ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ (Nat)

"ถ้าเราภาวนาถูกจะมีฉันทะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา สี่ตัวนี้จะเกิด พอทำถูกแล้วจะได้ผล จากภาวนาในรูปแบบ 5 นาที จะกลายเป็น 10 นาที เป็น 15 นาที มันจะค่อย ๆ เพิ่มไปเอง แต่ว่าใหม่ ๆ ต้องขยันทำ ไม่ต้องนาน แต่ทำบ่อย ๆ ทำถี่ ๆ สุดท้ายเวลาที่ทำสมาธิที่ถูกจะค่อย ๆ ขยายตัวออกไปเอง จะเป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ต้องบังคับตัวเองเกินไป ทำให้ถูก ทำให้บ่อย ๆ ทำเนือง ๆ อันนี้จะได้ผล" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย กระบี่ 18 มีนาคม 2566 nat660318

Direct download: nat660318.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จะแก้การติดเพ่ง ให้เห็นการเพ่งบ่อย ๆ เห็นจนจำได้ว่าเพ่งเป็นแบบนี้ พอเพ่งก็เห็นมัน เห็นอะไรก็จะไม่ติดอันนั้น ก็มีหลักอยู่อย่างนี้ เห็นสิ่งที่ไม่เป็นกลาง ใจก็จะเป็นกลาง เผลอไปเพ่ง ให้รู้ว่าเพ่ง รู้บ่อย ๆ เวลามันโผล่ตัวมาก็เห็นมันแล้ว เห็นแล้วก็จะไม่เข้าไปติด" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 8 เมษายน 2566

Direct download: nat660408B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"พอจิตมันสว่าง มันเคลื่อนออกไป มีนิมิต ก็เหมือนกับเราเห็นเนี่ยแหละ ให้ย้อนมาดูใจ สิ่งที่นิมิตเห็นเป็นภาพ เมื่อมีภาพแล้ว มีอารมณ์อย่างไร ให้ย้อนมาดูใจตัวเองว่า ชอบหรือไม่ชอบ อันนี้คือจิตของเรา อันนั้นไม่ใช่แล้ว พอย้อนบุ๊ป มันเข้าหาจิต มันไม่ออกนอก มีหน้าที่แค่นั้นแหละ" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 8 เมษายน 2566

Direct download: nat660408A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เราฝึกรูปแบบ เช่น เดินจงกรม ขยับมือ ฯลฯ รู้สึกรูปเคลื่อนไหว รูปหยุดนิ่ง จิตจะจำอาการไหวและหยุดของรูป เดินจงกรม เห็นการสะเทือนและการหยุดของกาย ทำจังหวะมือ เห็นการไหวและหยุดนิ่งของมือ เวลาเราไปทำข้างนอก (ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน) เห็นการเคลื่อนไหวโดยไม่เจตนา จิตก็จะตื่นขึ้นมา เพราะการไหวการหยุดนิ่งไม่ได้อยู่ที่รูปใดรูปหนึ่ง เวลาจิตไปเห็นไหวและหยุดนิ่งของรูปส่วนอื่น จิตก็จะตื่นขึ้นมา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 7 เมษายน 2566

Direct download: nat660407B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"มันตื่นแบบเพ่งอารมณ์ ไม่ตื่นแบบรู้ตัว ตื่นแบบเพ่งอารมณ์ เพ่งในความสว่าง มันสว่าง แล้วก็เพ่งอารมณ์ จิตมันเคลื่อนอยู่ข้างหน้า ไปเพ่งสว่างอยู่ข้างหน้า ไม่ถึงฐาน เลยฐาน ควบคุม บังคับ อันนี้คือเพียรแรงไป" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 7 เมษายน 2566

Direct download: nat660407A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สวดมนต์ไปแล้วให้ดูจิตไปด้วย เพราะสวดมนต์มาก ๆ แล้วจะสงบ ถ้าสงบแล้ว ก็จะเข้าไปนิ่ง ถ้าไม่เห็นจิตก็จะติดนิ่ง เวลาเราสวดมนต์บทยาว ๆ อาจมีความกังวลว่าจะสวดผิดสวดถูก จิตก็จะไปจ้องการสวด จิตก็จะเข้าไปนิ่ง ๆ ถ้าสวดไปแล้วมีความสุข จิตก็จะเข้าไปเคลิบเคลิ้ม ถ้าไม่เห็น ก็จะกลายเป็นนิ่ง ถ้านิ่งแล้วรู้ไม่ทันจิต จิตก็จะติดนิ่ง สวดมนต์ก็ดี แต่ได้ของแถมคืออาจจะติดนิ่ง แต่ถ้าสวดมนต์แล้วรู้ทันจิต จิตก็จะตื่น" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 6 เมษายน 2566

Direct download: nat660406B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การเดินจงกรมเมื่อขากระทบพื้นแล้วรู้การสะเทือน ขาที่กระทบหนึ่งครั้ง กระตุ้นจิตให้กลับบ้านเรียบร้อยแล้ว กลับมาหนึ่งขณะจิต หลังจากนั้นถ้ามันจะหลงก็ไม่ไปบังคับ เพราะจิตต่อไปมันก็สลับดวง เวลาทำวิธีนี้มาก ๆ จำนวนของจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวจะมากขึ้นเอง เป็นการสะสมพลังของจิตที่ถูกต้อง มันมารวมตัวกันเอง โดยเราไม่ต้องทำอะไรเลย" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน (กฟผ.) 6 เมษายน 2566

Direct download: nat660406A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สภาวะต่างๆ ทางกายหรือทางใจ ใช้ความรู้สึกไปรับรู้ การดูใจ ดูอาการทางกาย ดูอารมณ์ต่างๆ ดูสิ่งที่ถูกรู้ ใช้ความรู้สึกไปรับรู้ ไม่ต้องไปเพ่ง แค่รู้สึก ก็รู้เรียบร้อยแล้ว รู้ชัดหรือรู้ไม่ชัด ก็คือเห็นเท่ากัน ใจที่ไปรู้แทบไม่ต้องมีภาระ แค่รู้สึก แค่หัดรู้สึก ต้องหัดรู้สึก เราต้องการความรู้สึกที่ไร้เจตนา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย 4 กุมภาพันธ์ 2566

Direct download: nat660204.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาอารมณ์มากระทบ จิตต้องหวั่นไหว แล้วก็มีสติรู้เอา อันนี้ถึงเป็นจิตรู้สึกตัวที่ถูกต้อง ถ้าอารมณ์กระทบมาแล้วนิ่ง ก็จะไม่มีทางพัฒนา เพราะอาการเพ่งหรือนิ่ง ไปปิดกั้นอายตนะทางใจ ความปรุงแต่งเป็นกำแพงมาบล๊อกไว้ ความรู้ความเห็นอะไรก็เข้าไม่ถึง ชนกำแพง ความเป็นไตรลักษณ์ก็เข้าไม่ถึงจิต" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย 7 มกราคม 2566

Direct download: nat660107.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าปัจจุบันจะนั่งทำฌาน ก็เหมือนที่หลวงพ่อพุธท่านว่า ชาตินี้เลยไม่ต้องเจริญปัญญา สุดท้ายชีวิตนี้ก็ขาดทุน เพราะถ้าจะเข้าฌานก็เข้าไม่ได้ เข้าแบบเพ่งๆ ก็ไม่ได้สมถะจริง ทั้งชีวิตก็ติดอยู่แค่นั้น จิตก็เคร่งเครียด สุดท้ายก็ได้จิตที่เป็นอกุศล ทำฌานไม่เหมาะ ไม่เหมาะกับยุคสมัยด้วย วิธีที่เหมาะกับปัจจุบัน วิธีที่ใช้การเจริญสตินำ สติสำคัญที่สุด สายวิปัสสนายานิกจะเจริญสตินำ แล้วสมาธิจะตามมาเอง เมื่อสติถูก ความรู้สึกตัวถูก อารมณ์มันต่อเนื่องก็เกิดสมาธิ แล้วความสุขก็มา แต่สุขไม่ถึงฌาน แต่พอที่จะเจริญปัญญา แล้วพอที่จะคลายความทุกข์ เจริญวิปัสสนาได้" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน 27 พฤศจิกายน 2565

Direct download: nat651127.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat651126.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ลดความจงใจ มันก็จะไม่เหนื่อย มันไปตั้งใจมากไป มันจะแข็งไปนิดนึง จ้องยังกับอะไรล่ะ เหมือนยืนอยู่บนเส้นลวด กลัวตกอะไรอย่างนี้ ไต่ลวดน่ะ เหมือนกายกรรม มันไม่ต้องขนาดนั้น ท่องไม่ต้องถี่ยิบก็ได้ ท่องสบายๆ ลดความจงใจ ลดการเพ่งลง จ้องจุดเดียว มองจุดเดียว อันนี้แหละเหนื่อยแน่นอน ลองห่างๆ ท่องสบายๆ เหมือนถ้าใช้ความคิด ก็ไม่ต้องนึกดัง นึกเบาๆหน่อย" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน 25 พฤศจิกายน 2565

Direct download: nat651125B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ควรจะทำยังต่อไป จับหลักให้ถูก แล้วก็ทำ มีแค่นั้น ไม่มีอะไรมากกว่านั้นเลยนะ การภาวนา ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีอะไรยุ่งยาก ทุกคน ตั้งแต่ภาวนาใหม่ๆ จนภาวนานานแล้ว ก็ทำแบบเดียวกันหมดเลย ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยนะ กระบวนท่าทำเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ที่เปลี่ยนคือ ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน 25 พฤศจิกายน 2565

