ฆราวาสธรรม เพื่อการเจริญสติ

"หลักของวิปัสสนากรรมฐานมีแต่ว่ามีหน้าที่เป็นผู้เห็น เห็นร่างกาย เห็นจิตใจทำงาน ร่างกายจิตใจก็แสดงความจริงให้ดู คือแสดงไตรลักษณ์ในมุมใดมุมหนึ่ง พอเห็นมากๆ เข้า ใจจะค่อยฉลาดขึ้นเอง ใจก็จะเริ่มเข้าใจความเป็นจริงของรูป นาม กาย ใจ ก็จะเริ่มเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด วันนึงก็จะถึงความหลุดพ้นเอง หลักของมันมีเท่านี้เอง ไม่ได้ยาก ไม่ได้ซับซ้อน แต่กว่าจะทำตรงนี้ได้ ก็ต้องได้สมาธิที่ถูกต้อง ได้ใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดู" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเจริญสติในภาคปฏิบัติ บ้านสติ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601222A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ตอนนี้อยากรู้ว่าทำไมมันแน่น เรารู้ทันใจที่อยากรู้ก่อน เรายังไม่ต้องหาสาเหตุ ตรงที่ไม่ต้องหาสาเหตุนี่แหละ คือวิธีรู้ซื่อๆ ถ้ารู้ไม่ซื่อคือมันจะคิดค้นหาเหตุหาผลมันอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านั้นมันอยู่ในความคิดหมดเลย มันฟุ้งซ่าน แต่ให้เรารู้ซื่อๆคือมันเป็นอย่างไร เราก็รู้อย่างนั้น" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

Direct download: swt610429.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:00am +07

"โดยคำสอน โดยสภาวะ ครูบาอาจารย์สอนว่า จิตไม่มีรูปลักษณ์ จิตเป็นอรูปคือ มันไม่มี รูป เสียง กลิ่นรส คือให้มาวัดได้ว่าจิตคือ จิตดวงนี้ กับดวงนี้ มันต่างกันยังไง สิ่งที่ทำให้จิตแต่ละดวงต่างกัน คือตัวที่มาประกอบกับจิต คือความรู้สึกต่างๆที่อยู่กับจิต เวทนา หรือว่าความปรุงสุข ทุกข์ ดี ชั่ว จิตที่เป็นกุศล อกุศล ที่มันอยู่กับจิต คือเวลาดูจิต หรือเจตสิก คือดูตัวที่เกิดร่วมกับจิต ดังนั้น เราจะพบว่า จิตโกรธ โลภ ก็คนละดวงกัน จิตหลงกับจิตที่รู้สึก ก็คนละดวงกัน จิตที่มีสติ กับจิตที่ไม่มีสติ ก็คนละดวงกัน ตัวนี้ไม่ต้องถลำไปดู มันก็เห็นอยู่แล้ว" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610429B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"สำหรับคนที่ทำสมาธิยาก ครูบาอาจารย์จะให้ดูจิต เพราะว่า ดูจิตไม่ต้องใช้สมาธิอะไรเยอะ อย่างความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในใจพวกเรา พวกเราต้องใช้สมาธิอะไรมากไหมในการรู้ว่า ขณะนี้โกรธ หรือขณะนี้โลภ หรือขณะนี้เบื่อ ขณะนี้เซ็ง มันไม่ได้ใช้สมาธิอะไรเยอะหรอก มันแค่อยู่กับเนื้อกับตัวพอสมควรและก็ไม่หลงไป เวลากระทบอารมณ์แล้วใจเป็นอย่างไร มันก็รู้สึกขึ้นมาได้เลย จิตมันไม่ต้องทรงสมาธิมาก ดังนั้นเบื้องต้น คนที่ทำสมาธิไม่ได้ ครูบาอาจารย์ท่านก็ว่า เป็นคนยุคนี้แหละ ว่าส่วนใหญ่เหมาะกับการดูจิต" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610429A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ต้นทางของการปฏิบัติคือไม่ลืมกาย ไม่ลืมใจ หัวใจของการปฏิบัติทั้งหมดคือ รู้ทันความรู้สึกตนเอง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ โรงแรมเดอะมันตรินี เชียงราย วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610311B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"เราไม่ได้ทำวิหารธรรมเพื่อให้รู้สึกตัว ไม่ใช่ หลักมันคือเราเห็นทันว่ามันไม่รู้สึกตัว พอทันทีที่เรารู้ลงปัจจุบันขณะน้้นว่าจิตนี้ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวดับ จิตที่รู้สึกตัวเกิดขึ้นมาเป็นคนดู จิตขณะนั้นเป็นกุศลเรียบร้อยแล้ว" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: mle601105C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"จิตนี้ที่มันเห็นสภาวะซ้ำๆๆๆ มันจำสภาวะได้ ความรู้สึกเกิดขึ้น หัดรู้สึก หัดรู้สึก จนในที่สุดวันหนึ่ง เช่น คนไหนมีความโกรธบ่อย ความโกรธบ่อย มันเกิดถี่ใช่ไหม โกรธบ่อย ก็คือโกรธถี่ โกรธถี่ก็ดูถี่ ดูถี่ เราเห็นมันบ่อย เห็นมันบ่อย ในที่สุด จิตจำได้ วันที่จิตจำได้ก็คือจิตนี้ มันไม่ได้เจตนา" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610310A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เมื่อเช้าที่หลวงพ่อเทศน์ ลักษณะของอารมณ์โกรธ จำได้มั้ย ผลักออก คือไม่ชอบ แล้วอารมณ์โลภหรือว่าอารมณ์อยากจะ เป็นอารมณ์แบบไหน ดึงเข้า อารมณ์ตัวสุดท้ายที่เป็นโมหะหรือหลง เป็นอารมณ์แบบไหน วนเวียนไม่ชัดเจน ทั้ง 3 ตัวนี้ ถ้าเราสังเกตได้บ่อยๆ เช่น อารมณ์ที่เราผลักออก เราไม่ชอบเนี่ย มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็สังเกต เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็สังเกต เราก็จะจำอารมณ์นั้นได้ พอจำได้ พอเวลาอารมณ์นั้นเกิดขึ้นมา สติก็จะเกิดขึ้นมาเอง" --คุณวรรณพ จันสว่าง คอร์สเจริญสติในชีวิตประจำวัน ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง กฟผ. วันที่ ๗ เดือนเมษายน ๒๕๖๑

Direct download: wjs610407.mp3
Category:Wannop -- posted at: 6:00am +07

"อย่าว่าแต่สภาวะที่ชั่ว แม้แต่สภาวะที่ดี เราก็ไม่ยอมให้ย้อมจิต เรามีหน้าที่รู้ทันไปเรื่อย อย่าให้กระทั่ง ศรัทธา ปิติ หรือกุศล หรือคุณงามความดีทั้งปวง สามารถย้อมใจเราได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610408.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติ ก็คือการรู้สึกตัว ถ้ายังไม่เคยรู้จักคำว่ารู้สึกตัว ไม่เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นในกายในใจนี้ ภาวนาไม่ได้ เดินต่อไม่ได้ คือการคิดเอาเองทั้งสิ้น มันจะไม่เห็นของจริง" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: nit610408.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"จะให้เกิดสติได้ มันต้องเห็นสภาวะก่อน ที่นี้จะเห็นสภาวะได้ มันต้องจดจำสภาวะได้ สติแปลว่าระลึกได้ จะระลึกได้ต้องจดจำสภาววะได้ จะจดจำสภาวะได้ มันต้องเคยเห็น ถ้าไม่เคยเห็น ยังไงก็ไม่มีทาง ปฏิบัติยังไง เดินจงกรมวันละ 5 ชม. นั่งสมาธิอีก 5 ชม. ถ้าไม่มีสตินะ ขณะที่ทำในรูปแบบ อันนั้นมันแค่เปลือก แต่ทั้งหมดอยู่ที่ใจ ถ้าคุณไม่เห็นความจริงที่เกิดขึ้นที่ใจ อันนั้นไม่เรียกว่ามีความเพียร ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น สำคัญอย่างยิ่งคือ สติ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สเจริญสติในชีวิตประจำวัน วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: nit610406.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"เมื่อก่อนผมก็ชอบถาม อยากรู้โน่น รู้นี่นั่น อะไรอย่างนี้ แต่พอเข้าใจแล้วว่า แค่รู้ เรารู้ว่าสงสัย รู้ว่าใจเราสงสัย ก็ไม่ต้องมีคำตอบ สำหรับคำถามหลายๆ คำถาม เห็นใจว่ากำลังสงสัย ก็จบแล้ว คำตอบไม่จำเป็น" --คุณหมอเกิ้น คอร์สเจริญสติในชีวิตประจำวัน ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง กฟผ. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: ppn610407.mp3
Category:Pacharapol -- posted at: 6:00am +07

