและนำไปปฏิบ้ติจนเห็นผลด้วยตนเอง พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า... บุคคลใดถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง บุคคลใดถึงอริยะสัจ 4 เข้าใจแจ่มแจ้งซึ่งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ แจ่มแจ้งในทางพ้นทุกข์ แจ่มแจ้งในความดับทุกข์ แจ่มแจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ เขาผู้นั้นจึงจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" คุณประสาน - "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของเราได้อย่างไร" คอร์สภาษาอังกฤษ ๓ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙

Direct download: psn590310D.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:02am +07

บรรยายธรรมะโดยคุณประสาน พุทธกุลสมศิริในคอร์สอังกฤษ พร้อมเสียงแปลภาษาอังกฤษ วันที่ 10 มีนาคม 2559 C

Direct download: enpsn160310C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 10:01am +07

"ทำให้มรรคผลเกิดไม่ได้ มรรคผลเกิดขึ้นเอง เมื่อทุกอย่างสุกงอมสมบูรณ์มรรคผลจะเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ชาวนามีหน้าที่ 3 อย่าง ไถนา หว่านข้าว เอาน้ำเข้านา น้ำมากก็เอาน้ำออก น้ำน้อยก็เอาน้ำเข้า ชาวนาทำได้แคนี้ ชาวนาจะเรียกร้องให้ข้าวโตเร็วๆ จงออกรวงเร็วๆ ให้ผลผลิตเร็ว ๆ ชาวนาทำไม่ได้ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ข้าวมันจะออกรวงเอง นักภาวนามีหน้าที่ ๓ อย่าง เป็นสิ่งที่ต้องเรียนและทำให้ถึงพร้อม คือ บทเรียนที่ ๑ คือ ศีลสิกขา คือบทเรียน เรื่องศีล บทเรียนที่ ๒ คือ จิตตสิกขา คือบทเรียน เรื่องจิต บทเรียนที่ ๓ คือ ปัญญาสิกขา คือบทเรียนเรื่อง ปัญญา เมื่อนักภาวนาเรียนบทเรียนได้อย่างบริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้ว ถึงเวลามรรคผลจะเกิดขึ้นเอง" คุณประสาน พุทธกุลสมศิริ - "ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ จิตบรรลุของจิตเอง" คอร์สภาษาอังกฤษครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ ช่วงที่ ๓

Direct download: psn590310C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 9:55am +07

1