ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"ธรรม เป็นของจริง เป็นสัจจะ พระพุทธเจ้าท่านเอาสัจจะที่มีอยู่แล้ว มาเปิดเผยให้ดู ให้คนที่มีตา พอเปิดไฟ ก็เห็นว่า ของจริงเป็นอย่างนี้ ในห้องนี้ของจริงเป็นแบบนี้ ก็เอาของจริงมาเล่าให้เราฟังว่า ให้เราเห็นของจริงของตัวเองว่า ในขันธ์ทั้งห้ากองนี้ที่ประกอบด้วยตัวเรานี้ ไม่ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนแต่บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นไปเพื่อความเสื่อม ไม่ใช่เรา และการเห็นแบบนี้ เห็นไม่ได้ด้วยการคิดเอา มันต้องเห็นได้ด้วยการเห็นสภาวะจริงๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สวิถีแห่งธรรม วัดพระธาตุโกฏิแก้ว วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610701B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พระพุทธเจ้าเวลาท่านเทศน์ท่านสอน มันเป็นไปตามลำดับ เช่น ในมรรคมีองค์แปด เริ่มจากสัมมาทิฐิ สัมมาสังกับปะ สัมมาทิฐิ ในเบื้องต้นเราก็ต้องมีสัมมาทิฐิในวิธีการปฏิบัติก่อน เรารู้ว่าทำอะไรเพื่ออะไร นี่เป็นสัมมาทิฐิของวิธีการปฏิบัติ ต่อมา ท่านพูดเรื่อง สัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกับปะ ก็มาจากใจ คือ คิด คิดมาจากอะไร คิดมาจากใจ มีความดำริที่ถูกต้อง ดำริที่จะออกจากกาม ดำริออกจากการเบียดเบียนด้วยพยาบาท ด้วยโมหะ นี่เป็นเรื่องของความคืด เราก็คิดมาจากจิตเรานั่นแหละ พอจากจิตแล้ว จากใจแล้ว ก็มาเป็นวาจา จากวาจา ก็ค่อยมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ คือ ศีล 5 สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ ต่อมาเป็น สัมมาวาจา แล้วค่อย สัมมากัมมันตะ แล้วก็เป็นสัมมาอาชีวะ ก็เป็นพฤติกรรมอีก อยู่ในเรื่อง คีล สัมมาวายะ เป็นตัวบอก นับจากนี้ พฤติกรรมทางกาย ก็ดีแล้ว วาจาก็ดีแล้ว คิดก็ถูกต้องแล้ว เป้าหมายที่จะมุ่งไปสู่ เวลาที่เราจะภาวนา เป้าอยู่ที่ สัมมาวายามะ เป็นตัวชี้วัดว่า การภาวนายังอยู่ในร่องในลอยมั้ย ถ้าทำแล้ว กิเลสพอกพูน ก็ไม่ใช่แล้ว รักษาศีลแล้วกูเก่ง คนอื่นไม่รักษา กูดีอยู่คนเดียว ก็ไม่ใช่ สัมมาวายามะ สัมมาวายามะ เป็นตัวบอกเป้า ให้เรา เป็นกรอบให้เรา เสร็จแล้ว ค่อยพูดถึงว่า จะภาวานามันต้องใช้เครื่องมืออะไร ก็คือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ งั้นการสอนของท่าน มันเป็นขั้นเป็นตอน งดงาม ไม่กระโดดไป กระโดดมาหรอก เวลาเรียน เราก็เรียนไปตามลำดับ พอเราถึงพร้อมด้วย สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เกิดมรรคเกิดผล มันก็ได้สัมมาทิฐิจริงๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สวิถีแห่งธรรม วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610701A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

ใจที่มันธรรมดาธรรมชาติ เป็นจิตที่ดี เพียงแต่ว่าเราต้องมีกำลังสมาธิพอสมควร กำลังสมาธิพอสมควรทำอย่างไร เรามีสติรู้ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด คอยรู้สึกตัวเอาไว้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สวิถีแห่งธรรม วัดพระธาตุโกฏิแก้ว วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610630C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เราทำกรรมฐาน เพื่อรู้ทันใจตัวเอง รู้ทันจิต รู้ทันพฤติกรรมของใจ ตรงนี้ ต้องจับหลัก ให้แม่นมากๆ มิฉะนั้น ทำไปทั้งปีทั้งชาติ ได้แต่ทำ ทำแล้วไม่เข้าเป้า" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สวิถีแห่งธรรม วัดพระธาตุโกฎิแก้ว วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610630B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เคยได้ยินมั้ยว่า จิตมีธรรมชาติประภัสสร โดยตัวจิตมันเอง ถ้าเราไม่ไปวุ่นวายกับมัน มันก็ใสๆ เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา แต่มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา พอใจมันประภัสสรแล้ว มีอะไรจรมา มันเห็นง่าย" -- อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สวิถีแห่งธรรม วัดพระธาตุโกฎิแก้ว วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610630A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat610512C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"คำบริกรรมเป็นความคิด เป็นความคิดที่เราเจตนาสร้างขึ้น มักจะนิยมใช้คำพูดที่ไม่ยาวเกินไป และเป็นคำที่สื่อความหมายถึงอารมณ์ที่เป็นกุศล" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สจีน วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610512B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การทำสมาธิ กับการทำความสงบทั่วๆไป มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าความสงบนั้น จะเป็นความสงบที่ถูก มีจิตที่เป็นกุศล มีความสว่าง มีความเบิกบาน มีความสุข จิตมีปิติ หรือมีอารมณ์กุศลต่างๆ ในจิต เราก็ยังเรียกจิตอันนั้นว่า เป็นจิตที่สงบ หรือสมาธิทั่วๆไป ยังไม่เรียกว่า เป็นสมาธิที่ต้องการที่จะใช้ เจริญปัญญา เพราะขาดคุณสมบัติอันนึงของจิต ที่พูดไปแต่แรกคือ ความรู้สึกตัว ถึงจะให้สงบลึกขนาดไหนก็ตาม มีความสงบ มีความสุขมากแค่ไหนก็ตาม ถ้าขาดซึ่งความรู้สึกตัว ก็ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ คอร์สจีน วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

 

Direct download: nat610512A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ทางขึ้นเขามีหลายทาง จุดมุ่งหมายมีอันเดียวคือ พ้นทุกข์ ที่นี้ถ้าเราเลือกทางที่ถูกจริต อยู่ในสภาวะที่เราเดินได้ อันนี้มีประโยชน์ที่สุด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610512.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ซึ้งได้ ปลื้มได้ มีกุศลก็ได้ มีอกุศลก็ได้ อะไรก็ได้ แต่ว่าให้รู้ทัน สภาวะทั้งปวง เมื่อใดก็แล้วแต่ ที่เรารู้สึกว่า เราสุข เราทุกข์ เราดี เราชั่ว หรือเราเสวยธรรมะอย่างนั้น ธรรมมะอย่างนี้ ผิดทั้งนั้น ธรรมทั้งปวง ถูกรู้ถูกดู ทั้งสิ้น อย่างนี้ธรรมมะจะก้าวหน้าเร็ว" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน วันที่ ๑๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610511B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07