"นักภาวนา ต้องออกมากระทบโลกให้ได้ ปล่อยให้ใจมันปรุง สุข ทุกข์ ดี ชั่ว แล้วเดินปัญญาไปตรงที่ว่า เห็นสุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง ดีก็ไม่เที่ยง ชั่วก็ไม่เที่ยง ไม่ได้รักษาอยู่ภายในแบบนี้ตลอดเวลา ไม่ดี" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สรินรสธรรม วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610622A.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"พอเราฟังธรรมที่ถูกแล้ว ก็เหลืออย่างเดียวที่เราต้องไปฝึกตัวเอง แล้วก็สำรวจตัวเองว่าเราติดข้องตรงไหน เราแพ้กิเลสตัวไหนอยู่บ้าง หรือเราพลาดพลั้งตรงไหนที่ทำให้ศีลของเราบกพร่อง เราก็ต้องอุดรอยรั่วต่างๆ แล้วเราก็พัฒนา สติ สมาธิ ปัญญาไป มีศีลเข้าไว้ แล้วก็เจริญปัญญาอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ดูตัวเองเรื่อย ๆ มันก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ มันไม่ได้ยาก แต่ต้องอาศัยความอดทน" --หมอม่อน คอร์สเรียนรู้กายใจ นครสวรรค์ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: tns610401.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ สามารถพัฒนาจิตใจตนเองได้ ที่ชาตินี้ ที่ภพนี้ ฉะนั้นอยู่ในภพที่ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เลือกที่จะสามารถพัฒนาตนเองก็ได้ หรือจะปล่อยมันไปตามยถากรรม ปล่อยมันไปตามกิเลส ก็เอา ก็ไปทำเอา ก็ได้แต่กระตุ้น เชียร์ ชี้ให้เห็นทุกข์เห็นโทษ เห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์ อะไรมีสาระ อะไรไม่ใช่สาระ ฉะนั้นพวกเรามีหน้าที่ ตัดสินใจชีวิตของตัวเอง และเราก็จะได้ผลของการกระทำของเราเองอย่างยุติธรรม" -- อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเรียนรู้กายใจ นครสวรรค์ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑

Direct download: psn610401.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เราสร้างคุณงามความดี เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าคุณงามความดีย้อมจิต ไม่ดีเท่าไหรแล้ว ถ้าสำหรับคนภายนอกถือว่าดีกว่า แต่ถ้าเป็นนักภาวนาเพื่อหวังพ้นทุกข์ เราจะเป็นอิสระจากสิ่งทั้งหลายทั้งปวง กระทั่งความดีก็ไม่ยอมให้ย้อมจิต" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเรียนรู้กายใจ นครสวรรค์ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610331C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ส่งจิตไปดู กับดูจิตไม่เหมือนกัน การเห็นสภาวะธรรมทางร่างกายทางจิตใจ จำไว้นะ แค่รู้สึก มิฉะนั้นท่านจะไม่เรียกว่า รู้สึกตัว รู้สึกตัวไม่ใช่ว่าต้องไปเพ่ง ไปจ้องร่างกาย มันใช้ใจที่เป็นธรรมชาติธรรมดามาก เป็นใจที่ไม่ผิดปกติอะไรเลย คือ เป็นใจของคนธรรมดา ที่ไม่ได้พยายามแต่งให้มันดีจนเกินจริง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเรียนรู้กายใจ จ.นครสวรรค์ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610331B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

Direct download: psn610331A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"สิ่งที่ชาวพุทธต้องมีคือ โยนิโสมนสิการ คือสิ่งที่เราใคร่ครวญตัวเองว่าหลักของการปฎิบัติคืออะไรที่พระพุทธเจ้าสอนเรา เราปฎิบัติได้ตรงหลักนั้นหรือไม่ แล้วเราจะตอบตัวเองได้ด้วยตนเอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องถามใครเลย" --คุณมาลี ปาละวงศ์ โรงแรมเดอะมันตรินี เชียงราย วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610311A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"การภาวนา ถ้าเราฝึกบ่อยๆ มันก็จะชำนาญ เดี๋ยวนั่งอยู่ เดี๋ยวก็เผลอแล้ว เดี๋ยวไปกินข้าว เดี๋ยวก็เผลอแล้ว เผลอไปคิดบ้าง เผลอไปโกรธบ้าง เผลอไปโลภบ้าง ถ้าเราได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เรา เจริญขึ้นๆ เจริญขึ้น คืออะไร เข้าใจมันมากขึ้น คือว่า เจริญขึ้น เข้าใจกาย กับ เข้าใจใจ ของเรานี้ ว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด" --หมอม่อน คอร์สการเจริญสติฯ บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: tns610317.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"เริ่มต้นภาวนา ถ้าเราเริ่มเห็นสภาวะ เราจะภาวนาง่าย ให้อยู่กับตัวเอง หมั่นฟังซีดีหลวงพ่อ แล้วเรียนรู้กายใจตัวเองไป ที่หลวงพ่อสอน หลักตรงนั้น ใช้ได้ตลอดเส้นทาง มันไม่มีนัยยะว่าอะไรดีหรือไม่ดี แต่มันอยู่ที่ว่า รู้หรือไม่รู้" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: nit610310.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"เมื่อใดก็ตามที่เรา เพ่งไว้ ประคองไว้ รักษาไว้ ก็คือสุดโต่งด้านบังคับ เมื่อใดก็ตามที่เรา พักอยู่ ก็คือสุดโต่งด้านหลง นั่นเอง จริงๆ ก็คืออยู่ใน ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ท่อนแรก ก็เป็นความสุดโต่งสองอย่างที่บรรพชิตหรือนักภาวนาไม่ควรทำ เพราะฉะนั้น เราห้ามไม่ได้ เมื่อใดก็ตามที่ ใจมันพักอยู่ เราก็รู้ทัน เมื่อใดก็ตามที่ ใจมันเพียร ก็คือ บังคับไว้ ประคองไว้ เพ่งไว้ รักษาไว้ เราก็คอยรู้ทัน นานๆ เข้า ใจมันก็เข้าสู่ทางสายกลาง เข้าสู่ทางสายกลางได้แล้ว จึงจะเจริญสติปัฎฐานได้ดี ถึงจะเจริญมรรคได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610310B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ความรู้สึกตัว ถ้ามีกำลังมาก โดยมีอารมณ์ของความสงบเป็นตัวหนุน ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ผู้รู้ (จิตผู้รู้) ขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" --ทันตแพทย์ณัฏฐ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat601014.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"การทำในรูปแบบเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น หัวใจจริงๆ คือในชีวิตประจำวัน ที่เรารู้ทันความรู้สึกของเราได้มาก ได้น้อย อันนี้สำคัญมาก" --คุณมาลี ปาละวงศ์ กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610225B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ผู้ช่วยสอนทั้งหมดที่มาสอน ยังไม่เคยมีใครเรียนธรรมะแล้วจดเอา เพราะอะไรรู้ไหม ธรรมะ ไม่ได้เรียนด้วยสมอง และไม่ได้เรียนด้วยการท่องเนื้อหาทั้งหมดได้ ธรรมะ เรียนด้วยใจ ใช้ใจที่ฟังแล้วก็เข้าใจ เข้าใจแล้วก็รับธรรมะนั้นเข้าไปในใจเลย โดยที่ ไม่ได้เสียเวลามานั่งจด ขณะที่เราจด เราจดเผื่อไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคต แต่เวลาฟังธรรมเพื่อการปฏิบัติ เรามุ่งเน้นประโยชน์ในปัจจุบันมากที่สุด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610309B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ท่านสอนให้เราพิจารณาเนืองๆ ว่า แต่ละคน มีกรรม เป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล ไม่มีอะไรใหญ่เกินกรรม ใครก็ช่วยไม่ได้ ใครก็แทรกแซงเราไม่ได้จริง ท่านสอนอีกว่า แต่ละคนจะเป็นผู้รับผลของกรรม" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610309A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"บุคคลถึงความบริสุทธิด้วยปัญญา ปัญญาคือความเข้าใจความเป็นจริงของ รูปนาม กายใจของตนเอง พอเข้าใจแล้วมันถึงจะเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วถึงจะคลายกำหนัด คลายกำหนัดแล้วถึงจะหลุดพ้น แล้วถ้าเรามาปฏิบัติธรรมไม่ใช่มุมมองแบบนี้ ไม่ใช่มุมมองที่ว่า เราจะพยายาม เรามาปฎิบัติมาศึกษาธรรมะ เพื่อมาศึกษาเพื่อมาเรียนรู้รูปนามกายใจของตนเอง ถ้าไม่ใช่มีมุมมองนี้ ไม่ถูกล่ะ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610208.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เป็นกลางด้วยปัญญา คือใจมันเข้าใจจริง ๆ ว่าทุกสิ่งมาแล้วก็ไป เพราะฉะนั้น พอสภาวะเกิดขึ้น ใจมันเลยไม่ยินดียินร้ายกับสภาวะนั้น ก็เลยเห็นสภาวะนั้นเหมือนเห็นแมวชาวบ้าน เพราะสภาวะนั้น ดีอย่างไรเราก็ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ชั่วอย่างไร เราก็ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย นี่คือเป็นกลางด้วยความเข้าใจว่ามาแล้วก็ไป บังคับไม่ได้ มันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ ไม่เกี่ยวกับเรา" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาลครั้งที่ 22 ณ M Academy วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610325B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การภาวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ยังรู้สึกตัวไม่เป็น คล้ายยังไม่มีสติ ยังไม่มีสมาธิที่ถูกต้อง ช่วงนี้เป็นช่วงแรก เราต้องฝึกจากคนที่ไม่มีสติ เป็นผู้ที่มีสติขึ้นมา จากคนที่ไม่มีสมาธิ สมาธิในที่นี้ หมายถึง สมาธิที่เราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ดู เป็นผู้อยู่กับเนื้อกับตัว" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาลครั้งที่ 22 M Academy วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610325A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หน้าที่เรา ต้องฝึก ก็คือ ถ้าไม่ฝึกให้ตัวให้สติเกิดขึ้นก่อน โอกาสที่จะภาวนาก้าวหน้าไม่มี เพราะว่าอะไร เพราะว่าสติ มันเป็นองค์ธรรมอันแรก ที่ต้องฝึกให้เกิดให้ได้ก่อน เพราะว่าถ้าไม่มีสติ เราทำอะไรไปมันก็ไม่อยู่ในข่ายของเรื่องการภาวนา เพื่อความพ้นทุกข์" --พระอาจารย์อ๊า คอร์สเนยยะ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: sci610323.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาผิดหรือไม่ผิด ขึ้นอยู่กับว่า เราเห็นสภาวะตามความเป็นจริงได้ไหม" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610316B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หัวใจสำคัญของการปฏิบัติทั้งหมดทั้งมวล เริ่มต้นจากสติ ไม่ใช่เริ่มต้นจากสมาธิ พอได้สติ ถึงเวลาสมาธิเกิดขึ้นเองอัตโนมัติ อันนี้ถึงจะเป็นสมาธิที่ดี เป็นสมาธิที่มีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สการเจริญสติในขั้นพื้นฐาน บ้านสติ ขอนแก่น วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610316A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ไม่ใช่ว่านั่งสมาธิเยอะๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่ใช่ นั่งสมาธิเยอะๆ แล้วจะเกิดปัญญา ไม่ใช่ ต้องเจริญสติก่อน ให้ได้จิตที่ถูกต้อง ที่เรามาเรียนเพื่อให้ได้จิตที่ถูกต้อง เพื่อพร้อมเจริญปัญญา แต่เบื้องต้นต้องเจริญสติให้ได้ก่อน นี่เป็นฐานที่เราจะพัฒนาต่อไปได้" --หมอม่อน คอร์สชัยรัชการ วันที่ ๑๐ มีมาคม ๒๕๖๑

