ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"ให้จับความรู้สึกไว้ เพื่อจิตมันจับอารมณ์ ยึดอารมณ์น้อยที่สุด ยังเป็นสมถะอยู่ ไม่ถึงขึ้นปัญญา แต่เพื่อพัฒนาให้จิตมันลงฐานและใกล้กลาง สุดท้าย มันทิ้งตรงนี้ มันรู้สึกที่เป็นกลาง มันจะง่ายคือ ภาระที่มันจะเพ่งหรืออะไร มันน้อยที่สุด จิตจับ รู้สึกๆ สักพักหนึ่ง นี่เป็นแค่เหตุ ยังไม่ใช่ผล สุดท้าย ความรู้สึกที่เป็นผล ที่ไม่ได้จงใจ มันจะเกิด มันจะชัดมาที่จิต แล้วกำลังทั้งหลาย มันจะทำให้จิตเป็นตัวรู้ที่ชัดขึ้นมา แล้วพอชัด รูปนามกายใจ มันก็ค่อยๆ แสดงตัวที่ไม่เกี่ยวข้องขึ้นมา แล้วก็พัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วปัญญา ก็ค่อยๆ ออกมา" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สเนยยะ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nat621214.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ตัวที่เราต้องใส่ใจดูให้เยอะๆ คือ ดูรูป ดูร่างกาย กับดูทางจิตใจ ดูเวทนา ดูความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ แล้วก็ดูสังขาร ความปรุงแต่ง ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่ว หรือว่า โลภ โกรธ หลง อย่างนี้ หัดดูไปเรื่อยๆ ถ้าเราดูไปเรื่อยๆ พื้นฐานสติเราดี มันจะได้สมาธิที่ถูกต้องขึ้นมา แล้วมันจะค่อยๆ ล้างความเห็นผิดเอง อย่างเวลา มันมีจิตผู้รู้เกิดขึ้นมาแล้ว ถ้าย้อนมาดูร่างกาย มันจะเห็นเลย ร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวเรา" --พระอาจารย์ สมชาย กิตฺติญาโณ คอร์สเนยยะ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: sci621213.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"อย่าไปนึกภาพการภาวนาเป็นเรื่องประหลาด เราไปทำจิตเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เมื่อไหร่เราไปแทรกแซงจิต ทำให้ผิดธรรมชาติ เมื่อนั้นกำลังทำอัตตกิลมถานุโยค หมายความว่า เราไปบังคับมัน แทนที่จะเห็นของจริง" --คุณณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สเรียนรู้ตัวเองขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nks621201.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"การทำรูปแบบ ๑๕นาที ๒๐นาทีแรก ส่วนใหญ่เป็นเวลาของความฟุ้งซ่าน ไม่ต้องคิดจะรีบสงบ แต่เป็นเวลาที่เราตั้งใจจะเรียนรู้มัน เอาความฟุ้งซ่านเป็นครู ดูความฟุ้งซ่านไป มันจะทนสติปัญญาได้แค่ไหน ฟุ้งซ่านก็เป็นไตรลักษณ์" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สเรียนรู้ตัวเองขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: nit621201.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"เป้าหมายหลักของศาสนาพุทธ คือเพื่อความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง การที่ไม่พ้นทุกข์ เกิดจากการที่ไม่รู้ความจริงของกายใจ ทำให้ยังคงให้ยึดถือในกายในใจ ตราบใดที่ยังยึดถืออยู่ ตราบนั้นก็ยังไม่พ้นทุกข์ เป้าหลักคือทำอย่างไร ให้เข้าใจความจริงของกายใจอย่างถ่องแท้ นี่คือเป้าหมายหลักของวิปัสสนากรรมฐาน" --คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร คอร์สเรียนรู้ตัวเองขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