Direct download: nat651125A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทำเรื่องจิตให้มันถูกก่อน ทำเรื่องจิตให้ถูกเนี่ยท่านใช้คำว่า จิตตสิกขา เรียนรู้เรื่องจิตเพื่ออะไร? ยังไงก็ต้องมีสมาธิ มากน้อยก็อย่างที่พระอาจารย์ท่านสอน แล้วแต่จริต แต่ยังไงก็ต้องมีสมาธิ สมาธิ หรือจะว่าเป็น ความรู้สึกตัวก็ได้ หรือจิตผู้รู้ ถ้าเกิดสมาธิมันมาก มันก็จะมีจิตผู้รู้ขึ้นมา อะไรก็ได้ ต้องให้มีสักอันหนึ่งก่อน ถ้าไม่มี มันก็จะดูยากมากเลยนะ มันไม่มีสมาธิเนี่ย จะดูอารมณ์อะไร ก็ดูไม่ไหว ถึงมีบางครั้งยังดูไม่ไหวเลย ถ้าอารมณ์ที่มากระทบแรง มันก็ดูไม่ไหว ถ้าไม่มีเลย ดูไม่ได้ มันจะยากมาก เหมือนคนแทบไม่ทำเลย แล้วจะมาตามดูอย่างนี้ จิตมันจะฟุ้ง มันจับไม่ไหว มันไม่มีกำลัง เพราะฉะนั้น เบื้องต้นต้องทำจิตให้มันดีก่อน" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน 24 พฤศจิกายน 2565

Direct download: nat651124.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าจะให้จิตมีกำลัง ต้องมีคำบริกรรมด้วย ต้องมีกรรมฐานหนึ่งอย่าง คือแรงที่เป็นจากสมถะ มันเกิดจากการที่เราบริกรรมต่อเนื่องยาวขึ้น แต่เมื่อบริกรรมและสังเกตจิตไปด้วย มันจะไม่ติดเพ่ง มันจะได้สมถะที่ดี สมถะ แม้แต่จิตที่มีผู้รู้ ก็ถือว่าเป็นสมถะ เป็นสมถะที่ดี ที่เอามาเจริญปัญญาได้" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 13 สิงหาคม 65

Direct download: nat650813B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทุกสภาวะเป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ จิตที่หนีไปคิด ถ้ารู้ก็ได้แต้มหนึ่ง จิตที่เพ่ง รู้ก็ได้แต้มหนึ่ง ฉะนั้นไม่ต้องหงุดหงิด เพราะทุกอย่างคือการเรียนรู้ ไม่ต้องตั้ง(ธง)ที่ความสงบ ความสงบเกิดขึ้น ก็ไม่มุดลงไปในความสงบ เพราะมันก็เป็นสิ่งที่เรียนรู้ เหมือนเพ่งกับเผลอ จิตจะค่อยมีสติที่ถูกขึ้นมาเอง ถ้าจะเอาความสงบให้ได้ เพ่งแน่นอน เพราะทำด้วยความโลภ พอไม่สงบก็หงุดหงิด เพราะเกิดตัณหาตีกลับ ยิ่งหงุดหงิด ยิ่งโทสะขึ้นไปกันใหญ่เลย เพราะไปตั้งธงผิด" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 13 สิงหาคม 65

Direct download: nat650813A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เห็นไหมว่า อาการ เคลื่อนไหว หยุดนิ่ง มันอยู่ที่ใจ อยู่ตรงรู้สึก รู้สึกมากๆ พัฒนาความรู้สึกขึ้นมา รู้สึกได้สมบูรณ์เมื่อไหร่ ก็จะเห็นจิตเมื่อนั้น เห็นรู้สึกตัวได้เมื่อไหร่ ก็ถือว่าเห็นจิต ถ้าเห็นจิตเมื่อไหร่ ภาวนาจริงๆ มันถึงจะมา นึกออกไหม เพราะฉะนั้น ต้องหาจิตให้เจอ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 12 สิงหาคม 2565

Direct download: nat650812B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าวิหารธรรมอันไหนทำแล้วไม่สบาย ก็แสดงว่าไม่ใช่แล้ว เพราะมีความสบายถึงจะเกิดความสุข มีความสุขก็อยากจะอยู่กับกรรรมฐานแบบนี้ ความสุขก็ให้เกิดสมาธิ ก็ตามสเต็ป ถ้าอันไหนไม่สบายก็ไม่ใช่เครื่องพักของเราแล้ว มันจะเป็นวิหารธรรมได้อย่างไร" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน 12 สิงหาคม 2565

Direct download: nat650812A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"รู้ด้วยความรู้สึก มันรู้ด้วยความรู้สึก มันไม่ใช่รู้ด้วยตา ไม่ต้องเอาจิตเหมือนตาไปดู ใช้ความรู้สึกรับรู้ มันจะเบา ไม่หนัก ไม่เพ่ง แต่เบาใหม่ๆ จะรำคาญ รู้สึกว่ามัน ไม่แล้วใจ แต่จริงๆ แค่นี้ พอ!" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓

Direct download: nat631024.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาจนสงบ ก็ไม่ใช่ไปสนใจความสงบ เพราะถ้าไปสนใจความสงบ มันจะเข้าช่องสงบไปหลับ ความสงบมีอยู่ แต่ความรู้สึกก็ต้องมีอยู่ ให้มันอยู่ทั้งสองตัว ต้องให้มีความสงบและความรู้สึก ถ้าทิ้งความรู้สึก ก็จะสลบ ไม่ใช่สงบ" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๓

Direct download: nat631023B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ความเคยชินสำคัญมาก คือการสร้างนิสัย(การภาวนา) พอเกิดความเคยชิน ว่างปุ๊บใจก็จะนึกเรื่องนี้(ภาวนา)ก่อน เหมือนเราหยิบโทรศัพท์มือถือ ว่างปุ๊บหยิบปั๊บมาดูทันที อันนี้คือความเคยชิน มันกลายเป็นนิสัย ฉะนั้นเราก็ต้องทำให้เป็นแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นว่างปุ๊บ หยิบจิตขึ้นมาดู เราต้องหยิบขึ้นมาดูก่อน เรายังไม่ใช่ขั้นปล่อยว่างจิต เราต้องหยิบจิตขึ้นมาดูก่อน แทนหยิบโทรศัพท์ ตื่นลืมตาปุ๊บ ดู(จิต)ก่อน ต้องทำให้ได้อย่างนั้นก่อน ถ้าไม่ได้อย่างนี้จะภาวนายาก เพราะจะขาดความต่อเนื่อง" --ทันตแพทย์ ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๓

Direct download: nat631023A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"อย่าไปตั้งความหวังมาก อยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันขณะให้ดีที่สุด รักษามาตรฐานใน 1 หน่วยของปัจจุบันขณะให้ดีที่สุด มันก็จะดีเอง อย่าไปมองไปข้างหน้า แล้วก็พยายามจะทำให้มันได้ พยายามอยู่ที่ไหน ก็ล้มเหลวอยู่ที่นั่น ทำที่ปัจจุบันขณะให้มันดี ก้าวที่ 1 ให้มันถูกตลอดนะ ก็กลับไปว่าวางจิตอย่างไร แค่สะเทือนให้เห็น เนี่ย 1 ก้าว ก้าวแรกต่อไปอย่างนี้ถูก ก้าวต่อไปก็ก้าวที่ 1 ไม่มีก้าวที่ 2 มีความเพียร รักษาก้าวที่ 1 ไม่มีก้าวที่ 2" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630211.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จุดประสงค์คือ ให้รู้ชัด จิตตั้งมั่น รู้สึกชัดคือ ตัวรู้เมื่อจิตถึงฐาน ความสงบมีอยู่ แต่ต้องมีพร้อมความรู้สึก ถ้าใจไปสนใจความสงบอย่างเดียวจะเป็นนิ่ง" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630210B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สมาธิมีคุณค่า จำเป็นนะ ดังนั้นถ้าทำรูปแบบได้ทุกวัน ออกมาใช้ชึวิตในชีวิตประจำวันจะสบายเลย ตามดู เก็บแต้มอย่างเดียว ออกมาก็เก็บแต้มต่อ กลับบ้านไปก็ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะมันดูได้เยอะ มันไม่ได้ทั้งวันหรอก แต่มันดูได้เยอะขึ้น และดูง่าย มันเห็นอะไรง่าย สบาย ไม่ต้องใช้ความพยายาม ไม่ต้องคาดเดาว่า เอ๊ะ เมื่อกี้ เห็น ใช่หรือเปล่านะ คำนี้จะไม่ค่อยมี พอดูง่ายมันก็จำง่าย สภาวะอะไรก็จำง่าย ทีนี้จิตเคลื่อนก็เห็น เห็นง่าย ก็จำง่าย สติก็เกิดง่ายขึ้นไปอีก ตอนนี้ความรู้ที่มันลอยๆ รู้ไม่ชัดก็จะชัดขึ้นไปอีก พอสติที่ถึงฐานเล็ก เล็ก เล็ก เล็ก ที่เค้าเป็นขณิกะเริ่มเกิด จะทำให้ตอนเราทำในรูปแบบ จิตจะค่อยๆลงมาสู่ฐาน" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630210A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าจิตมีความสุข ให้เห็นว่า จิตที่มีความสุขนั้นเป็นเวทนา จิตที่มีความรู้สึก ในความรู้สึกไม่ได้มีความสุข จิตที่มีความรู้สึกมันแค่รู้อย่างเดียว จิตที่มีความสุขเป็นอีกจิตหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจที่ทำให้จิตมันไหล หลง เข้าไป ความสุขนั้นอาจจะรวมถึง ปีติ ปีติ ก็คือความสุขอย่างหนึ่ง แต่เป็นสภาวะที่มันหยาบและรุนแรงกว่าสภาวะของเวทนาที่เรียกว่าสุข ถ้ายังไม่เห็นปีติหรือสุขก็ยังไม่ต้องรีบ เพราะว่าความสงบหรือสภาวะเรายังไม่พร้อม เราก็เฝ้าดูไป" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630209B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จริงๆ ไม่ต้องการอะไรเลย ต้องการมี รู้สึก กับสิ่งที่ถูกรู้ เท่านั้นเอง ทุกอย่างเป็นสภาวะหมด จะสงสัย ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ สงสัย รู้ว่าสงสัย ถูกเลย" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630209A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"บริกรรมอย่าพยายามมุ่งเอาความสงบ บริกรรมแค่แตะๆ เป็นฉากๆ ถ้าบริกรรมจับให้สงบ เวลามันเผลอ มันเผลอแรง มันจะดีดกลับแรง ต้องแตะเบาๆ ให้เป็น Background แล้วพอมันลืม มันจะเห็นเร็ว" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630208B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ไม่ว่าจะทำวิธีไหนก็ตาม ลักขณูปณิฌานต้องทำให้ได้เสียก่อน แม้จะเติมอะไรที่มากขึ้นตามจริตของแต่ละคน แต่ว่า Basic หรือ Minimum Requirement ต้องทำให้ได้ คือ ทำจิตที่รู้สึกตัวให้ได้ จะทำมากจนถึงจิตมีกำลังมาก จากขณิกสมาธิเป็นอุปจารสมาธิ หรือเป็นฌาณก็แล้วแต่ ถ้าใครสามารถทำได้ แต่อย่างน้อยต้องให้ได้ ขณิกสมาธิ พื้นฐานของขณิกสมาธิ คือ ความรู้สึก รู้ชัด ให้เกิดขึ้นเสียก่อน ถ้าไม่ได้ตัวนี้ จะภาวนาไม่ได้ ถ้าได้ตัวนี้ วิปัสสนูปกิเลส ก็จะไม่เกิด เพราะว่าวิปัสสนูปกิเลสนั้น หลวงพ่อฯเคยบอกไว้ว่า เกิดจากจิตที่ออกไปรู้ข้างนอก ขาดสมาธิ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