Direct download: tns610310.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 12:00pm +07

"ธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เรียนเข้ามาที่กายที่ใจตัวเอง เพราะว่ากายใจตัวเองนี่แหละ มันคือตัวทุกข์ ถ้าเราไปอ่านอริยสัจ ทุกขสัจ พระพุทธเจ้าก็แจกแจง คำว่าทุกข์ ไว้มากมาย มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ สุดท้ายท่านขมวดประโยคสุดท้ายว่า อุปทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ อุปทานขันธ์ทั้ง 5 คืออะไร คือร่างกาย จิตใจ เรานี่แหละ เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่น ตัวนี้แหละคือตัวทุกข์" --อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา สนทนาธรรมตามกาล 21 M Academy วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: swt610225.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:00am +07

"หัวใจกรรมฐานจริงๆคือรู้ทันความรู้สึกของตนเองให้ได้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: mle610225A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"สิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจหลักได้ก็คือ เมื่อเราภาวนาแล้วเกิดสภาวะใด เราเอาหลักนี้ทาบลงไป พอเราเอาหลักทาบแล้วก็คือการเรียนรู้จิตใจอย่างที่มันเป็นนี่แหละ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610113A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"อย่างที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่นนอนมาหลวงพ่อก็ดูแล้ว ดูไปตั้งแต่ตื่นจนหลับ แต่ถามว่าเราทำได้มั้ย? เราทำไม่ได้ ที่เราทำไม่ได้เพราะอะไร? เพราะว่าสมาธิเราไม่พอ อย่างเราฝึกกันสมาธิมันไม่พอ พอเราไปดู มันไม่ได้เจริญปัญญา มันไปเจริญสมถะแทน ส่วนใหญ่ร้อยทั้งร้อย เวลาเราไปดู เราบอกว่าดูจิต มันดูจิตจริง แต่มันไม่ใช่ดูจิตแบบวิปัสสนา มันดูจิตแบบเพ่งจิต" -- พระอาจารย์อ๊า คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: sci610223.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ปฏิบัติให้ตรงหลักได้อย่างไร เราตามรู้ความเป็นจริงได้ทีละขณะ มันประกอบด้วยขณิกสมาธิอยู่แล้ว มันไม่จำเป็นต้องเป็นอุปจจาระสมาธิหรืออัปณาสมธิก็ได้ สมาธิทีละขณะเกิดดับที่จิต เสร็จแล้วพอมันรู้ถี่ๆเข้า มันก็จะสว่างเหมือนไฟดวงนี้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610113C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"คำสอนทั้งปวงรวมลงที่ความไม่ประมาท คนในห้องนี้เหล่านี้ล้วนแต่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดวนเวียน ในภพภูมิที่ดีบ้าง ที่ไม่ดีบ้าง ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิที่ดีหรือไม่ดี มันก็มีทุกข์ทั้งสิ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610224.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"คนจำนวนมากพอเริ่มมีเครื่องอยู่แล้ว มันอดไม่ได้ที่จะมีเครื่องอยู่ เพื่อจะอยู่กับเครื่องอยู่ คล้ายว่ามันยังไม่คลิ๊กซะทีเดียว ว่ามีเครื่องอยู่เพื่อเปิดโอกาสให้มันลืม แล้วรู้ว่ามันหลง พวกเราจะมีปกติมีเครื่องอยู่แล้ว อยากอยู่กับเครื่องอยู่ให้มาก พออยากอยู่กับเครื่องอยู่ให้มาก แป๊บเดียวมันก็เพ่งแล้ว แต่ถ้ามีเครื่องอยู่แล้วอยู่กับมันเล่นๆ แป๊บเดียวก็ลืมแล้ว แป๊บเดียวก็ลืมแล้ว แป๊บเดียวก็ลืมแล้ว อย่างนี้จะไม่ค่อยเพ่ง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610222A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลักของสัมมาวายามะ คือ มีความเพียรที่จะระวังรักษา ไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มันเกิด อกุศลที่เกิดแล้วให้มันลดลง ให้มันดับไป ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำกุศลที่มีอยู่แล้ว ให้งอกงามไพบูลย์มากขึ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610222B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ถ้านั่งสมาธิไม่เป็น นั่งไม่ได้ จิตไม่สงบ ฟุ้งตลอด หลับตลอด อันนี้เป็นตัวบ่งบอก ว่าจริตนิสัยเรา ไม่เหมาะที่จะทำฌาน แล้วให้เกิดจิตที่ตั้งมั่น เราก็ต้องอาศัยวิธีให้เกิดจิตตั้งมั่นขึ้นมาอีกวิธีหนึ่ง อาศัยการมีสติ รู้กาย รู้ใจ ตัวเองนี้แหละ วิธีนี้เป็นวิธีที่คนยุคนี้เหมาะที่จะใช้วิธีนี้มาก" --อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา บ้านจิตสบาย วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: swt600909.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:00am +07