Direct download: orn621201.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาไม่คาดหวังอะไรแต่ทำไปเรื่อยๆ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ช่างมัน แต่ทำไปเรื่อยๆ ไม่ปล่อย เรามีหน้าที่ทำเหตุ ผลจะเป็นอย่างไร เรื่องของมัน ทำถวายบูชาพระพุทธเจ้า ทำถวายครูบาอาจารย์ไป เพราะเราได้เกิดมาภาวนา ได้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ได้บุญแล้ว มันไม่ไช่ว่าเราไปซีเรียสเพื่อเอาผลของมัน เราภาวนาไปอย่างนี้แล้วเราจะอยู่กับโลกได้สบายด้วย ทำอะไรก็สบาย" --คุณณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สเรียนรู้ตัวเองฯ บ้านสติ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nks621130.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"คำว่า ปฏิบัติ คือการรู้อยู่เฉพาะหน้า มีสภาวะอะไรเกิดขึ้นแล้วรู้ รู้อะไร รู้ที่กายที่ใจตนเอง เพราะงั้นต้องฟังให้เข้าใจหลัก เข้าใจแล้วถึงค่อยลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติแล้ว ปฏิบัติอีก ทดลองแล้ว ทดลองอีก สังเกตไหมอัจฉริยะที่ค้นพบอะไรทั้งหลาย ผิดร้อยครั้ง ถูกครั้งเดียว การปฏิบัติธรรมก็แบบเดียวกัน เพราะเส้นทางนี้เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน เป็นไปได้ไง ปฏิบัติปั๊บ ใช่เลย เพราะงั้นสิ่งที่เราได้เรียนรู้สิ่งที่ผิดๆ บ่อยๆ นั่นแหละเป็นครูสอนเรา แล้วเมื่อไหร่ที่รู้ตรงนี้ผิดแล้ว ตรงนั้นมันเริ่มถูก เมื่อมันถูกมากขึ้น มันก็จะเข้าใจมากขึ้น เราไม่ได้มีหน้าที่ทำอะไรมากกว่า การที่ทำให้จิตมีความเข้าใจ เข้าใจตัวเอง เข้าใจว่า กายนี้ใจนี้ ความจริงมันคืออะไร" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สเรียนรู้ตัวเองในขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nit621130.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"สติ มี 2 แบบ สติธรรมดา กับสติที่เกิดจากการระลึก มีความรู้สึกตัวเป็นองค์ประกอบ ต่างจากสติ ที่เราเข้าใจทั่วไป สติทั่วไปต้องใช้การเพ่งจ้อง จะไปรู้สิ่งที่อยาก ไปเพ่งดู แต่มันลืมกาย ลืมใจ อันนั้นมันก็มีประโยชน์ ทำงานต้องใช้อย่างนั้น ทำงานเราก็ต้องใช้ รู้สิ่งที่เราไปสนใจ ตอนรู้สิ่งที่สนใจ สติแบบที่ 2 ไม่มี ถ้ามีสติแบบที่ 2 สติแบบที่ 1 ก็ไม่มี มันจะสลับกัน ถ้าจะเอามาเดินวิธีการของการภาวนา ต้องใช้สติแบบที่ 2 สติแบบที่1ใช้ไม่ได้มันไม่ใช่ของจริง เพราะมันไม่ย้อน เข้ามาดูกาย ดูใจ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจิตเกษม ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621123.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เรามีสมาธิในการเพ่งดู เพ่งจ้อง อันนี้เรียกว่ามีสติทั่วไป ไม่ใช่สติที่เป็นความรู้สึก สติที่เป็นความรู้สึก มันมีสมาธิอยู่ในนั้น มันจะไม่เคลื่อน จะระลึกรู้ รู้ชัดในร่างกายจิตใจ ทำขึ้นไม่ได้ แต่หัดมันได้ หัดแล้วจะเกิด" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ คอร์สจิตเกษม ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621122.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าจะบริกรรมไปเดินไป แสดงว่ากรรมฐานหลักคือคำบริกรรม เดินไปไม่ได้สนใจร่างกาย สนใจคำบริกรรม บริกรรมแล้วย้อนมาดูใจ เพ่งให้เห็น เผลอให้เห็น เพราะร่างกายไม่ใช่ตัวกรรมฐานหลัก ชอบคำบริกรรม พอบริกรรมไป ก็ต้องย้อนมาดูใจ ต้องไปจับ principle ให้มันถูก จะได้เห็นจิต ไม่งั้นไม่เห็น" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย ๙ พฤศจิกายน