Direct download: nat630208A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ผู้เรียน : กราบพระให้ดูร่างกายเคลื่อนไหวใช่ไหมครับ คุณหมอณัฐ : ใช่ แต่ว่าให้ย้อนดูใจด้วยว่า ตรงที่กราบเนี่ยมีการสำรวมหรือรวบใจไว้ รู้กาย แล้วก็รู้ใจด้วย ถ้าไม่เห็นการรวบ ก็จะติดรวบ ถ้าเห็นสิ่งใด ก็ไม่ติดสิ่งนั้น" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจีนครั้งที่๑๒ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621228B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การดูลมหายใจ หรือ ทำกรรมฐานอะไรก็ตาม สิ่งที่เราต้องการคือ ความรู้สึก ความรู้สึก เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความรู้สึก จะนำไปหาความรู้สึกตัว ความรู้สึก กับความสงบ เป็นคนละตัว ในความสงบอาจจะไม่มีความรู้สึก แต่ในความรู้สึก มีความสงบหล่อเลี้ยงอยู่ ความสงบที่มีความรู้สึก จะนำเข้าหาสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ในความรู้สึกพร้อมความสงบ ที่เรียกว่าสมาธิ เพราะมีความ รู้ ตื่น เบิกบานอยู่ มีภาวะ รู้ ตื่นตัว จิตไม่ขี้เกียจ พร้อมทำงาน อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ไม่ใช่การ ควบคุม บังคับ" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจีนครั้งที่๑๒ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621228A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ให้จับความรู้สึกไว้ เพื่อจิตมันจับอารมณ์ ยึดอารมณ์น้อยที่สุด ยังเป็นสมถะอยู่ ไม่ถึงขึ้นปัญญา แต่เพื่อพัฒนาให้จิตมันลงฐานและใกล้กลาง สุดท้าย มันทิ้งตรงนี้ มันรู้สึกที่เป็นกลาง มันจะง่ายคือ ภาระที่มันจะเพ่งหรืออะไร มันน้อยที่สุด จิตจับ รู้สึกๆ สักพักหนึ่ง นี่เป็นแค่เหตุ ยังไม่ใช่ผล สุดท้าย ความรู้สึกที่เป็นผล ที่ไม่ได้จงใจ มันจะเกิด มันจะชัดมาที่จิต แล้วกำลังทั้งหลาย มันจะทำให้จิตเป็นตัวรู้ที่ชัดขึ้นมา แล้วพอชัด รูปนามกายใจ มันก็ค่อยๆ แสดงตัวที่ไม่เกี่ยวข้องขึ้นมา แล้วก็พัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วปัญญา ก็ค่อยๆ ออกมา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สเนยยะ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621214.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สติ มี 2 แบบ สติธรรมดา กับสติที่เกิดจากการระลึก มีความรู้สึกตัวเป็นองค์ประกอบ ต่างจากสติ ที่เราเข้าใจทั่วไป สติทั่วไปต้องใช้การเพ่งจ้อง จะไปรู้สิ่งที่อยาก ไปเพ่งดู แต่มันลืมกาย ลืมใจ อันนั้นมันก็มีประโยชน์ ทำงานต้องใช้อย่างนั้น ทำงานเราก็ต้องใช้ รู้สิ่งที่เราไปสนใจ ตอนรู้สิ่งที่สนใจ สติแบบที่ 2 ไม่มี ถ้ามีสติแบบที่ 2 สติแบบที่ 1 ก็ไม่มี มันจะสลับกัน ถ้าจะเอามาเดินวิธีการของการภาวนา ต้องใช้สติแบบที่ 2 สติแบบที่1ใช้ไม่ได้มันไม่ใช่ของจริง เพราะมันไม่ย้อน เข้ามาดูกาย ดูใจ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจิตเกษม ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621123.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เรามีสมาธิในการเพ่งดู เพ่งจ้อง อันนี้เรียกว่ามีสติทั่วไป ไม่ใช่สติที่เป็นความรู้สึก สติที่เป็นความรู้สึก มันมีสมาธิอยู่ในนั้น มันจะไม่เคลื่อน จะระลึกรู้ รู้ชัดในร่างกายจิตใจ ทำขึ้นไม่ได้ แต่หัดมันได้ หัดแล้วจะเกิด" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจิตเกษม ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621122.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าจะบริกรรมไปเดินไป แสดงว่ากรรมฐานหลักคือคำบริกรรม เดินไปไม่ได้สนใจร่างกาย สนใจคำบริกรรม บริกรรมแล้วย้อนมาดูใจ เพ่งให้เห็น เผลอให้เห็น เพราะร่างกายไม่ใช่ตัวกรรมฐานหลัก ชอบคำบริกรรม พอบริกรรมไป ก็ต้องย้อนมาดูใจ ต้องไปจับ principle ให้มันถูก จะได้เห็นจิต ไม่งั้นไม่เห็น" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย ๙ พฤศจิกายน