"เวลาเราภาวนา เราอดคำว่าทำไม่ได้ ยังไงเราต้องทำอะไรซักอย่าง แค่รู้มันไม่พอ ในความรู้สึกเรา เพราะอย่างนั้นเราก็อดทำไม่ได้ หน้าที่เรา เราไม่ได้มีหน้าที่ปฎิเสธการที่จิตจะไปทำ แต่เรารู้ทันว่าจิตขณะนี้มันไปทำ มันจะทำอะไรก็ได้ มันอยากบังคับก็ได้ อยากเพ่งก็ได้ เรามีหน้าที่รู้ว่ามันบังคับ มันเพ่ง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: mle610113B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"หัวใจที่จะทำให้พวกเรามีสมาธิที่ถูกต้อง หลงแล้วรู้เร็ว แล้วก็มีสติอยู่กับเนื้อกับตัวมาก คือ ต้องมีเครื่องอยู่ มิฉะนั้นหลงยาวสะเปะสะปะ วันหนึ่งภาวนาได้ไม่ค่อยเท่าไหร่ หาเครื่องอยู่สักตัวที่อยู่แล้วไม่เครียด แล้วทดลองอยู่กับมันเยอะๆ ถ้าทำนะสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ควรจะมีแรงมากขึ้น เพราะอะไรจิตมันอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรื่อยๆ มันจะได้สมาธิเพิ่มขึ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610221A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ธรรมะเป็นของสูง ไม่ใช่ของแบกะดิน เหมาะสำหรับ จิตใจ ที่สะอาดพอ ที่จะรับธรรมะเท่านั้น อวดดี อวดเก่ง ศึกษาเปรียบเทียบ รับธรรมะไม่ได้ รักหน้า รับธรรมะไม่ได้ รักหน้า ก็ได้หน้า ไม่ได้ธรรมะหรอก กลัวเสียหน้า ไม่กล้าถาม ก็ได้หน้าสิ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610210C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ถ้ากำลังของสติเราดี เราเรียนรู้กายรู้ใจเรามาก เราจะพบว่า หลงเราก็รู้ ฟุ้งซ่านเราก็รู้ หดหู่เราก็รู้ เบื่อเราก็รู้ เซ็งเราก็รู้ ที่พูดมาทั้งหมด คือ กิเลสหยาบบ้าง กิเลสอย่างกลางบ้าง พอรู้ทัน ศัตรูของสมาธิพวกนี้ ศัตรูของสมาธิก็ดับไปเอง แล้วสมาธิก็เกิดเอง ไม่ได้เจตนาทำให้สมาธิเกิดขึ้นเลย เพราะฉะนั้น พวกเราไม่ต้องมุ่งอยู่ที่การทำสมาธิ เป็นหลัก สติ สำคัญที่สุด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610210B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาเรียนธรรมะจำหลักให้แม่น เราเรียนเพื่อศึกษาตัวเอง เพื่อจะรู้จักตัวเอง หลวงพ่อสอนให้เรารักษาศีล เรื่องศีลเป็นเรื่องไม่ยากแล้ว พวกเราทั้งหมด ควรจะเข้าใจได้ง่าย แต่จริงๆรักษายากเหมือนกัน แป๊บเดียวก็พลาดแล้ว โดยเฉพาะข้อ4 พอขาดสติ ก็พูดเพ้อเจ้อ พูดฟุ้งซ่าน วันนี้ท่านบอกแล้ว ให้ตั้งใจรักษา ต่อมา มีหน้าที่ แค่ว่า เจริญสติในชีวิตประจำวันไปเรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610210A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"หลักของการภาวนาคือให้เราเรียนรู้สิ่งที่ผิด อย่าพยายามทำสิ่งที่ถูก สิ่งที่ผิดคืออะไร หลงไปไม่รู้สึกตัว สิ่งที่ผิดคืออะไร เพ่งไว้ บังคับไว้ ประคองไว้ ดัดแปลงร่างกาย ดัดแปลงจิตใจ มีหน้าที่ไม่ทำผิด 2 อย่าง แล้วมันจะถูก แต่ว่าเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะไม่ทำผิด 2 อย่าง เรามีหน้าที่รู้ทันเวลาที่เราทำผิด เวลาไม่ผิด 2 อันนี้ มันถูกเอง เพราะมันสุดโต่ง 2ด้าน ถ้าไม่สุดโต่ง 2 ด้าน มันก็จะถูก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

Direct download: psn610209A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ธรรมะขั้นที่หนึ่งนี้จะต้องตัดสังโยชน์ไป 3 ตัว คือตัด สักกายทิฏฐิ คือตัดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย กับสีลัพพตปรามาส ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ถ้าเราใช้ความคิด มันก็ดูยาก หรือว่า สีลัพพตปรามาส การถือศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงายนี้ก็ดูยาก ตัวที่ดูง่ายคือ ความเห็นว่าเรามีอยู่หรือเปล่า ตัวนี้ดูง่ายสุด เวลาที่ดูว่าตัวเรามีอยู่ไหม เราจะดูในขณะที่ใจไม่ได้ค้างอยู่ในภพใดภพหนึ่ง คนบางคนใจค้างอยู่ในภพโล่งๆว่างๆ ดูยังไง ก็มีแต่ความโล่ง ความว่าง ดูอะไรก็เห็นว่าเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม เวลาดูแบบนี้ เขาถึงว่าต้องใช้เวลา ครูบาอาจารย์จึงบอกว่า ขั้นต่ำต้อง 3 เดือน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610104B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การกระทบกระทั่ง ระหองระแหง หรือว่า มีความคิดเห็นต่างกันบ้าง มันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย ต่อเมื่อทุกคนเห็นกิเลสในใจตนว่า ขณะนี้เรามีโทสะ ขณะนี้เรายึดเพื่อนเรา ขณะนี้เราเปลี่ยนกรุณาเป็นโทสะ หรือเปลี่ยนเมตตาเป็นราคะแล้ว อย่างนี้กลุ่มเราจะเข้มแข็ง และก็จะทำงานด้วยกันได้ยาว อยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ มีความรักมีความสามัคคีต่อกัน อันนี้เป็นประโยชน์มาก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สกลุ่มธรรมทาน ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610221B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"อย่าใจร้อน การภาวนา มันต้องค่อยๆ สะสม มันสปีดเหมือนฉีดฮอร์โมนเพื่อให้มันโตเร็วๆ อย่างนี้ ทำไม่ได้หรอก แล้วดูว่า อะไรที่มันเป็นอุปสรรคกับการภาวนาของเรา อะไรที่ดีงใจเรา ไม่ให้เราอยู่กับเนื้อกับตัว บุคคล เหตุการณ์ เพื่อน อะไรก็แล้วแต่ ที่ล่อลวงใจเรา ให้เราหลงลืมตัวเอง สิ่งนั้น เป็นอุปสรรคกับการภาวนาของเรา" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610209C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ขณะที่พวกเราคุยกัน พวกเราบริโภค พลังไร้สาระไป ทำเหตุให้ฟุ้งซ่าน เล่นเฟส เล่นไลน์ ดูโน่น ดูนี่ เป็นศัตรูของสมาธิทั้งสิ้น เราจะภาวนาเอามรรคเอาผล จิตไม่มีกำลัง ไม่มีทางได้มรรคได้ผลหรอก เหมือนเอามีด มีดฟันไป ร่องก็ถูกอยู่ แต่ว่ามันเฉือนไม่ขาด มันไม่มีแรง งั้นพลังของจิตนะ สำคัญ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจิตหนึ่ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610209B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พระราหุล เป็นเด็กชอบเล่น ชอบคุย ชอบพูดเล่นคะนอง ท่านชอบพูดเล่น พระพุทธเจ้า ท่านเตือนว่า ให้ระวังเรื่องนี้ ไม่ให้พูดเล่นไปด้วยความคะนอง (ชื่อคนถาม) มีจุดอ่อนตรงนี้คือเราคึกเราคะนองปากเราไว พูดยังความฟุ้งซ่านให้ตัวเอง บางทีโดยไม่ได้เจตนา ปากก็คม เชือดเฉือนได้ดี มันทำร้ายคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว คอยรู้ทันใจที่คะนอง ชอบสนุก ชอบสนุกเป็นทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง ถ้าเรารู้ทันใจเรา ความคะนองมันจะลดลง ลดลงโดยที่ไม่ต้องเจตนากดลงมา แค่เห็นว่าใจมันคะนอง ใจมันคึก ใจมันมัน ปรับตรงนี้ได้นะ สมาธิมันจะเพิ่มขึ้นอีก" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ เทือกเขานากาก๊อต เนปาล วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610203B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ปลิโพธ เป็นธรรมะที่เอามากดหน่วงจิต ทำให้จิตมีความกังวล แต่ละคนจะมีปลิโพธไม่เหมือนกัน นักภาวนา เริ่มต้น เรามีศีล เราเรียนหลักของวิธีการปฏิบัติ เนื่องจากแต่ละคนกระทำกรรมไม่เหมือนกัน เบี้องหลังของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใจของแต่ละคนจะมีเครื่องกดหน่วงใจให้มีภาระไม่เหมือนกัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ เทือกเขานากาก๊อต ประเทศเนปาล วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