Direct download: nat621109B.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"สติที่ต้องพัฒนา คือสติที่มีความรู้สึกตัว มีความรู้สึกตัวเป็นองค์ประกอบ จิตจะมีสมาธิในนั้น ตั้งมั่นขึ้นมา รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง แต่เรื่องที่พูดอาจจะไม่รู้เรื่อง มันจะมารู้แค่กายใจอย่างเดียว รู้แล้วความจริงจะปรากฎ เห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริง รูปนามกายใจจะแยกออก เมื่อแยกมันจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้เราดู ขณะนั้นความคิดมันจะไม่มี มันจะมีสภาวะที่รู้ซื่อๆ รู้สึกตัวล้วนๆ" --คุณหมอณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์ บ้านจิตสบาย ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: nat621109A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาที่เดินจงกรมต้องสบาย ถ้าเดินแล้วบังคับ จะไม่มีความสุขในการเดิน มันก็จะไม่มีความยินดีในการภาวนา ให้ดูก่อนว่าเวลาที่เราเดินเหมาะสมไหม เราวางใจอย่างไรในการเดินจงกรม เราจะเอาความรู้สึกตัวหรือเปล่า ถ้าเราจะเดินเอารู้สึกตัวก็ต้องบังคับ พอบังคับก็ไม่มีความสุข ต่อมาดูว่าหัวจงกรมท้ายจงกรม รู้ตัวทั่วพร้อมจริงไหม ถ้ารู้ได้จริงๆ สภาวะความรู้ตื่นและเบิกบานมันมีอยู่แล้ว ถ้าเราทำถูกอย่างไรฉันทะในการภาวนาก็เกิด" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: mle621103C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"วิปัสสนาเป็นผลจากสมถะที่ประกอบด้วยสมาธิที่สงบและมีความตั้งมั้น มันถึงจะไปเห็นความเป็นจริงของกายและใจได้ เช่น จิตที่ไหล ไหลไปเอง จิตที่สงบ สงบเอง จิตที่สงบ บังคับไว้ก็ไม่ได้ จิตที่ฟุ้งซ่าน ก็จะบังคับให้ไม่ฟุ้งซ่านก็ไม่ได้ ตรงนี้ถึงขึ้นวิปัสสนา เห็นไตรลักษณ์ของมัน เมื่อไรเราเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ ตรงนั้นถึงขึ้นวิปัสสนา แต่สภาวะที่เราทำสมาธิอยู่ อันนี้คือทำสมถะทั้งหมด แม้กระทั่งจิตตั้งมั่นก็เป็นสมถะ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: mle621103B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เวลาดูจิต ก่อนรู้อย่าตั้งใจรู้หรืออย่าตั้งใจดู ถ้าเราตั้งใจดูเราจะไม่เห็นมันทำงาน เปรียบจิตเป็นครูอยู่หลังชั้น เด็กนักเรียนอยู่หน้าชั้น ไม่รู้ว่าครูอยู่ข้างหลัง เด็กจะทำงานทุกอย่างเลย แอบกินขนม เล่นเกม ลอกการบ้านเพื่อน อ่านการ์ตูน เด็กจะทำงานปกติ แต่ถ้าครูมาอยู่หน้าชั้น เด็กนักเรียนจะนิ่ง เรียบร้อยหมดเลย เราจะไม่เห็นการทำงานจริงๆของเขา เพราะฉะนั้นก่อนรู้ อย่าตั้งใจรู้ รู้แล้วอย่าถลำ รู้แล้วจิตนั้นชอบไม่ชอบ หรือเฉยๆ หรือจิตนั้นยินดียินร้าย เราดูตาม" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: mle621103A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ตัวที่จะชี้ขาดว่าเราภาวนาแล้วสำเร็จหรือไม่สำเร็จ คือสามารถเอาการภาวนามาหลอมรวมในชีวิตประจำวันได้หรือเปล่า ถ้าเราหลอมรวมไม่ได้ โอกาสได้มรรคผลยังน้อย แต่ถ้าหลอมรวมได้ โอกาสจะได้มรรคผลเยอะ" --พระอาจารย์สมชาย กิตฺติญาโณ คอร์สเรียนรู้ตัวเองในขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: sci621130.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ที่เราฝึกทำสัมมาสติก็ดี ทำสัมมาสมาธิก็ดี เพื่อฝึกความพร้อมของจิต ที่จะเผชิญกับปัญหาใดๆ ก็ได้ในโลกใบนี้อย่างมั่นคง ที่จะรู้ว่าสิ่งใดเกิด มันก็ดับ ปัญหามาแล้วมันก็ไปเหมือนทุกๆ เรื่อง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สเจริญสติในภาคปฏิบัติ เชียงราย ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

Direct download: mle621109.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

1