ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"การกระทบกระทั่ง ระหองระแหง หรือว่า มีความคิดเห็นต่างกันบ้าง มันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ต่อเมื่อทุกคนเห็นกิเลสในใจตนว่า ขณะนี้เรามีโทสะ ขณะนี้เรายึดเพื่อนเรา ขณะนี้เราเปลี่ยนกรุณาเป็นโทสะ หรือเปลี่ยนเมตตาเป็นราคะแล้ว อย่างนี้กลุ่มเราจะเข้มแข็ง และก็จะทำงานด้วยกันได้ยาว อยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ มีความรักมีความสามัคคีต่อกัน อันนี้เป็นประโยชน์มาก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610221B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"อย่าใจร้อน การภาวนา มันต้องค่อยๆ สะสม มันสปีดเหมือนฉีดฮอร์โมนเพื่อให้มันโตเร็วๆ อย่างนี้ ทำไม่ได้หรอก แล้วดูว่า อะไรที่มันเป็นอุปสรรคกับการภาวนาของเรา อะไรที่ดีงใจเรา ไม่ให้เราอยู่กับเนื้อกับตัว บุคคล เหตุการณ์ เพื่อน อะไรก็แล้วแต่ ที่ล่อลวงใจเรา ให้เราหลงลืมตัวเอง สิ่งนั้น เป็นอุปสรรคกับการภาวนาของเรา" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610209C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ขณะที่พวกเราคุยกัน พวกเราบริโภค พลังไร้สาระไป ทำเหตุให้ฟุ้งซ่าน เล่นเฟส เล่นไลน์ ดูโน่น ดูนี่ เป็นศัตรูของสมาธิทั้งสิ้น เราจะภาวนาเอามรรคเอาผล จิตไม่มีกำลัง ไม่มีทางได้มรรคได้ผลหรอก เหมือนเอามีด มีดฟันไป ร่องก็ถูกอยู่ แต่ว่ามันเฉือนไม่ขาด มันไม่มีแรง งั้นพลังของจิตนะ สำคัญ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610209B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พระราหุล เป็นเด็กชอบเล่น ชอบคุย ชอบพูดเล่นคะนอง ท่านชอบพูดเล่น พระพุทธเจ้า ท่านเตือนว่า ให้ระวังเรื่องนี้ ไม่ให้พูดเล่นไปด้วยความคะนอง (ชื่อคนถาม) มีจุดอ่อนตรงนี้คือเราคึกเราคะนองปากเราไว พูดยังความฟุ้งซ่านให้ตัวเอง บางทีโดยไม่ได้เจตนา ปากก็คม เชือดเฉือนได้ดี มันทำร้ายคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว คอยรู้ทันใจที่คะนอง ชอบสนุก ชอบสนุกเป็นทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง ถ้าเรารู้ทันใจเรา ความคะนองมันจะลดลง ลดลงโดยที่ไม่ต้องเจตนากดลงมา แค่เห็นว่าใจมันคะนอง ใจมันคึก ใจมันมัน ปรับตรงนี้ได้นะ สมาธิมันจะเพิ่มขึ้นอีก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ เทือกเขานากาก๊อต เนปาล วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610203B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ปลิโพธ เป็นธรรมะที่เอามากดหน่วงจิต ทำให้จิตมีความกังวล แต่ละคนจะมีปลิโพธไม่เหมือนกัน นักภาวนา เริ่มต้น เรามีศีล เราเรียนหลักของวิธีการปฏิบัติ เนื่องจากแต่ละคนกระทำกรรมไม่เหมือนกัน เบี้องหลังของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใจของแต่ละคนจะมีเครื่องกดหน่วงใจให้มีภาระไม่เหมือนกัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ เทือกเขานากาก๊อต ประเทศเนปาล วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610203A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ชาวพุทธที่ถูกต้อง มีความศรัทธาในเรื่องของกรรมก็คือ มีความเชื่ออย่างมีเหตุมีผลว่าทุกการกระทำ ไม่ว่าทางกายทางวาจาหรือ ทางใจ ล้วนแต่เป็นเหตุ ซึ่งจะทำให้เกิดผลทั้งสิ้น อันนี้เป็นศรัทธาของชาวพุทธ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดเชตวันมหาวิหาร ประเทอินเดีย วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610129.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"(ถาม)หลักของหลวงพ่อสอนคือมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง อยากทราบว่าที่ตั้งมั่นตั้งอยู่ที่ไหน หรือว่ามีสมาธิ ? (ตอบ) เมื่อความรู้สึกเต็มที่จิตมันจะถึงฐาน ฐานของจิตอยู่ที่ความเป็นกลาง มันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้มันเป็นกลางอยู่ตรงนั้น มันเป็นมิติอีกมิติหนึ่ง ณ.จุดนั้นมันจะรู้ชัดทั้งกายและใจ แต่จะหาว่ามันอยู่ตรงไหนของร่างกายก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่มีที่ตั้ง มันมีแต่กระแสของความรู้สึกล้วนๆ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat610106B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

"เราไม่รักษาจิตนะ เราไม่ได้พยายามทำให้มันถูก เราคอยรู้ทันสิ่งที่ผิด เช่น เวลาเราจะภาวนาทีไร เราคุ้นชินที่จะสร้างภพของนักปฏิบัติอันหนึ่ง ที่เราจะทำจิตของเราให้ยกขึ้นมานิดนึง เพื่อจะทำให้เห็นข้างล่าง นี่เป็นภพของนักปฏิบัติ มันกระทำกรรมแหละ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล ครั้งที่ ๒๐ ณ M Academy วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610121B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พุทธศาสนามุ่งที่จะเข้ามารู้กายและใจของเรา สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เรามารู้กายและใจได้ คือตัวสติ และสมาธิ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07