Direct download: psn610203A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ชาวพุทธที่ถูกต้อง มีความศรัทธาในเรื่องของกรรมก็คือ มีความเชื่ออย่างมีเหตุมีผลว่าทุกการกระทำ ไม่ว่าทางกายทางวาจาหรือ ทางใจ ล้วนแต่เป็นเหตุ ซึ่งจะทำให้เกิดผลทั้งสิ้น อันนี้เป็นศรัทธาของชาวพุทธ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดเชตวันมหาวิหาร ประเทอินเดีย วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610129.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"(ถาม)หลักของหลวงพ่อสอนคือมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง อยากทราบว่าที่ตั้งมั่นตั้งอยู่ที่ไหน หรือว่ามีสมาธิ ? (ตอบ) เมื่อความรู้สึกเต็มที่จิตมันจะถึงฐาน ฐานของจิตอยู่ที่ความเป็นกลาง มันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้มันเป็นกลางอยู่ตรงนั้น มันเป็นมิติอีกมิติหนึ่ง ณ.จุดนั้นมันจะรู้ชัดทั้งกายและใจ แต่จะหาว่ามันอยู่ตรงไหนของร่างกายก็ไม่รู้ เพราะว่ามันไม่มีที่ตั้ง มันมีแต่กระแสของความรู้สึกล้วนๆ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106C.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

Direct download: nat610106B.mp3
Category:Nat -- posted at: 12:00pm +07

"เราไม่รักษาจิตนะ เราไม่ได้พยายามทำให้มันถูก เราคอยรู้ทันสิ่งที่ผิด เช่น เวลาเราจะภาวนาทีไร เราคุ้นชินที่จะสร้างภพของนักปฏิบัติอันหนึ่ง ที่เราจะทำจิตของเราให้ยกขึ้นมานิดนึง เพื่อจะทำให้เห็นข้างล่าง นี่เป็นภพของนักปฏิบัติ มันกระทำกรรมแหละ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล ครั้งที่ ๒๐ ณ M Academy วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610121B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พุทธศาสนามุ่งที่จะเข้ามารู้กายและใจของเรา สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เรามารู้กายและใจได้ คือตัวสติ และสมาธิ" --หมอณัฏฐ์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nat610106A.mp3
Category:Nat -- posted at: 6:00am +07

"จริงๆการภาวนามันไม่ได้ทำอะไรขึ้นมา แค่ให้เรารู้สึกกายรู้สึกใจเราได้อย่างที่เค้าเป็น" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: mle601105B.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ความต่างระหว่างปุถุชนกับพระโสดาบันก็คือ เวลาที่ปุถุชน ขันธ์แยก สบายๆ ใจเป็นผู้รู้ ใจเป็นผู้ดู ความเป็นเรา ถ้าคนภาวนาแล้วภาวนาถูก ความเป็นเราจะหายไปชั่วขณะ เวลาเจตนาทำอะไร หรือโลภ หรือมุ่งมั่นที่จะทำอะไร ก็รวมขันธ์เข้ามา และหมายเป็นหนึ่งว่าเป็นเราขึ้นมาอีก ก็กลายเป็นเราคิด เราพูด เราทำ เราเห็น ความต่างระหว่างปุถุชนกับพระโสดาบันก็คือ พระโสดาบัน ไม่ว่าจะหลงยังไง ไม่ว่าจะเจตนาทำยังไง ก็ไม่ได้มีความสำคัญมั่นหมาย ไม่ได้มีความรู้สึกว่า มีตัวเรา หรือตัวเรากลับมา เพราะฉะนั้นตอนนี้ เราไม่ถึงขนาดนั้น เราก็ดูตัวเรา มาๆ ไปๆ จนถึงวันนึง จิตมันยอมรับความจริงว่า เราไม่มี" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610104A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การภาวนาไม่มีคำว่าทำเลย มีแต่คำว่ารู้ รู้อย่างที่เค้าเป็น แม้กระทั่งในพระสูตร ภิกษุทั้งหลาย จิตมีราคะรู้ว่ามีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะไม่ใช่ให้ละ เพราะฉะนั้นเราอยากเรารู้ทันว่าอยาก เราอยากให้มันคลาย เรารู้ทันความอยากที่มันอยากให้มันคลาย ไม่ได้ไปทำให้มันคลาย แต่ถ้ามันทำเราก็รู้ทันว่ามันทำอีก" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: mle601105A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงได้ มันจะมีความตั้งมั่นทีละขณะๆอยู่แล้ว ความเป็นกลางก็จะเกิดขึ้นเอง" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: mle600806C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา ไม่มีบทเรียนไหนไม่สำคัญ ทำได้ไม่ครบ บารมีจะไม่เต็ม ไม่มีวันเกิดมรรคผล" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610106.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ข้อเท็จจริงเวลาเราภาวนาไม่ว่าจะนั่งสมาธิหรือเดินจงกลม เราไม่ได้เน้นให้รู้สึกตัว แต่เราจะไปดูสภาวะว่า จิตขณะนี้มันเคลื่อนไป มันไหลไป สภาวะนี้จิตไม่รู้สึกตัว แต่ถ้าเราเน้นเอาความรู้สึกตัว ตัวเราจะไม่เห็นธรรมชาติของจิตของเราจริงๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: mle600806B.mp3
Category:Malee -- posted at: 12:00pm +07

"อริยมรรคมีองค์แปดมีอะไรบ้าง ตอนที่ยังไม่เกิดอริยมรรค มันก็เป็นบุพภาคมรรค เราก็มีหน้าที่พัฒนาให้ทุกตัวให้มันงอกงามไป มันวุ่นวายนักก็ เริ่มต้นจากการมี"สติ"ก่อนก็ได้ พอมีสติเกิดกิเลสก็ดับ กิเลสดับก็ไม่ชั่ว ก็ไม่ผิดศีล พอมีสติแล้ว นานๆเข้า ถ้ามีสติถูกต้องก็จะได้สมาธิที่ถูกต้องด้วย มันก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา มีสติ มีสมาธิ มีศีล มีปัญญา ค่อยๆ ฉลาดขึ้น เรียนรู้ความจริง เรียนรู้สัจธรรมของรูปนามกายใจของตัวเองมากขึ้นๆ ในที่สุดก็เข้าใจตัวเอง เข้าใจโลก คลายจากความยึดแล้วก็บริสุทธิ์ผุดผ่องสะอาดขึ้นไปเป็นลำดับๆไป จนในที่สุดก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ภายในวัฏฏะนี้ได้เอง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล 20 ณ M Academy วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610121A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"นักภาวนาอย่าติดดี ติดดีรู้ว่าติดดีไว้ก่อน อยากดีรู้ว่าอยากดี ไม่ใช่ห้ามอยากดี แต่เรารู้ทันใจเรา เพราะตัวนี้คือตัวที่สร้างทั้งหมด ที่ทำให้เราเนิ่นช้า ถ้าเรายังติดดีอยู่" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๐