Direct download: nat621109B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สติที่ต้องพัฒนา คือสติที่มีความรู้สึกตัว มีความรู้สึกตัวเป็นองค์ประกอบ จิตจะมีสมาธิในนั้น ตั้งมั่นขึ้นมา รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง แต่เรื่องที่พูดอาจจะไม่รู้เรื่อง มันจะมารู้แค่กายใจอย่างเดียว รู้แล้วความจริงจะปรากฎ เห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริง รูปนามกายใจจะแยกออก เมื่อแยกมันจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้เราดู ขณะนั้นความคิดมันจะไม่มี มันจะมีสภาวะที่รู้ซื่อๆ รู้สึกตัวล้วนๆ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621109A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทำงานทุกวัน ถ้ามีปัญหาต้องแก้ไขใช่ไหม อันนี้แก้ไขไม่ได้ ถ้าแก้ไข ผิดเลย! เป็นกฎธรรมชาติของมัน แบบนั้น เป็นเรื่องของพลังงาน ต้องรู้ตามความเป็นจริง ให้มันเลิกทำเอง เห็นความเคยชิน ว่ามันทำแบบนี้ สุดท้ายพอเลิก พวกพลังงานที่เหลือ มันก็ค่อยๆ เสื่อมไปตามธรรมชาติ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป พลังงานก็ค่อยๆ หมดไป เติมพลังงานใหม่ที่ดีเข้าไป เท่านั้นเอง" --คุณหมอณัฎฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สเจริญสติในชีวิตประจำวัน กลุ่มจิตหนึ่ง ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621103.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"อย่าไปแยกว่าอันนี้เดินธรรมดา อันนี้เดินปฏิบัติ อย่างนี้จะเครียด ต้องให้เป็นอันเดียวกันไปเลย เดินไปห้องน้ำก็เดินจงกรม เดินไปทำงานก็เดินจงกรม ถ้าเราไปแยกว่าเดินจงกรม นี่คือเดินพิเศษ อันนี้เสร็จเลยจะเครียด เพราะพิเศษปุ๊บก็จะควบคุมใจทันทีเลย จะแน่น ฉะนั้นทำใจสบายๆ ไม่เครียด" --คุณหมอณัฎฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สเจริญสติในชีวิตประจำวัน กลุ่มจิตหนึ่ง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621102.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จิตสิกขา คือเรียนรู้เรื่องจิต รู้เรื่องจิตจนกระทั่งเข้าใจว่า จิตที่เข้าไปดูหน้าตาเป็นยังไงด้วย วางใจแค่นี้ ไม่เพ่ง ให้มันสักแต่ว่าดูให้เป็น ให้มันยอมดูได้ แค่นั้น มากกว่านี้ให้เป็นส่วนเกินให้หมด ให้มันอยู่แต่กับ สักแต่ว่ารู้ อีกหน่อย มันก็อยู่กับรู้สึกไป ต้องอาศัย รู้สึกไปเรื่อยๆ มันก็มีแค่นี้ ทำแค่นี้แหละ ให้มันคุ้น" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๕​ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621015.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การทำวิปัสสนาโดยการใช้เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาของสมถยานิก ผู้มีปัญญากล้า ผ่านกายมาแล้วเข้าสู่เวทนา ต้องใช้กำลังฌานหนุน ถึงจะคิดพิจารณาได้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ เวทนาไม่ใช่เรา เพื่อให้เห็นขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา พิจารณาพอขาดปุ๊ป จิตก็แยกออกมาเป็นจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา เวทนาก็ขาดออก ขันธ์ก็แตก แล้วมันก็ซาบซึ้ง โอ้! เวทนาไม่ใช่เราจริง มันก็ทิ้ง คือ ถ่ายถอนความเห็นผิดนั่นแหละ ถ้ากำลังไม่พอ ดูไม่ไหว" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621014B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สติที่ถูก สมาธิที่ถูก เป็นเรื่องจำเป็น ใช้เป็นกำลัง ถ้าไม่มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ มันทำไม่ไหว ต้องเกิดสติที่ถูก มีกำลัง ถึงจะเกิดสมาธิขึ้นมา ไม่ต้องเยอะแต่ให้มีหล่อเลี้ยงไว้ทุกวัน ให้เกิดความเคยชิน" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621014A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลารู้สึกลมหายใจโดยไม่เพ่ง ลมหายใจเข้าออกจะไม่อึดอัด ไม่ได้บังคับลม ลมจะไหลเข้าไหลออกปลอดโปร่ง เพราะว่าจิตลืมที่จะยุ่งกับลม แต่มองความรู้สึกอยู่ ลมก็เลยเข้าออกธรรมชาติ ไม่ไปเจ้ากี้เจ้าการกับลม อย่างนี้จะทำให้รู้สบายๆ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621013B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"อย่าพยายามรู้ตัว ให้หัดรู้สึกเท่าที่รู้ได้ ถ้าพยายามรู้ตัว มันจะอยากรู้ตลอดเวลา มันจะเพ่ง มันเกินธรรมชาติ สุดท้ายจะได้เพ่งแถมมา ธรรมชาติเมื่อมีความรู้สึก กระแสของจิตจะหดเข้ามา มันจะเข้ามาเอง จะกลับเข้ามาหาบ้าน เข้ามาหากายและใจ คอยสร้างความรู้สึก ให้มีกรรมฐานให้จิตอยู่ ต้องหางานให้จิตทำ รู้กายบ้าง รู้ใจบ้าง ให้จิตจำสภาวะรู้สึกให้ได้ ใหม่ๆ จิตยังจำไม่ได้ ต้องรู้สึกตัวบ่อยๆ แล้วก็สะสม พอจิตจำสภาวะได้ เกิดสติอัตโนมัติขึ้น" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621013A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การฝึกรู้สึกจากการดูร่างกายขยับเข้าขยับออก นี่คือรูปเคลื่อนไหวและหยุดนิ่ง อย่างเวลาเราหายใจเข้า เห็นซี่โครงบานออกคือไหวแล้วก็หยุด ไม่ต้องรู้ว่าอะไรไหว แค่มีรูปหนึ่งที่เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดแค่นี้เอง ใช้ความรู้สึก จับอาการ จับลักษณะ สนใจแค่ว่ามีสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวแล้วก็หยุด เหมือนการดูท้องพองยุบ ไม่ได้สนใจท้อง รู้แค่อาการลักษณะเคลื่อนไหวแล้วก็หยุด รู้รูปเคลื่อนไหวแล้วหยุด ไม่ได้อยู่ที่ท้องแต่อยู่ที่ใจ ใจเป็นคนรู้สึก เป็นอาการปรมัติรับรู้ด้วยความรู้สึก อย่างนี้คือฝึกรู้สึก ใช้หลักการณ์เดียวกันหมด" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621012B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าสติเกิดเต็มที่ จิตจะมีสมาธิเกิดขึ้น ฟังเพลงก็ไม่รู้เรื่อง ฟังเพลงก็ไม่ได้แปลความหมาย เห็นแต่ความเป็นจริงของรูป นาม กาย ใจ สติอันนั้นประกอบด้วยความรู้สึก เป็นความรู้สึกตัว ในความรู้สึกตัวมีสมาธิเรียบร้อย เพราะฉะนั้นจะไม่รู้สึกถึงตัว คำว่าถึงตัวนี้ คือ ถึงจิต อันนี้เกิดสมาธิเรียบร้อยแล้ว" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621012A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การปฏิบัติต้องทำเอง ต้องสร้างความสม่ำเสมอ อันนี้สำคัญมาก ทำทุกวันห้ามขาด ทำเวลาเดิมซ้ำๆ ให้เกิดความเคยชิน ชินเมื่อไรก็เกิดเป็นนิสัย นี้ก็ไม่ยากแล้ว ถ้าทำบ้างไม่ทำบ้างสุดท้ายก็เลิก มันจะมีลำบากช่วงแรกนิดเดียว ทำแล้วยังไม่เห็นผลก็ต้องหาวิธีที่ง่ายที่สุด ที่ทำแล้วไม่ซับซ้อนและเห็นผลเร็ว จะได้เกิดกำลังใจ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620825.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จิตถึงฐาน หน้าตาเป็นยังไง มันก็เหมือนความหวาน ความเค็ม อธิบายได้ไหม เมื่อถึงเวลาก็รู้เอง อธิบายเทียบเคียงได้ว่า มันมีความชัด มีความตั้งมั่น มีภาวะรู้เด่นขึ้นมา ตั้งมั่นถึงกายถึงใจชัดโดยไม่ใช่เพ่ง ไม่ต้องรักษา ธาตุรู้มันเด่นขึ้นมา เป็นอัตโนมัติ หมดเหตุก็ดับไป มันไม่ใช่ดวงเดียว แต่เกิดดับอยู่ที่เดียว กำลังสมาธิมันหนุนให้ต่อเนื่อง เกิดดับอยู่ที่เก่า อยู่ที่ฐาน" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620824B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ความชำนาญเกิดขึ้น ความรู้สึกหัดรู้สึกก็จะแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายจิตถูกสอนให้สักแต่ว่ารู้เป็น สักแต่ว่ารู้สึกเป็น สุดท้ายจิตมีธรรมชาติของการถูกสอน สุดท้ายเมื่อสอนแล้วมันทำเอง พอทำเอง ความรู้สึกของจริงก็ออกมา เค้าเรียกว่า Automatic ตอนนั้น สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นขณะจะเกิดขึ้นทันที รู้ชัดขึ้นมา" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620824A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"วิปัสสนายานิกเป็นอย่างนี้ จะเห็นสภาวะไม่ค่อยชัด บางทีผลลัพธ์เปลี่ยนไปแล้ว แต่มองไม่เห็น มันต้องทำเยอะๆ เพราะกำลังมันน้อย กำลังสมาธิมันเหมือนแว่นขยาย ทำให้เห็นสภาวะชัด ตัวภาวะเกิดดับของรูปนาม มีสมาธิเป็นตัวสำคัญ จะทำให้เห็นช่องว่างคั่น เห็นภวังคจิตที่มันขาด แล้วเกิดจิตดวงใหม่ขึ้นมา ถ้ากำลังน้อย มันจะเห็นว่าตัวนี้หายไป แล้วมีตัวนี้ แต่ตรงกลางตรงที่มันเป็น เหมือนหายไปเลย วู๊บ! มันขาดดับ แล้วตัวใหม่เกิดขึ้น มันมองไม่ค่อยเห็น เพราะว่ากำลังมันน้อย แต่ทำบ่อยๆ ก็เห็น ไม่ใช่ไม่เห็นนะ แต่ต้องเติมไปอีก" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620823B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"บริกรรมแล้วรู้เผลอ เพ่งก็รู้ เผลอก็รู้ ถ้าวันไหนฟุ้งซ่าน ก็จะเผลอมากกว่าเพ่ง ถ้าวันไหนไม่ค่อยฟุ้ง ก็จะเพ่งมากกว่าเผลอ ก็รู้ไปหมดนั่นแหละ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620823A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เราฝึกดูกายดูใจไปเรื่อยๆ แปรงฟันก็ทำได้ ก่อนนอนแทนที่จะคิดนู่นคิดนี่ เราก็มารู้สึกไป บริกรรมไป หรือดูลมไป จิตเผลอรู้ ถ้ามันเคยชิน พอหลับตาจะนอนมันก็ย้อนมาดู จิตมันระลึกได้ว่าต้องมาดู เพราะมีความเคยชิน เพราะฉะนั้นต้องสร้างความเคยชิน สร้างนิสัยใหม่ ถึงเวลาจิตจะรู้ว่างานตรงนี้ต้องทำ งานตัวนี้ต้องทำก่อน พอว่างปุ๊บก็ทำ พอทำแล้วการภาวนาก็เจริญขึ้นๆ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620822B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ธรรมชาติของใจฝึกได้สอนได้ แต่อย่าไปบังคับ บังคับไม่ได้ เช่นเราขยับมือแล้วหยุด เรารู้ว่าไหวแล้วก็หยุด เรารู้ได้เลยโดยไม่ต้องเอาใจลงไปดู รู้ได้เลย รู้ทันที มันไม่ต้องไปรู้ว่านั่นเป็นมือ รู้แค่ว่ามีสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวแล้วหยุด ไม่ต้องหารายละเอียด เราต้องการหัดวางใจประมาณนั้น เรียกว่าหัดรู้สึก รู้ด้วยใจ พอหัดรู้สึกบ่อยๆ ใจถูกสอนให้หัดรู้สึก ใจจำสิ่งนี้ได้ อีกหน่อยความรู้สึกแท้จริงจะเกิดขึ้น มันรู้สึกเอง และในนี้จะมีสมาธิซ่อนอยู่เรียบร้อยแล้ว นี่คือการเจริญสติ หัดรู้กายรู้ใจทำแบบนี้ หลักการจริงๆ มีแค่นี้ แต่วิธีต่างๆ มันเป็นอุบาย หลักก็คือให้รู้สึก" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติสัมมาสมาธิในภาคการปฏิบัติ๒ โดยบ้านสติและกองบุญอธิจิตฺต โพธิ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620822A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จำหลักไว้ว่าบริกรรมให้เห็นจิต บริกรรมแล้วจิตไปคิดให้รู้ว่ามันกำลังคิด แล้วก็กลับมาบริกรรมใหม่ บริกรรมไปเรื่อยๆ อีกหน่อยพอจิตเผลอไปก็จะเห็น เราต้องการให้เห็นว่าจิตเผลอไป เพ่งก็ให้เห็น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ อีก 10 ปีก็ทำแบบนี้ ทั้งชีวิตก็ทำแบบนี้ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ให้รู้ว่าเผลอแล้วก็มาบริกรรมใหม่ เริ่มต้นใหม่อย่างเดียว" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620701.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"กรรมฐานรู้ลมหายใจ ให้จับความรู้สึกเวลาหายใจ ให้รู้อยู่ที่ความรู้สึก จะรู้ได้สบายๆ ไม่ได้ให้ดูลม แต่ให้ดูความรู้สึก พอจับความรู้สึกที่หายใจได้แล้ว ไม่ต้องหายใจแรง ให้หายใจเป็นธรรมชาติ ลมพาความรู้สึกไปที่ใจ ความรู้สึกจะชัดที่ใจ ดูและจำความรู้สึกนั้นไว้ ความรู้สึกจะเด่น ความรู้สึกกับลมหายใจจะแยกกัน จะไม่อึดอัดเพราะไม่ได้บังคับลม" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620630B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เดินสบายๆ อารมณ์เหมือนเดินทอดน่องชมสวน ถ้าไม่เห็น ก็ลงน้ำหนักไปนิดนึง ให้สภาวะมากระทบใจ ไม่ใช่เอาใจลงไปหา ให้อยู่เฉยๆ แล้วมันมากระทบ มีความชัดพอที่มันมากระทบ ไม่ใช่เอาใจเข้าไปหามัน มันไม่เหมือนกันนะ ถ้าเอาใจเข้าไปหา มันนจะน้อมลงไป มันก็เลยไม่สักแต่ว่ารู้" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620630A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เราทำกรรมฐานในรูปแบบเพราะต้องการกำลังของจิต ต้องมีอารมณ์เดียวให้จิตเกาะ เช่น ลมหายใจ บริกรรม หรือเดินจงกรม ถ้าไม่มีกรรมฐานให้จิตเกาะ บางทีจะดูไม่ไหวเพราะจิตไม่มีกำลัง ต้องกลับมาที่กรรมฐาน เช่น บริกรรมแล้วจิตเคลื่อนก็ให้รู้ รู้เสร็จก็กลับมาบริกรรมใหม่เพื่อเติมกำลัง" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620629C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่านไม่ได้อยู่ที่บริกรรม อยู่ที่ว่าเอาอะไรให้จิตจับเป็นที่ยึดเกาะของอารมณ์ ความคิดที่ฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆหายไปเพราะจิตมีที่เกาะ จะใช้กายหรือใช้จิตก็ได้ ใช้กายก็คือการเดิน รู้อิริยาบทต่างๆ หรือใช้จิต การบริกรรมก็คือจิต คือความคิด ใช้ได้ทั้งสองอย่าง หรือจะเดินและบริกรรมไปด้วยก็ได้ แต่ให้จิตเคลื่อนไหวแล้วรู้จิตไปด้วย ถ้าไม่ดูใจเคลื่อนไหวจะเป็นการเพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620629B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สมาธิเกิดจากสติที่มันต่อเนื่อง สติที่ต่อเนื่องในอารมณ์เดียว ก็จะเกิดความสงบ ถ้าเราไปเพ่งอารมณ์เดียว ก็สงบแบบเพ่ง ถ้าเรารู้สึก หัดรู้สึก  ทำสมาธิ เจริญสติให้เกิดความรู้สึกตัว รู้สึกไป รู้สึกในอารมณ์เดียว รู้ไป สักแต่ว่ารู้ รู้สึกไปเรื่อยๆ กำลังของความรู้สึกก็รวมตัวๆ ก็เกิดสมาธิ เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัว เพราะมันมีรู้อยู่" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์ส กฟผ. ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620629A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"หายใจธรรมดา เคยหายใจอย่างไร ก็หายใจอย่างนั้น แล้วก็หลับตารู้สึกเอา ไม่ต้องไปดูลม ให้นึกว่าลืมตาอยู่ ให้รู้สึกว่ามันมีลม รู้สึกว่ามีลม ไม่ใช่ไปเพ่งลม ไม่ต้องรีบให้สงบ ให้รู้สึกไปสบายๆ อย่าไปกดบังคับลม ลมบังคับไม่ได้หรอก ให้นึกว่าลมไม่ใช่ของเรา ไม่ต้องนึก ยังไงก็ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว มันเป็นข้างนอก ยืมมาใช้ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว ให้เห็นว่ามันมีความแปรปรวนของลม มีเข้าก็มีออก มีเข้าก็มีออก ให้เห็นพิจารณาแบบนี้ มันมีความไม่เที่ยงอยู่ในลม เข้าแล้วต้องออก ลมเบาลมแรงมันเป็นของมันเอง ให้หมายความรู้สึกนี้ลงไป จะทำให้ไม่เพ่ง เพราะอะไร พอเราคิดแบบนี้มันจะมีอารมณ์ของวิปัสสนาเข้ามาเจือ มันจะไม่เข้าไปยึดมั่นในลม ลมจะเป็นแค่ธรรมชาติ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา" --คุณหมอณัฎฐ์ บ้านจิตสบาย ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620608B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"บริกรรมแล้วดูจิต อย่าบริกรรมแล้วคิดว่าให้สงบ ถ้าจะจับความสงบมันจะเหวี่ยงมาคิด พอคิดแรงก็จะฟุ้ง เพราะฉะนั้นบริกรรมไปแล้วให้เห็นใจ ใจเป็นอย่างไรก็ให้รู้อย่างนั้น จิตคิดก็ให้รู้ว่าเผลอไป ถ้าทำแบบนี้คำว่าฟุ้งจะไม่เป็นอุปสรรค เพราะใจคิดแล้วรู้ได้หนึ่งแต้ม ใจเพ่งก็รู้ได้อีกหนึ่งแต้ม เดี๋ยวความสงบที่พร้อมรู้มันจะมาเอง แต่ถ้าเราใจเหวี่ยงไปข้างสงบ เหมื่อนเราจับปลา เราจับแรง พอปลาดิ้นหลุดออกได้ จะดีดออกไปข้างหนึ่งเลย ก็เหมือนหลุดออกไปคิด คราวนี้คิดยาวเป็นเรื่องเลย" --คุณหมอณัฎฐ์ บ้านจิตสบาย ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒

Direct download: nat620608A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"รู้ เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่ไปดูตลอดเวลา รู้สึกไป ในรูปแบบ จิตจะดูได้ถี่หน่อย เพราะว่าเราไม่ได้ทำอย่างอื่น เราก็มีตัวบริกรรม หรือ ตัวลม อะไรที่ช่วยก็เรียก รูปแบบ รูปแบบ ที่ให้จิตมีอะไรเกาะก่อน แล้วก็ดูมันเคลื่อน ในชีวิตประจำวัน ก็ดูไปเลย แต่ไม่ใช่ไปจ้องดู ทำอะไร เดี๋ยวจิตจำได้ มันก็เห็น ก็รู้บ่อยๆ พอจำได้ มันเห็นมาก มันก็ค่อยทำงาน เป็นอัตโนมัติขึ้นเรื่อยๆ" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคการปฏิบัติ 1 ๒๓ เดือนมีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620323C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาเดินจงกรมแล้วเห็นการเพ่งร่างกาย ไม่ต้องสนใจร่างกาย ให้สนใจว่าเพ่ง ให้รู้ว่าเพ่งพอแล้ว เรารู้จิต ร่างกายมันปลายทางไม่ได้สนใจ ให้ดูอาการจิตที่เพ่ง ร่างกายยังไงเราก็รู้อยู่แล้ว เพราะเรายังมีร่างกายอยู่" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคการปฏิบัติ 1 ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620323B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เห็นร่างกายขยับเข้าขยับออกเนื่องด้วยลมก็ได้ ดูไป ถ้าดูอย่างนี้ให้ย้อนมาดูจิตด้วยว่า จิตลงไปเพ่งร่างกายไหม ถ้าจิตไม่ลงไป จิตเผลอให้รู้ จิตเพ่งให้รู้ จะเหลือแค่นี้ พออีกหน่อยที่จิตจำที่เผลอได้ เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ภาวะนี้จะถูกต้อง แล้วจะเห็นเลยว่าร่างกายที่ขยับเข้าขยับออก มันอยู่ห่างๆ ออกไป แล้วจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ต่อไปเลยว่า ทุกอย่างมันทำเอง" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคการปฏิบัติ 1 ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620323A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ต้องมีความสม่ำเสมอ ทำทุกวันต่อเนื่อง ให้เกิดความเคยชิน พอชิน ก็ไม่เป็นภาระ พอทำให้มันเคยชิน ถ้าวันไหนไม่ทำ มันก็ รู้สึกขาดอะไรไปสักอย่าง พอมันชินที่จะทำแล้ว พอทำต่อเนื่อง มันก็สะสมกำลัง สะสมปริมาณและคุณภาพ จิตก็จะค่อยพัฒนาขึ้น ความรู้ความเข้าใจ มันก็จะเยอะขึ้น" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในภาคการปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ๒๔ เดือนมีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620324.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาถูนิ้วมือ เห็นการสัมผัสไหม ในสัมผัสใช้ความรู้สึกรับรู้ รู้ไปที่รู้สึก อย่าไปรู้ที่นิ้ว เวลาสัมผัสมันมีรู้สึก ถ้าคนเข้าใจจะรู้สึกเลยว่า รู้สึกกับสัมผัสมันคนละตัวกัน ทำไมถึงสัมผัสได้เพราะมันมีรู้สึก เห็นไปที่รู้สึกได้ไหม มีแว๊บเดียวแล้วก็ดับไป รู้สึกไปที่รู้สึก อย่าไปเพ่ง รู้สึกหนึ่งครั้งรู้สึกไปเรื่อยๆ รู้สึกสิบครั้งก็อยู่ที่รู้สึกสิบที มันก็ได้ความสงบแบบรู้สึก พอจิตเคลื่อนก็จะเห็น" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ ครั้งที่ 1 ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620322C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การบริกรรมก็เป็นสมถะ แต่ย้อนมาดูจิตด้วยจะได้สมาธิ ถ้ารู้ลมอย่างเดียวเห็นลมเข้าออกตลอดสาย จิตอยู่กับลม ลมไปไหนจิตไปด้วย อันนี้สมถะล้วน เพ่งลมจะได้สมถะแต่ถ้ารู้ว่าเพ่งจะได้สมาธิ ถ้ารู้ว่าเพ่งเรารู้จิตด้วย ถ้ารู้ว่าเพ่งจิตก็จะไม่ไหลไปแนบกับลม" --คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ ครั้งที่ 1 ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620322B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าจับหลักเบื้องต้นได้ เริ่มต้นถูกก็จะถูกไปเรื่อยๆ เพราะว่าไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น การภาวนาหลักการมันมีนิดเดียว ไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็น แต่เมื่อทำถูก ความเห็นความเข้าใจจะค่อยๆ ลึกซึ้งแตกแขนงออกไปเอง ไม่ใช่ว่ามีกระบวนท่าพิสดารไปกว่านี้ ทำไปอีกสิบปีก็ทำไปแบบนี้ ไม่มีอะไรมากกว่านี้ แต่ความรู้ความเข้าใจความชำนาญ ความเห็นแยบยลของใจจะค่อยๆ พัฒนา จะเห็นละเอียดลงไปเรื่อยๆ แต่เริ่มต้นและทุกครั้งก็ทำเหมือนกันหมด" -- คุณหมอณัฏฐ์ คอร์สสัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ ครั้งที่ 1 ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat620322A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ดูลมหายใจหรือบริกรรมใช้หลักการเดียวกันหมด ทำแล้วมารู้ใจ บางคนสงสัยว่าแล้วมันจะสงบหรือ? สงบ เพราะสติเกิดต่อเนื่องความสงบก็มา แต่ต้องเป็นความสงบที่ถูกด้วยเพราะสงบที่ถูก จิตมีคุณภาพพร้อมเจริญปัญญา เกิดลักขณูปนิชฌาน เกิดสมาธิ เกิดความตั้งมั่น เกิดสมาธิที่เป็นสมาธิของชาวพุทธ สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิเอามาทำงาน จิตมาทำงาน จิตไม่ขี้เกลียด" -- ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติในชีวิตประจำวัน พ.ย. ๖๑ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