Direct download: mle600806A.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"มีสิ่งหนึ่ง ที่ผ่านมาได้จนวันนี้ คือมีความมุ่งมั่นที่จะพ้นทุกข์ ความอดทนและเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ทุกวันที่มีการเทศน์ของหลวงพ่อ จะเดินทางมาฟังธรรมอยู่เสมอๆ แต่ก่อนที่ร่างกายแข็งแรง จะขับรถมาเอง... แต่พอช่วงหลังจากตัวเองเกิดอุบัติเหตุ หมอก็ไม่ให้ขับรถทางไกล ก็อาศัยญาติธรรม น้องๆหลายๆคนที่มาวัด เดี๋ยวขอมากับคนนั้นบ้าง ขอมากับคนนี้บ้าง อดทนที่จะลดทิฐิของตัวเอง เพราะตอนนั้นเราทำงานอยู่ในองค์กร ค่อนข้างที่เป็นระดับบริหารนิดนึง ก็จะมีความมั่นใจในตัวเองเยอะมาก ว่าจะทำอะไรจะต้องทำด้วยตนเอง แต่ด้วยอยากจะไปฟังธรรม จะเอาธรรม ต้องลดทิฐิตัวนี้ลง ขอคนอื่นเค้าอยู่เสมอ ทุกอาทิตย์ เพื่อมาฟังธรรม" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: nit610105.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนาได้หรือไม่ได้ตัวชี้ขาด ก็อยู่ที่ว่าเห็นสภาวะได้ไหม เพราะว่าเรียนธรรมะด้วยการเห็นสภาวะ ถ้าไม่เห็นสภาวะแปลว่ายังเรียนไม่ได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610105.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"บุญประกอบด้วยสติ ประกอบด้วยปัญญา เป็นบุญใหญ่ คนๆนึงทำบุญ 100 บาท ทำบุญแล้วหวังได้บุญ ก็ได้บุญเหมือนกัน แต่เป็นบุญไม่มาก เพราะทำแล้ว หวังเพื่อเอาบุญ แต่อีกคน ทำเพราะว่า เห็นประโยชน์ว่า เงินของเราจะสร้างประโยชน์ อย่างนี้มีสติ มีปัญญา มีเหตุผลกำกับ ได้บุญมากกว่า อีกคนบริจาคร้อยนึง มีเงินก็ไม่มากเท่าไหร่ แต่เห็นว่าจิตมันหวงเงิน ต้องการขัดเกลากิเลสตัวเอง ขัดเกลาความตระหนี่แล้วควักเงิน 100บาทออกไป เพื่อขัดเกลากิเลสตัวเอง คนนี้ได้บุญเยอะสุด เพราะบุญที่ขัดเกลากิเลส สนับสนุนให้ออกจากโลกนี้ไป งั้นทำทานเหมือนกัน วางจิตต่างกัน ผลของทานก็ไม่เท่ากัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610103.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"แผ่เมตตาจิตมันต้องมีเมตตาก่อน เวลาแผ่เมตตาไม่ใช่ว่าเจตนาต้องดันพลังอะไร หรือส่งพลังอะไรจากใจเรา แล้วก็ไม่ต้องเจตนาสร้างความรู้สึกเมตตาขึ้นมา เวลาที่เจตนาสร้างความเมตตา อันนี้ไม่ใช่เมตตาจริง มันแต่งเอา เวลาแต่งใจ จริงๆใจมีภาระ ตัวใจเองไม่มีความสุขอยู่แล้ว เพราะว่าพอไปบังคับมัน ไปแต่งมัน ตัวใจเครียด ไม่สบาย" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610102C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"กรรมฐานมี ๒ ชนิด คือสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมมฐานนี้ เป็นไปเพื่อให้ใจได้พักผ่อน ให้ใจมีความสุข สมถะ ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ไจดี แต่วิปัสสนาไม่ได้ทำ แต่ให้เห็นอย่างที่มันเป็น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610102B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"จิตมีธรรมชาติอันหนึ่งคือฝึกได้ เราฝึกให้จิตเป็นอย่างไร นานๆเข้าจิตจะเป็นอย่างนั้น เช่นเราฝึกให้ใจเครียด นานๆเข้า จิตเครียดเองไม่ต้องฝึก เราสังเกตไหม คนบางคน เราอยู่ใกล้ๆเขา เรารู้สึกมีความสุข เรารู้สึกว่าเขามีเมตตา ขณะนั้นเขาไม่ได้ฝึกให้ใจเมตตา สังเกตไหมว่า เราอยู่ใกล้บางคน เขาไม่ได้ทำอะไร เขาอยู่เฉยๆของเขาแต่เราเครียด เพราะอะไร ก็คนนี้มันเครียดตลอดเวลา ไม่ได้ทำอะไรมันก็เครียด แต่ละคน ใจมันจะเมตตา ใจมันจะเครียด ผ่อนคลาย มีความสุข หรือบังคับ ฝึกมาเองทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ใจของเราทุกคนจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นผลมาจากที่เราฝึกมาเองทั้งสิ้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601230A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ขณะที่เราเจตนาภาวนา มันจะเพ่ง จิตเราก็จะแน่นกว่าความเป็นธรรมชาติ แน่นกว่าความเป็นธรรมดา ให้รู้ทันว่าเพ่ง เพ่งก็เป็นอาการของใจแบบหนึ่ง ในกรณีที่เราทำไปเรื่อยๆ บางทีเพ่งมากแล้ว เพ่งมากรู้สึกแน่นเกินไป ให้หยุดก่อน นั่งเล่นๆไปก่อนแล้วค่อยทำ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: psn610102A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เรียนไปว่า ทุกครั้งที่มีความอยาก จิตมันจะปรุงแต่ง เห็นว่ามันบังคับไม่ได้ จะห้ามไม่ให้มันอยากก็ทำไม่ได้ ไม่ให้มันปรุงก็ทำไม่ได้ ดูไปจนวันหนึ่งเข้าใจว่า ทุกสิ่งในกาย ในใจนี้ ล้วนแต่ไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับทั้งสิ้น เรียนไปเพื่อให้เห็นว่า ทุกสิ่งถูกรู้ถูกดู ร่างกายนี้ ก็ถูกรู้ถูกดู จิตใจ ความรู้สึกต่างๆก็ถูกรู้ถูกดู ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ ถูกรู้ถูกดู ความปรุงแต่งต่างๆ ไม่ว่าดี หรือชั่ว ถูกรู้ถูกดู" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601230B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ที่นี่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการสอนพวกเราว่า เริ่มต้นให้เดินจงกรม ให้ทำสมาธิ ที่จริง การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การขยับมือ การดูท้องพองยุบ เป็นเปลือกของวิธีการปฏิบัติเท่านั้นเอง คือเราไม่ได้เน้นสอนเปลือกนะ เปลือกนี้เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล ในจริตนิสัยต่างๆกัน เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจแล้ว ในสำนักนี้ 20-30 คน ก็มีเปลือกในวิธีการปฏิบัติ ไม่เหมือนกัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601229.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ทุกคนอยากหมด แต่สำคัญคือเรารู้ว่าอยาก เมื่อเรารู้ว่าอยาก มันจะลดการกระทำหมด ความอยากมันสร้างสิ่งต่างๆมากมาย ทำให้เราช้า ถ้าเรารู้ไม่ทันตัวนี้" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 ภูเก็ต วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600924.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"บางครั้งเราก็ดัดแปลงให้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ พอเป็นอย่างใจเราก็มีความสุข พอไม่เป็นอย่างใจ เราก็ทุกข์ จิตใจร่างกายเปลี่ยนไปอย่างไร เราค่อยๆรู้ทันเอา รู้อย่างที่มันเป็น ไม่ต้องให้มันดี ให้มันสุข ให้มันสงบ เมื่อไหร่ที่เราต้องการให้มันสุข ให้มันสงบ เราก็พลาดแล้ว" --หมอม่อน คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: tns601231.mp3
Category:Thanusorn -- posted at: 6:00am +07

"ร่างกายเป็นของเสื่อม ความแข็งแรง ความสวยงาม ไม่เคยคงทน วันหนึ่งต้องแก่ วันหนึ่งต้องเจ็บ วันหนึ่งต้องตาย ชื่อเสียงก็ไม่คงทน เราจะแสวงหาความสุข จากเรื่องต่างๆ หาเงิน หรือว่าอะไร ในชาตินี้ก็ทำไป แต่ว่าอย่าใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตเพื่อสิ่งนี้ เจียดเวลา ส่วนหนึ่งมาทำสิ่งที่มีค่าอันหนึ่งคือ มาเรียนรู้ตัวเองเรื่อยๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601209B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"พวกเรากลับไปบ้าน ไปจัดสรรเวลาของเราในชีวิตว่า เวลาไหน ควรจะทำมาหากิน เวลาไหน ควรจะพักผ่อน เวลาไหน ที่เราควรจะแบ่งเวลามาภาวนา คือถ้าเราไม่จัดการชีวิตของเรา เราแค่เข้าใจหลักการภาวนา แล้วเราคิดว่า เราจะเรียนรู้เอาในชีวิตประจำวันของเรานี้ มันไม่พอ การที่เราแบ่งเวลาไว้ ทำงานส่วนนึง พักผ่อนให้พอส่วนนึง พักผ่อนไม่พอ เราก็ภาวนายาก ใครนอนหลับไม่พอ มันไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ กำลังมันไม่พอ พักให้พอ แบ่งเวลา แล้วเราก็มาภาวนา" --คุณแม่ชีอรนุช คอร์สจีน ๘ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑

Direct download: orn610102.mp3
Category:Khun Mae Oranuch -- posted at: 6:00am +07