Direct download: nat611110.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"คนที่ฝึกฝนมาดี จะย่อมเห็นว่า เมื่อลืมคำบริกรรม อาการเผลอ หลงลืม ย่อมเกิด หรือจะเห็นอาการของจิตที่เคลื่อน หรือไหลออกไป ก็ให้รู้ จะรู้ว่ามีความเผลอ หรือหลงลืม หรือจะรู้ว่าจิตมีการเคลื่อนหลงไหล ตัวใดตัวหนึ่งก็ย่อมได้ ขึ้นกับว่า ความเหมาะสมหรือความถนัดในการเห็นของแต่ละคน ว่าจะเห็นอันไหน ซึ่งใช้ได้เหมือนกันหมด เห็นแล้วก็รู้สึก รู้ลงไปว่า สิ่งนี้มีเกิดขึ้น รู้เพื่อ เป็นการสอนจิตให้จิตจำ ว่า เมื่อจิตส่งออก หรือแส่ส่ายไปหาอารมณ์ สภาวะเช่นนี้ ย่อมเกิดขึ้น เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า จิตแล่นไปหาอารมณ์แล้ว ไม่ว่าไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ รู้แล้วกลับมาบริกรรมต่อ ด้วยใจที่สบาย --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ต.ค.๖๑ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat611016.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"หลวงพ่อบอกว่าให้ดูเพื่อให้เห็นจิต ลมหายใจเป็นเครื่องประกอบเหมือนคำบริกรรม เพื่อให้เห็นจิต ไม่ได้ฝึกเอาความสงบ ฝึกเอาสติ ต้องจับหลักนี้ให้ได้ ที่ท่านพูด ฝึกเอาสติ ไม่ได้ฝึกเอาสงบ อย่างนี้คนจะถามต่อว่า แล้วเมื่อไหร่จะสงบหล่ะ เอาแต่สติ ก็สติที่ถูก เดี่ยวมันก็สงบ แต่มันจะสงบแบบมีสติ ไม่สงบแบบเพ่งๆ ไปในอารมณ์" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ต.ค ๖๑ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat611015B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"รู้ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันขณะที่สุด รู้เท่าที่รู้ได้ รู้แล้ว ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่ต้องเสียดายมัน พอหลังจากนั้นแล้ว เลยปัจจุบันไปแล้ว มันก็กลายเป็นอดีต ไม่ต้องไปตามดูมัน เพราะตัวใหม่จะโผล่มา เราก็ดูอีก แต่ก็ไม่ใช่ไปคอยจ้องดูตลอดเวลา ถ้าจ้องดูตลอดเวลา จะเกิดจิตที่เพ่งขึ้น ถ้าเกิดแล้วทำยังไง ก็ให้รู้ว่ามันเพ่ง แต่ถ้ายังไม่เกิด เพราะว่าเข้าใจหลักการดี ก็แค่รู้สึกไป พอเลยรู้สึกก็เป็นเพ่ง ก็เห็นว่าเพ่ง ก็คือกฎเกณฑ์ หรือหลักการ มันเป็นอย่างนี้ มันผ่านไปแล้ว ไม่ชัด ช่างหัวมันนะ เดี๋ยวมันก็มาใหม่ เพราะว่า ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ มันก็มาอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียดาย มาเยอะเลย เดี๋ยวได้ดูจนจำได้แน่นอน" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ต.ค. ๖๑ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat611015A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ตอนให้เกิดความรู้สึกครั้งแรกมันยาก พอเกิดบ่อยเข้า มันเกิดร่องรอยในใจ มันเป็นทาง ที่เคยยกตัวอย่างว่า เหมือนคนขับรถกลับบ้านทุกวัน พอขาดสติ โทรศัพท์ไปมันก็พาไปบ้านได้ มันมีร่องมีรอยในใจอยู่ มันคุ้น มันจำได้ แบบเดียวกัน พอจำได้ปุ๊บ มันรู้แล้วว่า จิตที่จะไปรู้สึกมันเกิดยังไง มันเริ่มง่าย พอง่าย ก็เกิดบ่อยขึ้น ทำหิริเกิดบ่อย พอเกิดบ่อยขึ้น ขบวนการมันก็ค่อยๆ ดำเนินไปตามขั้นตอนของมัน มันยากตอนแรก พอทำได้แล้วมันก็ง่าย" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน ต.ค.๖๑ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat611014.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทำยังไงก็ได้ให้มีความรู้สึกขึ้นมา ถ้ารู้สึกได้ มีกำลังแล้ว ทุกอย่างจะเข้าร่องเข้ารอยหมด แต่ทำยังไงให้มีความรู้สึก อันนี้ต้องทำให้ถูกหลัก แล้วความรู้สึกจะมา พอเกิดความรู้สึกชัด จิตมีสมาธิขึ้นมา ความสงสัยจะหายไปเกือบหมด เพราะทุกอย่างคือเรื่องเดียวกันหมด กี่ร้อยคำถาม เรื่องเดียวหมด" --ทันตแพทย์ณัฎฐ์ คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จ.กระบี่ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๑

 

Direct download: nat610609B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การทำให้จิตหยุดคิด คือการทำสมถะ พักชั่วคราว เป็นการปรุงแต่งแบบหนึ่ง เพราะว่าสมถะหรือสมาธิเป็นของเสื่อม ของมีความเสื่อม แต่จิตปรุงเพื่อให้เกิดประโยชน์ มีจุดมุ่งหมายว่าจะทำมันเพื่ออะไร เพื่อเอาพลังงานนี้มาใช้ ปรุงแต่งดีก็ทำสมาธิ ที่เป็นฝ่ายกุศลก็เกิดพลังงานที่เป็นกุศลมากๆ จิตดวงนี้ก็จะเป็นจิตกุศล เพราะมันสร้างพลังงานของกุศลไว้เยอะ ก็เรียกว่าฝ่ายดี แต่ไม่หมดการปรุงแต่ง เพราะยังไม่มีปัญญาที่ทำให้เกิดการปล่อยวางให้ความปรุงแต่งมันหมด" --ทันตแพทย์ณัฎฐ์ คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จ.กระบี่ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: nat610609A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เราต้องคิดว่าหลักการของเรา บริบททั้งหมดที่เราทำ เราต้องการความรู้สึก ต้องการความรู้สึกให้สติตัวนี้มีจิตที่มีความรู้สึกเป็นองค์ประกอบ สงบไม่ว่า สงบมันต้องเกิดอยู่แล้ว บางคนบอกทำอย่างนี้มันจะสงบยังไง สงบมันต้องค่อยๆ เพ่ง ดิ่ง ดิ่ง ดิ่งลงไป สงบอย่างนั้นเราไม่เอา สงบอย่างนั้นความรู้สึกไม่มี เราต้องการสงบที่มีความรู้สึกลงไปทุกขั้นของความสงบ เราต้องค่อยๆ สงบลงไป ค่อยๆ ลงไปพร้อมความรู้สึกตัว รู้เนื้อรู้ตัวต้องมีตลอด สุดท้าย ความสงบก็มากขึ้น แต่ความรู้สึกก็จะเด่นไปเรื่อยๆ เพราะอำนาจหรือกำลัง กำลังของจิตที่มันมากขึ้น ตัวรู้สึกก็จะเด่นสว่างไสวขึ้นมา เราต้องการสมาธิแบบนั้น พอมันเต็มที่ จิตมันถึงฐานจริงๆ ความรู้สึกมันก็เด่นเต็มที่ มันก็กลายเป็นผู้รู้ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราต้องการอันนั้น" --ทันตแพทย์ณัฎฐ์ คอร์สรู้กาย รู้ใจ พื้นฐานสู่ความรู้แจ้ง จ.กระบี่ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: nat610608.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าเราใช้คำบริกรรม เราก็ต้องอย่าเคร่งเครียด เพราะคำบริกรรม เราใช้คำที่มันทำให้จิตเราสบายอยู่แล้ว แต่เราไปทำใจให้เคร่งเครียดเสียก่อน แนวคิดหรือบริบท มันก็ผิดไป ต้องวางใจให้สบาย แล้วก็อย่าคิดว่า จะเอาความสงบ ถ้าคิดจะเอาความสงบ มันจะเกิดการต่อสู้ขึ้นมา ความอยากได้ ความต่อสู้ขึ้นมา จะบังคับ เกิดการบังคับ จิตมันประหลาดอย่าง ยิ่งบังคับ มันยิ่งไม่ยอม" ทันตแพทย์ณัฏฐ์ - บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: nat610210.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat610512C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"คำบริกรรมเป็นความคิด เป็นความคิดที่เราเจตนาสร้างขึ้น มักจะนิยมใช้คำพูดที่ไม่ยาวเกินไป และเป็นคำที่สื่อความหมายถึงอารมณ์ที่เป็นกุศล" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สจีน วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610512B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การทำสมาธิ กับการทำความสงบทั่วๆไป มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าความสงบนั้น จะเป็นความสงบที่ถูก มีจิตที่เป็นกุศล มีความสว่าง มีความเบิกบาน มีความสุข จิตมีปิติ หรือมีอารมณ์กุศลต่างๆ ในจิต เราก็ยังเรียกจิตอันนั้นว่า เป็นจิตที่สงบ หรือสมาธิทั่วๆไป ยังไม่เรียกว่า เป็นสมาธิที่ต้องการที่จะใช้ เจริญปัญญา เพราะขาดคุณสมบัติอันนึงของจิต ที่พูดไปแต่แรกคือ ความรู้สึกตัว ถึงจะให้สงบลึกขนาดไหนก็ตาม มีความสงบ มีความสุขมากแค่ไหนก็ตาม ถ้าขาดซึ่งความรู้สึกตัว ก็ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สจีน วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

 

Direct download: nat610512A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทำไมต้องเน้นที่ความรู้สึกตัว เพราะมันคือตัวตั้งต้นทั้งหมด การให้ทานถือศีลทั้งหลายมันก็เป็นขั้นตอนพื้นฐาน เราจะไม่พูุดที่นี่ ถ้าความรู้สึกตัวเกิด สมาธิก็จะเกิด ก็จะเข้าใจว่า สมาธิที่จิตติดความนิ่งหรือยู่ในอารมณ์ กับสมาธิที่มีความตื่นรู้ หรือมีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนละอัน" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: nat601111.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เราดูร่างกายขยับ ถ้ามองผิดมุมและมองไปเรื่อยๆ จะเผลอไปเพ่งร่างกาย เพราะฉะนั้น มีอยู่ 2 วิธีคือ ถ้าเผลอไปเพ่ง ย้อนมาดูใจแทน เห็นว่าเพ่ง อีกวิธีหนึ่งคือกลับไปทำความรู้สึกกายให้เกิดสัมปชัญญะ โดยไปจับเคลื่อนไหวรู้สึก เคลื่อนไหวหยุดนิ่ง แล้วให้รู้สึก ถอยไปไม่ดูรูป มาดูอาการเคลื่อนไหว ใจจะเลิกเพ่ง เพราะเป็นการรับรู้ที่ใจ" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สการเดินทางสู่ความสว่างของใจ วันที่ ๓๐ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: nat610630A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ความรู้สึกตัว ถ้ามีกำลังมาก โดยมีอารมณ์ของความสงบเป็นตัวหนุน ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ผู้รู้ (จิตผู้รู้) ขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat601014.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"(ถาม)หลักของหลวงพ่อสอนคือมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง อยากทราบว่าที่ตั้งมั่นตั้งอยู่ที่ไหน หรือว่ามีสมาธิ ? (ตอบ) เมื่อความรู้สึกเต็มที่จิตมันจะถึงฐาน ฐานของจิตอยู่ที่ความเป็นกลาง มันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้มันเป็นกลางอยู่ตรงนั้น มันเป็นมิติอีกมิติหนึ่ง ณ.จุดนั้นมันจะรู้ชัดทั้งกายและใจ แต่จะหาว่ามันอยู่ตรงไหนของร่างกายก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่มีที่ตั้ง มันมีแต่กระแสของความรู้สึกล้วนๆ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat610106B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