"เรือที่ทอดสมออยู่ เวลาลมพัดมา เรือมันจะเคลื่อนที่ เคลื่อนไปเคลื่อนมา เคลื่อนไปเคลื่อนมา แต่มันมีสมอ มันไม่ไหลตามน้ำไป เรือลำนี้ มันไม่ต้านกระแสน้ำ เวลากระแสน้ำมา เรือมันจะขยับ ให้เรามีท่าทีกับของที่แปลกปลอมเข้ามาในใจของเรา เหมือนเรือแบบนี้ ไม่คล้อยตามไป ก็คือ ไม่ไหล่ตามกิเลสไป ในขณะเดียวกัน ไม่ต่อต้านกัน เพราะฉะนั้น เวลาเกิดกิเลสขึ้น ใจเราก็จะไหว เหมือนเรือที่ถูกคลื่นสัด เรือก็จะเคลื่อนที่ไปมา ถ้าเราต้านกิเลส ก็เหมือนเรือลำนี้ เชือกมันไม่เคลื่อนที่ มันตอกลงไป เชือกที่มันไหว กลายเป็นอะไรแข็งๆ มันต้านน้ำ วันหนึ่ง กระแสน้ำแรง เรือลำนี้ก็จะถูกคลื่นหรือน้ำพัดให้แตก เพราะฉะนั้นจำไว้นะ ไม่คล้อยตามมัน และก็ไม่ต่อต้านมัน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601231B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"จำไว้นะว่า ธรรมนี่เป็นเรื่องจริงจัง จริงจังแปลว่ามีความใส่ใจ หัดรู้ หัดดู แต่ไม่ใช่ว่า จริงจังแบบว่าต้องเคร่งเครียด ฟุ้งแล้วรู้ ดีกว่า เพ่งแล้วรู้สึกตัวตลอด เพ่งไว้ก็ดีเหมือนกัน ถ้าเพ่งกำลังดี ไม่เคร่งเครียดเกินไป ตายไปก็มีโอกาสได้ไปสวรรค์ แต่ไม่มีโอกาสไปนิพพาน" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีน ๘ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601231A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ความสงบสงัดของใจ มันจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทีนี้พอใจมีความสุข มีความสงบ มีความสงัด มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีความร่มเย็น มีความผ่อนคลาย เวลาที่กิเลสจรมา มันจะเห็นชัด เพราะอะไร ใจมันดีอยู่แล้ว ...ใจที่มีความสุข มีความสงบ มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีความร่มเย็น ทำให้ภาวนาง่าย เพราะเห็นของที่แปลกปลอมเข้ามาในใจง่าย ในที่สุดวันหนึ่ง ฝึกไปบนเส้นทางนี้ มันจะมีความสงบสงัด อันหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า ความสงบสงัดจากกิเลส” --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601209A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ใครไม่เข้าใจทำรูปแบบบ้างไหม รูปแบบก็คือ อยู่คนเดียว ง่ายๆ อยู่คนเดียว ไม่มีใครยุ่งกับเรา เราก็ทำของเราคนเดียว จะทำแบบไหนก็ได้ จะยืน เดิน นั่ง สวดมนต์ก่อนก็ได้ เดินจงกรม หัดดูกาย ดูใจ ท่าเดิน ท่านั่ง อะไรก็ได้ ทำไปตามที่ถนัดของแต่ละคน ไม่ต้องเหมือนกัน แล้วก็ฝึกไป เจริญสติ หัดรู้สึกไป แล้วก็หัดดูไป แล้วก็เอาหลักการที่เราทำในรูปแบบนั้นออกมา มันจะมีความชำนาญ ก็ออกมาดูข้างนอก" --หมอณัฏฐ์ คอร์สเนยยะ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: nat601209.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ในโลกนี้ ทุกสิ่งไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของเราทั้งสิ้น เรียนเรื่องพวกนี้ให้มากโดยมีตัวเราเอง เป็นตัวอย่างของการศึกษา เมื่อเข้าใจตัวเองอย่างแจ่มแจ้ง ก็เข้าใจโลกทั้งโลกอย่างแจ่มแจ้งด้วย เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับ โลกทั้งโลกก็ไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับ เมื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าขันธ์5 ไม่ใช่เรา จะไม่มีเราที่ไหนอีก ไม่ว่าอยู่ในโลกไหน ทั้งหมดนี้นะเป็นเรื่องธรรมดามาก เพราะมันเป็นความจริงที่มันเป็นอยู่แล้ว นักปฏิบัติมีหน้าที่เห็นความจริงให้มากจนใจฉลาด สติปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นจากการเห็นความจริงเท่านั้น" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เรามีหน้าที่มีสติ อยู่กับกายกับใจตนเอง เริ่มต้นไม่หลับตา หายใจออกก่อน ไม่บังคับจิตแต่งจิต มีสติรู้สึกถึงร่างกายที่นั่งอยู่ก็ได้ หรือรู้สึกถึงร่างกายที่หายใจออก หายใจเข้าก็ได้ สักช่วงหนึ่งเราจะพบว่ามันผิดสองด้ายเสมอ คือมาเพ่งร่างกายเกินไป หรือว่าจิตวิ่งไปเพ่งลม หรือจิตมันบังคับมันรวบใจ ใจจะเป็นก้อนแข็งๆเครียดๆ ถ้าเรารู้ทันว่ามันเครียด และแน่น ให้เลิก ผ่อนคลาย หายใจออก วางมือออก ทำตัวให้ผ่อนคลาย ให้มันเป็นปกติ แล้วค่อยฝึกใหม่ ทุกครั้งที่ฝึกจะต้องเริ่มต้นด้วยสติ เริ่มต้นด้วยความรู้สึกตัว สักช่วงหนึ่ง ความรู้สึกตัวค่อยๆอ่อน เคลิ้มไปไหลไป เรื่อยๆ เหมือนจะใจลอยไปเรื่อยๆ ค่อยๆเคลื่อนไป รู้ทันว่ามันอ่อนเต็มที่ เงยหน้าขึ้น หายใจเข้า เอาออกซิเจนเข้าไปในปอด ให้ความรู้สึกตัวมันเพิ่มขึ้น แล้วค่อยหายใจไปตามปกติ ทำอย่างนี้สลับไปมา จนมีความคุ้นชินที่จะมีสติ มีความรู้สึกตัว" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"สมาธิมี 2 แบบ แบบที่ 1 คือ จิตไหลไปอยู่ที่อารมณ์ จิตกับอารมณ์แนบเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าเราทำถูก ไม่บังคับแรง ผลของมันก็คือ พาใจไปสู่อารมณ์เดียวอย่างมีความสุข จิตจะได้ พักผ่อนหลังจากพักผ่อนสมควรแล้ว จิตจะมีเรี่ยวมีแรงกระปรี้กระเปร่า สมาธิอีกแบบหนึ่ง เป็นสมาธิที่มีเฉพาะในพุทธศาสนา เป็นสมาธิที่ฝึกแล้ว ใจมีลักษณะ รู้ตื่น เบิกบาน ทำหน้าที่เป็นผู้รู้ ผู้ดู สมาธิแบบนี้เกิดขึ้นทุกครั้ง เมื่อเรามีสติ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เวลาใจไหลไป แล้วเรามีสติรู้ทันว่าใจไหลไป คนไหนถ้าฝึกได้ ควรจะฝึกทั้ง 2 แบบ เพราะสมาธิแบบที่ 1 ทำแล้วใจจะสดชื่น สมาธิแบบที่ 2 ทำแล้วใจจะฉลาด" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"การภาวนามันเหมือน การขึ้นบันไดเลื่อนที่มันเลื่อนลง เราเดินสวนขึ้นไป พอเราหยุดปุ๊บ มันก็ไหลลงมา เวลาเราหยุด มันไม่ได้อยู่ที่เดิม มันไหลลง เพราะอะไร จิตมีธรรมชาติ เคลื่อนลงต่ำอยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร กิเลสทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปรุงราคะ เดี๋ยวก็ปรุงโทสะ เดี๋ยวก็ปรุงโมหะ ความคุ้นชินของจิต ที่จะสะสมกิเลสเหล่านั้น มันมากขึ้นตามลำดับ ถ้าเราไม่เจริญสติ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601208A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"คำสอนนี้มุ่งไปที่จุดเดียวเท่านั้นคือ ทำยังไงผู้ภาวนา ถึงจะพ้นออกจากทุกข์ เส้นทางนี้ยาวไกลมาก ระหว่างทาง จะมีของจำนวนมากยั่วยวนใจเรา เช่น เราฝึกไปเรื่อยๆ เราอาจจะเห็นสิ่งอื่นๆ นอกจากมนุษย์ทั่วไปเห็น ได้ยินสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ยิน ได้รู้ได้เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น ถ้าเราชื่นชม หรือมีความสุข อยู่กับสิ่งเหล่านี้ เราก็ติดกับ เผลอแป๊บเดียว ก็แก่ ก็ตายแล้ว และความสุขที่ยั่วยวนเหล่านั้น ก็ช่วยอะไรไม่ได้จริง" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207C.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริง ว่าขันธ์ทั้งปวงนี้ บังคับบัญชาไม่ได้ มันทำงานของมันเอง ไม่ใช่เรา เมื่อใดก็ ตามที่เราพยายามบังคับตัวเองให้นิ่ง ให้ดี ขณะนั้น ผิดทางแล้ว นักภาวนาส่วนใหญ่ มีความคุ้นชินกับการบังคับตัวเอง ธรรมะที่สอนหลักการที่ว่า ปล่อยใจให้ทำงาน ปล่อยกายให้ทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาอย่างที่มันควรเป็นนั้น นานๆเกิดขึ้นทีนึง แต่เวลาที่เราบอกว่าปล่อยให้ ใจ กาย เป็นอิสระ ไม่ใช่แปลว่า ทำชั่วก็ได้" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สอินเตอร์ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601207A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