"พุทธศาสนามุ่งที่จะเข้ามารู้กายและใจของเรา สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เรามารู้กายและใจได้ คือตัวสติ และสมาธิ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"พอจิตมีกำลัง จิตจะเป็นตัวของมันเอง โดยไม่ต้องยุ่งกับมัน หลักการอยู่ตรงนี้ พูดง่ายๆคือ มีกำลังทรงตัวของมันเอง ไม่ต้องไปประคอง ไม่ต้องยุ่งกับจิต มันก็อยู่ของมันได้ เค้าเรียกว่า มันถึงจิต จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา มีความเป็นตัวของตัวเอง" --หมอณัฏฐ์ คอร์สเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600930B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าวางจิตถูก ถ้าเราเกิดความคุ้นเคยให้มาก ว่าความรู้สึกเป็นอย่างไร จิตที่ดำเนินไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะไหน ให้มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีความรู้สึกเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจิตจะอยู่ในขณะใด ในชีวิตประจำวัน หรือทำความสงบ ให้หยั่งเข้าไปสู่ความสงบ ให้มีความรู้สึกตัว ถ้าลงช่องที่ถูก เมื่อจิตสงบ จิตก็จะแยกเป็นผู้รู้ขึ้นมา ความรู้จะชัดขึ้น จิตก็จะรู้อยู่ที่จิต และจิตก็จะไปเห็นจิต จิตก็จะไปเห็นร่างกาย พูดง่ายๆ จิตก็จะไปเห็นรูป และจิตก็จะไปเห็นนาม โดยจิตที่แยก ก็เกิดจากการฝึกฝนที่เราทำแต่ต้น โดยไม่เข้าไปยึดติดในอารมณ์ใด จิตก็แค่ยึดอยู่สิ่งเดียวคือ ความรู้สึก " --หมอณัฏฐ์ - คอร์สเจริญสติและสมาธิในชีวิตประจำวัน กฟผ. วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600930A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"โมโหเป็นสภาวะไหม สภาวะมันมีทั้งที่เราชอบและเราไม่ชอบ แต่ไม่ว่าเราชอบหรือเราไม่ชอบ เราให้"ค่ารู้เท่ากัน" ส่วนตัวดีกับตัวไม่ดี ว่าง่ายๆ พูดง่ายๆ เราต้อง"ยุติธรรม"กับมัน" --หมอณัฏฐ์ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว จ.เชียงราย วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600903.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"วิธีที่ทำ เราไม่ได้ทำสมถะอย่างเดียว เราเจริญสติ ควบคู่กับ การทำความสงบ เราไม่ได้สนใจ นิมิต หรือ แสงสว่าง เรารู้กาย รู้ใจเรา เป็นหลัก ทำหลักการนี้ ไม่เคยมีใครทำแล้วเสียสติ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๗ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600819C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สนใจความรู้สึกก่อน ไม่ต้องสนใจลม ในความรู้สึกก็เห็นลมเองแหละ อีกหน่อยจะได้เห็นว่า "รู้สึก"กับ"ลม" คนละตัวกัน นึกออกไหม อีกหน่อยรู้สึกชัด ลมไม่เกี่ยวกับความรู้สึก ลมมันจะราบเรียบเอง แล้วรู้สึกจะแยกจากลมสุดท้าย รูปนามจะแยก พอนึกออกไหม ลมเป็นรูปไหม เป็น รู้สึกเป็นนาม กายเป็นนาม พอแยกได้ไหม" --หมอณัฏฐ์ บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600827.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"คำว่าเห็น ไม่ใช่ตาเห็น แต่เป็นใจไปรู้สึก เริ่มเห็นแล้วนี่ ประมาณนั้นแต่ยังไม่ชัดนะ ถ้ามันรู้สึกมัวๆ หรือมันเบลอๆ เคลิ้มๆ ให้หายใจแรงขึ้น ใหม่ๆบังคับลมเล็กน้อยไม่เป็นไร เพื่อให้คุณภาพของใจมันได้ซะก่อน อย่าเอาใจมันจ้องแช่เข้าไป วิธีไม่แช่ก็คือ ให้มันสนใจที่รู้สึกที่มันเกิดขึ้น ความรู้สึกมันเกิดชั่วขณะ ที่ลมหายใจมันผ่านเข้าไป มันชัดขึ้นมาแล้วก็มัว เห็นไหม มันมีชัดอยู่แวบเดียวเท่านั้นแหละ แล้วก็รู้ร่างกายไปด้วย รู้ความชัดไปด้วย รู้ลมไปด้วย" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๗ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600819B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"คำว่าเพ่ง กับ คำว่าเผลอ พอเข้าใจนะ ว่า สภาวะเพ่งเป็นอย่างไร สภาวะเผลอเป็นอย่างไร ทุกคนลองนั่งให้สบาย ทำความรู้สึก เหมือนยังไม่คิดตั้งใจว่าจะรู้อะไร อย่าเพิ่งหลับตา หรือรวบใจให้สงบ ให้ทำความรู้สึกเห็นร่างกายทั้งร่างกาย แค่รู้สึก ไม่เพ่งจ้อง จะรู้สึกไหมว่า ถ้าเราทำแค่การรู้สึกน้ำหนักในการที่จะรู้ร่างกาย จะไม่มีน้ำหนักที่มากเกินควร ให้เพิ่มความรู้สึก ให้เห็นลมหายใจพร้อมร่างกาย" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๗ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600819A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat600114.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"สมาธิ ไม่ใช่ ความสงบทั่วๆไป ความสงบทั่วไป เราไปเหมาว่าเป็นสมาธิหมด แต่นิยามจริงๆของสมาธิ ไม่ใช่อย่างนั้น มันคือความตั้งมั่นของจิต ไม่ใช่ความสงบ แต่ในความตั้งมั่นมีความสงบ หรือพูดอีกมุม พูดกลับก็คือ ในความสงบอาจไม่มีความตั่งมั่น แต่จุดมุ่งหมายของเราคือต้องการความตั้งม้ั้น ตั้งมั่นให้จิตเรามีคุณสมบัติของความรู้ตื่นเบิกบานขึ้นมา อันนี้สำคัญมาก ใจดวงนี้สำคัญมาก ใจที่มีประกอบของความรู้ตื่นเบิกบาน มีความรู้สึก ต้องจำไว้นะความรู้สึก อันนี้สำคัญมากนะ" --หมอณัฏฐ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600408.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"เพ่งไป ก็รู้ แต่เพ่ง รู้แล้วไม่หายนะ ถ้าเพ่งอยู่ ก็ไม่หาย แต่รู้แล้ว มันจะค่อยๆ เลิก เลิกทำ เปลี่ยนพฤติกรรม" --หมอณัฏฐ์ สวนโยคะธรรม ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600710.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"ทุกขณะ จิตใจสงบ แม้ทำสมาธิให้เกิดความสงบ มีกำลังมากขึ้น จิตที่จะรวม จะต้องมีกระแสของความรู้สึกควบคู่ตลอด แม้จะสงบลงไป ก็ต้องมีความรู้สึก ควบคู่อย่างงั้น ถ้าขาดเมื่อไหร่ จะกลายเป็น "สลบ" เพราะในความรู้สึกจะมีความตื่นอยู่ตลอด จิตที่รวมตัว ไม่ใช่จิตที่ขาดความตื่น วู้บลงไปอย่างนั้น ไม่รู้ตัว ไม่ใช่ ขาดสติ ต้องมีความรู้สึกตัวควบคู่กับจิตรวมนั้นตลอด" --หมอณัฏฐ์ สวนโยคะธรรม ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600709.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"รูปแบบกับชีวิตประจำวันอย่าแยกจากกัน.... แล้วก็ มีอิทธิบาทสี่ แล้วก็ วิริยะในอิทธิบาทสี่ แปลว่า ขยันหมั่นเพียร มีความพยายามมั้ย อย่าพยายามนะ ถ้าพยายามแล้วจะล้มเหลว ให้ทำสม่ำเสมอ แต่ไม่พยายาม ถ้าพยายาม จะเกิดอะไรขึ้น มันจะเอาให้ได้ เหมือนคนตอนทำงาน มันจะฟ้องว่า ช่วงที่ทำรูปแบบ ไม่เคยทำเลย แล้วพอมีเวลา อย่างนี้ สมมติมาอย่างนี้ มีเวลาน้อยๆ จะเอาเยอะๆ แล้วจะทำเต็มที่ สุดท้ายไม่ได้อะไรเลย เพราะขาดความสม่ำเสมอ จิตถูกฝึกมาผิด กระบวนหรือคอนเซปในการที่ไปรู้ผิดหมดเลย มันก็ได้สิ่งที่ผิดกับไป" --หมอณัฏฐ์ สวนโยคะธรรม ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat600708.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"ทุกอย่างมันมี สมดุล ของมัน สมดุล ยังไง เคยไหม เวลาเราทำงานเบื่อๆ แล้วเขาให้ไปพักร้อน เราไปเที่ยว เอาละ คราวนี้ปล่อยผี เต็มที่เลย พอกลับมา วันทำงานวันแรกเป็นยังไง เซ็ง เซ็งกว่าตอนไม่ไปอีก เพราะอะไร มันเหมือน ราคะ กับ โทสะ มันอยู่ตรงข้ามกัน พอมันเหวี่ยงข้างนี้นะ เหวี่ยงสูงเท่าไหร่ เวลามันตีกลับ มันเท่าเดิมนะ เค้าเรียกว่า มันเอาต้นทุนคืน พอเราภาวนา เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา แรงเหวี่ยงมันจะลดลง มันจะไปน้อยๆ แต่ก็เหวี่ยงนะ ยังไงก็เหวี่ยง แต่เหวี่ยงน้อยลง เพราะมันปรุงแต่งสั้นลง เหมือนอินน้อยลง ยิ่งอินมากนะ มันจะคิดดอกเบี้ยแรง ถ้าเราอินอะไรน้อย ฝั่งตรงข้ามมันก็น้อยลง นี่เค้าเรียกว่า ใกล้กลาง ความเป็นกลางมันมากขึ้น จิตธรรมดาปกติ ก็จะเกิดขึ้น" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สรู้กายรู้ใจฯ จ.กระบี่ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600610B.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"ขันธ์ห้า ก็อยู่ของมัน แต่ทุกข์เพราะเราไปยึดมัน ใจไปยึดมัน ไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อยากให้มันอยู่นานๆ ไม่อยากให้มันแก่ อยากให้มันสาวตลอด ไม่อยากให้มันป่วยเจ็บไข้ อยากให้แข็งแรงตลอด อยากให้โชคดี มีเงิน มีหน้าที่การงานดี ทำงานราบรื่นตลอด ไม่มีปัญหา ดีทุกอย่าง จริงๆ เป็นไปไม่ได้ มันเลือกไม่ได้ เลือกก็ไม่ได้ ห้ามก็ไม่ได้ แต่ฝึกใจให้ยอมรับมันได้" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สรู้กายรู้ใจฯ จ.กระบี่ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600610A.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"หน้าที่รู้ลูกเดียว คือ รู้ความไม่เป็นกลาง เพ่งมากก็ไม่กลาง เผลอก็ไม่กลาง แต่หัดทำ ก็ต้องเพ่งนิดหน่อยนะ มีเจตนา เหมือนเราจะนึกคำบริกรรม แค่นึกบริกรรมไป 2-3คำก็มีอาการน้อมใจ มีเจตนาที่ต้องจดจ่อหน่อย มันก็ต้องทำแต่จะมีไม่มาก พอเรารู้เหมือนเราพอมีข้อมูลแล้วว่า การเพ่งไม่ดี หัดให้รู้สึกเอา มันก็จะทำไม่มาก จะน้อมใจเล็กน้อย ต้องมีความสบาย ความสุขความสบาย มันถึงจะเกิดความสงบ ถ้าฟังซีดีหลวงพ่อ ท่านบอกว่าไง "ความสุขเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ" อันนั้นแหละต้องทำให้สบายๆ เคร่งเครียดไม่ได้กินหรอก เสร็จหมด" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สสติกับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600617B.mp3
Category:Nat -- posted at: 7:00am +07

"สติที่มีความรู้สึกตัว ระลึกได้ รู้ชัด สมมติเราดูหนังอยู่ เราเกิดสติชนิดนี้ จะดูหนังไม่รู้เรื่อง แต่จะรู้กายรู้ใจ มันจะกลับมาที่กายที่ใจเรา มันไม่หลงลืม แต่มันจะรู้แต่กายแต่ใจอย่างเดียวนะ แต่มันไม่ยอมรู้อย่างอื่นเลยนะ ถ้าขับรถก็ชน ถ้าดูหนังก็ไม่รู้เรื่อง แต่จะเห็นรูปนามตามความเป็นจริง เราต้องการสติอันนี้แหละ ที่เราทำกันทุกวัน" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สสติกับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐

Direct download: nat600617A.mp3
Category:Nat -- posted at: 10:16pm +07