“ทำไมต้องมีความตั้งมั่นของจิต เพราะว่าจิตที่มีความตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นของจิตนี้แหละ เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ การเรียนรู้ความจริงของกายของใจเราเอง ความจริงที่ต้องเรียนรู้ มีอยู่ ๓ เรื่อง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ จะเรียนไตรลักษณ์ได้ จะต้องเห็นกายเห็นใจด้วยจิตที่มีความตั้งมั่น หรือเห็นด้วยจิตที่มีสมาธิ” ... --อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา สนทนาธรรมตามกาล 19 ณ M Academy วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: swt601217.mp3
Category:Surawat -- posted at: 6:00am +07

"อย่ากลัวที่ใจมันจะสร้างภพ หรือใจมันจะปรุงแต่ง มันต้องปรุงอยู่แล้ว มีหน้าที่ รู้ทันว่ามันปรุง มีหน้าที่ รู้ทันว่ามันแต่ง ไม่ใช่ว่า ภาวนาทีไรมันสร้างภพทุกที เลยไม่ต้องภาวนา ไม่ใช่ อันนั้นคือโดนกิเลสหลอกแล้ว เราไม่สร้างภพที่ดี เราไม่ปฏิบัติ มันก็สร้างภพที่เลว เพราะจิตมีธรรมชาติสร้างภพตลอดเวลา เรามีหน้าที่รู้ทันแค่ว่า จะภาวนาจิตมันก็สร้างภพ จิตมันก็ปรุงแต่ง เราก็รู้ทันความปรุงแต่งไป ไม่ใช่ พอมันปรุงปุ๊บ แน่นปุ๊บ เลิกเลย ไปนอน มันก็สร้างภพเลว ขี้เกียจแล้วก็หลงไป จำไว้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญในภพทั้งสิ้น แล้วมีหน้าที่ภาวนาไป ไม่ยากหรอก ถ้ายากจะไม่มีคนเข้าใจ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเจริญสติฯ บ้านสติ กองบุญอธิจิตฺต โพธิ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601223B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ตัวที่ขวางการภาวนา ก็คือ ตัณหา ทิฐิ มานะ 3 ตัวนี้ที่สำคัญ อะไรที่มันมากๆ มันคือกิเลสที่แรงๆ เราก็อย่าไปตามใจมัน แต่ก็ไม่ได้ห้ามฝืนใจจนกระทั่งแห้งแล้งจนแบบทุกข์ทรมานมาก เพราะถ้าทุกข์ก็ภาวนายากอีก เพราะฉะนั้นการภาวนาคือ อยู่กับมันอย่างที่เคยอยู่ แต่รู้ทันมัน และก็มีความสุขในการที่จะต้องเดินไปกับมัน ไม่ใช่หมายความว่า วันนี้ฉันต้องหมดกิเลสเลย เป็นไปไม่ได้ กิเลสมันสะสมมาไม่รู้เท่าไหร่ อยู่มาภาวนาอยู่สักปีสองปี บอกว่าเธอต้องหมดทันทีมันเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เราอย่าให้มันครอบงำ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: nit601203.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"วิธีซ้อมให้เกิดจิตตั้งมั่นคือ เอาจิตเป็นหลัก ไม่ได้เอากรรมฐานเป็นหลัก จิตไหลรู้ จิตเคลื่อนรู้ ไม่ว่ามันจะไหลออกไปคิดหรือไหลไปอยู่กับความสงบ หรือไหลไปอยู่กับความนิ่ง อันนี้คือจิตที่ไหล จิตที่เคลื่อนทั้งนั้น ถ้าเรารู้ทันบ่อยๆ สิ่งที่เราได้มาคือเกิดสภาวะความตั้งมั่นทีละขณะๆ ทุกครั้งที่เรารู้สึกขึ้นมาได้ คือสติเกิดขึ้น 1 ครั้งๆ ความตั้งมั่นเกิดขึ้น 1 ครั้ง สิ่งที่เราได้คือขณิกสมาธิ คราวนี้ถ้าเราฝึกบ่อยๆจิต ก็จะเอัตโนมัติจนกระทั่งเหมือนเรารู้ตัวได้ตลอด" --คุณมาลี ปาละวงศ์ คอร์สการเจริญสติในภาคปฏิบัติ 1 กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923D.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"พอหลงไปคิดเรื่องการปฏิบัติ นักปฏิบัติก็จะไปแต่งจิตทันที หลงไปคิดเรื่องการปฏิบัติก็อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติก็โลภ ตัณหา ตัณหาก็ทำหน้าที่สร้างภพ ภพก็แปลว่าการกระทำกรรมของใจ มีตัณหา จิตก็กระทำกรรม ดังนั้นแต่ละคนมักติดภพนึงอยู่เสมอ เรียกว่าภพของนักปฏิบัติ ดังนั้นเราต้องคอยรู้ทัน แต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน ให้เราเรียนรู้ไปเรื่อยๆ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สนทนาธรรมตามกาล 18 M Academy วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

Direct download: psn601126A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ในโลกใบนี้้ มีมืดก็มีสว่าง จิต เดี๋ยวมันก็รู้ตัว เดี๋ยวมันก็ไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นถ้าเรามุ่งสู่ความรู้สึกตัว เดี๋ยวมันก็เผลออีก คราวนี้ถ้าเราเข้าใจกฎของไตรลักษณ์ เราก็จะไม่รักษาอะไรเลย เพราะเรารู้ว่ามันมามันก็ไปๆ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ กลุ่มธรรมปฏิบัติ ภูเก็ต วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๐

Direct download: mle600923C.mp3
Category:Malee -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนากันมานานๆ ทำไม ไม่บรรลุมรรคผลนิพพานเสียที หมายถึง ทำไม ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ซะที คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่ ก็คือ อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ อินทรีย์ ในที่นี้ก็คือ พละ 5 มันตัวเดียวกัน แต่ถ้าใช้คำว่า อินทรีย์ หมายถึงว่า ความเป็นใหญ่ในองค์ธรรมแต่ละตัว ใช้ พละ 5 คือ กำลัง กำลังที่เราต้องสั่งสมไปเพื่อความตรัสรู้ อินทรีย์ 5 มีอยู่ 5 ตัว ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา" --พระอาจารย์อ๊า คอร์สเนยยะ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: sci601209.mp3
Category:general -- posted at: 6:00am +07

"ภาวนามันไม่ยากหรอก คือ เราคอยเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจตัวเองเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้จ้องไว้ ไม่ต้องรู้ตลอดเวลา ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ศึกษาไป แล้วก็ฟังซีดีหลวงพ่อไปเรื่อย สิ่งที่หลวงพ่อเทศน์จะค่อยๆ นำร่องใจเรา" อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว จ.เชียงราย วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601203B.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07

"ชาตินี้เป็นชาติสำคัญนะ เป็นชาติที่ได้ฟังธรรมะที่ตัดตรงสู่การตรัสรู้ และจิตมันก็รับได้ตั้งเยอะแล้วด้วย ชาติไหนๆ ก็ไม่สำคัญเท่าชาตินี้ เป็น นาทีทองของชีวิตในสังสารวัฎ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เรายังแข็งแรงอยู่ ไม่แก่จนเกินไป ยังมีสติปัญญา มีหูมีตา ไม่บ้าใบ้บอดหนวก ได้ฟังธรรมะที่มัน ไม่มีเปลือกเลย ไม่ได้บอกว่า เราต้องไปจุดธูป หรือต้องไปทำพิธีกรรมอะไรเยอะแยะ เพื่อจะเข้าใจธรรมะ มันง่ายมาก มันธรรมดามาก มันเป็นเนื้อหาธรรมะล้วนๆ ไม่ได้สอนอะไรที่เยิ่นเย้อ" --อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สเจริญสติในภาคปฏิบัติ บ้านสติ - กองบุญอธิจิตฺต โพธิ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐

Direct download: psn601223A.mp3
Category:Prasan -- posted at: 6:00am +07